ทำไมไก่ชนถึงไม่ใช่สัตว์เศรษฐกิจทั้งที่สร้างรายได้มูลค่าหลายล้านบาทต่อปี
เจ้าสัว ธนินท์ เจียรวนนท์ บิ๊กบอสเครือเจริญโภคภัณฑ์เคยเปรยไว้สนามไก่ชนก็เหมือนตลาดหลักทรัพย์ของคนจนคนชนบทไม่ใช่สถานที่พนันเสมอไป แต่คือสถานที่ปลดเปลื้องทุกข์สร้างความสุขเฮฮาประสาชาวบ้านได้มาแลกเปลี่ยนความรู้ทัศนะ ทำนาทำไร่ทำสวนเสร็จจะมีสักกี่ที่ให้ผ่อนคลายไม่เหมือนคนเมืองที่ได้เข้าห้างดู
หนังฟังเพลง ทำไมต้องไปจำกัดให้ต ีไก่ในสนามได้เดือนละเท่านั้นเท่านี้ครั้ง แทนที่จะสนับสนุนให้ชาวบ้านเลี้ยงไก่ชน เลี้ยงหลายๆ ตัว ตัวดีก็ดี ที่ไม่มีแววก็เป็นอาหาร นี่ไม่ใช่สนับสนุนให้เล่นการพนัน แต่สนับสนุนให้ชาวบ้านเอาไก่มาเพิ่มมูลค่า ยิ่งตีดีตีเก่งยิ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้ไก่ตัวเองแม้จะมีกฎหมายเป็นอุปสรรค แต่วงการไก่ชนได้
เติบโตอย่างรวดเร็ว ตัวเลขสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นเมืองไทย เท่าที่พอจะรวบรวมมาได้ปัจจุบันมีเกษตรกรเลี้ยงไก่ชนราว 2.6 ล้านคน เลี้ยงไก่ชน 18,243,877 ตัว คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 9,803 ล้านบาท และส่งออกปีละ 60 ล้านบาท ไม่เพียงเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจเท่านั้น อานิสงส์ยังเผื่อแผ่มาถึงชาวนาไก่ชน 1 ตัว กินข้าวเปลือกวันละ 50 กรัม ฉะนั้นใน 1 ปี ต้องใช้ข้าวเปลือก 332,950 ตัน คิดที่ข้าวเปลือกตันละ 10,000 บาท จะต้องใช้ข้าวเปลือกคิดเป็นมูลค่าถึง 3,330 ล้านบาท
เห็นตัวเลขขนาดนี้แล้วงงทำภาคไมรัฐและคนไทยบางส่วนถึงไม่ยอมรับไก่ชนเป็นสัตว์เศรษฐกิจ เพราะยังติดกับภาพลบเดิมๆ มองเป็นการพนันบ้าง ทรมานสัตว์บ้าง ทั้งที่กฎข้อบังคับหลายเรื่อง ยังอ้างอิงกฎหมายไดโนเสาร์ ที่ออกมากว่า 60 ปี เช่น บังคับเวลาต ีได้แค่ 7 โมงเช้าถึง 1 ทุ่ม ในวันเสาร์-อาทิตย์ สัปดาห์เว้นสัปดาห์ ขึ้น
ทะเบียนสนามชนก็ยากแสนยาก เลยทำให้บ้านเราไม่มีมาตรฐานใดๆ มารองรับเลยทั้งสนามชนฟาร์มรวมไปถึงซุ้มไก่ดังนั้นการกำหนดยุทธศาสตร์วงการไก่ชนไทย จึงเป็นภารกิจหลักของสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นบ้านไทย ภายใต้การนำของ น.สพ.ชัย วัชรงค์ นายกสมาคมฯ ที่จะต้องเดินหน้ากันต่อไป
แหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/news/society/1454250