ดูถ่ายทอดสด "อัพเดตทุกเรื่องราวข่าวสารวงการไก่ชน ดูถ่ายทอดสดไก่ชน ครบทุกสนาม ทีเด็ดไก่ชน อัพเดทข่าวไก่ชนทุกประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งความรู้สาระเรื่องที่เป็นประโยชน์ผู้เลี้ยงไก่ชน"

ไฮไลท์ไก่ชนล่าสุด

B1
ADS B2
ADS B3
ADS B4
หน้าหลัก ข่าวสารไก่ชน ข่าวไก่ชนออนไลน์ ไก่สวยซุ้มดัง “กรมควบคุมโรค”เตือนระวัง“ไข้หวัดนก”

“กรมควบคุมโรค”เตือนระวัง“ไข้หวัดนก”

วันพุธ 08 พฤศจิกายน 2566 ยอดเข้าชม 75
SHARE ON:


สำนักงานป้องกันควบคุมโรค(สคร.)ที่ 12 จ.สงขลา เตือนผู้ที่นำเข้าสัตว์ปีกจากต่างประเทศ-กลุ่มเพาะเลี้ยงไก่ชน ระวังโรคไข้หวัดนกกำลังระบาดในประเทศเพื่อนบ้าน

 

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน รายงานจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรค(สคร.)ที่ 12 จ.สงขลา แจ้งว่า ในประเทศไทยเคยมีรายงานการระบาดของผู้ป่วยไข้หวัดนกในคน เมื่อปี 2547 จำนวน 17ราย 2548 จำนวน 5ราย และ 2549 จำนวน 3ราย รวมพบผู้ป่วย 25 ราย เสียชีวิต 17 ราย ปัจจุบันไม่พบผู้ป่วยในประเทศ แต่จะมีรายงานจากองค์การอนามัยโลกว่าพบผู้ป่วยในประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ยังคงเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์จากหลาย ๆ ประเทศอย่างใกล้ชิด

 

“โรคไข้หวัดนก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (Influenza A) ที่พบในสัตว์ปีกซึ่งมีหลายสายพันธุ์ และสายพันธุ์ H5N1 และ H7N9 สามารถติดต่อสู่คนได้ โดยพบเชื้อได้ในสารคัดหลั่งของสัตว์ปีก จากจมูก ปาก ตา และมูลของสัตว์ปีก ระยะฟักตัวหลังได้รับเชื้อ โดยเฉลี่ย 2–5 วัน นานสุด 17 วัน นอกจากสัมผัสสัตว์ปีกที่มีเชื้อโดยตรงแล้ว ยังสามารถติดต่อจากการสัมผัสอุปกรณ์หรือสิ่งของที่อาจปนเปื้อนเชื้อ โดยส่วนใหญ่หากสัตว์ปีกติดเชื้อไวรัสกลุ่มที่ก่อโรครุนแรง (Highly Pathogenic Avian Influenza; HPAI) เช่น เชื้อสายพันธุ์ H5N1 จะทำให้พบสารคัดหลั่งออกมาจำนวนมาก ซึ่งคนอาจรับเชื้อได้ผ่านทางเดินหายใจ จากสารคัดหลั่งที่ฟุ้งกระจายเป็นละอองฝอยในอากาศ รวมถึงการนำมือที่สัมผัสเชื้อมาลูบจมูก ตา หรือปาก”

 

น.พ.เฉลิมพล โอสถพรมมา ผอ.สคร.ที่ 12 กล่าวว่าอาการของโรคไข้หวัดนกที่พบ ได้แก่ มีไข้ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก ปวดเมื่อยตัว ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หายใจลำบาก และอาจพบอาการท้องเสีย อาเจียน ปวดท้อง หรือชักเกร็งได้ อัตราป่วยตาย ร้อยละ 53 และยังมีอาการอื่น ๆ ที่พบได้ เช่น เยื่อบุตาขาวอักเสบอย่างอ่อน อาการทางเดินหายใจส่วนต้นคล้ายไข้หวัดใหญ่ จนถึงปอดอักเสบเสียชีวิต เน้นย้ำ ต้องปรุงอาหารประเภทสัตว์ปีกและไข่ให้สุกก่อนรับประทานทุกครั้ง และหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย ห้ามนำไปรับประทาน/ชำแหละขาย หรือให้สัตว์อื่นกิน ล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสสัตว์ปีกและสารคัดหลั่งของสัตว์ปีกด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ และใช้น้ำยาฆ่าเชื้อบริเวณที่เลี้ยง

ADS Fix3
ADS Fix5