ดูถ่ายทอดสด "อัพเดตทุกเรื่องราวข่าวสารวงการไก่ชน ดูถ่ายทอดสดไก่ชน ครบทุกสนาม ทีเด็ดไก่ชน อัพเดทข่าวไก่ชนทุกประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งความรู้สาระเรื่องที่เป็นประโยชน์ผู้เลี้ยงไก่ชน"

ไฮไลท์ไก่ชนล่าสุด

B1
ADS B2
ADS B3
ADS B4
หน้าหลัก ข่าวสารไก่ชน ข่าวไก่ชนออนไลน์ ไก่สวยซุ้มดัง “ไก่ไข่ออร์แกนิคหนองหว้า” รายได้เสริม เพิ่มความมั่นคงทางอาชีพให้เกษตรกร

“ไก่ไข่ออร์แกนิคหนองหว้า” รายได้เสริม เพิ่มความมั่นคงทางอาชีพให้เกษตรกร

วันเสาร์ 06 พฤศจิกายน 2564 ยอดเข้าชม 99
SHARE ON:

 

“ไก่ไข่ออร์แกนิคหนองหว้า” รายได้เสริม เพิ่มความมั่นคงทางอาชีพให้เกษตรกร

เป็นเวลากว่า 4 ทศวรรษแล้วที่หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า ต.บ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ก้าวผ่านความแร้นแค้นยากจนสู่การเป็นชุมชนตัวอย่างด้านการเกษตร เกษตรกรสร้างความสุขและความมั่งคั่งในครัวเรือนโดยมีจุดเริ่มต้นจากอาชีพเลี้ยงหมู ควบคู่กับการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนอย่างต่อเนื่องด้วยอาชีพเสริมอย่างการทำฟาร์มสเตย์ ปลูกผักอินทรีย์ เพาะเห็ดฟาง ทำสวนยางพารา ปลูกมะม่วง เลี้ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงไก่ชน ฯลฯ และส่งต่อความมั่นคงเหล่านี้ให้กับลูกหลานอย่างยั่งยืน

 

 

ภักดี ไทยสยาม หรือหมอตั้ม อดีตสัตวบาล ที่ผันตัวเองสู่อาชีพเกษตรกรและเป็นประธานหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า เล่าว่า จากอาชีพหลักเลี้ยงหมูมา 43 ปี กลุ่มเกษตรกรมองเรื่องความมั่นคงทางอาชีพ จึงมีกลุ่มเกษตรย่อยๆ เพิ่มเติมเป็นอาชีพเสริมในพื้นที่กว่า 1 พันไร่ ซึ่งการเลี้ยงไก่ไข่เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สามารถทำควบคู่กับฟาร์มหมูได้เนื่องจากไม่มีความเสี่ยงเรื่องโรคติดต่อ จึงเกิดการรวมกลุ่มกันของเกษตรกรเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงไก่ไข่และปลูกผักอินทรีย์หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ “Organic Eggs หนองหว้า” ภายใต้โครงการส่งเสริมการผลิตไข่ไกปลอดภัย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ มีจำนวนสมาชิก 11 ราย จำนวนแม่ไก่ไข่ 8,000 ตัว สามารถให้ผลผลิตไข่ได้ 5,000 -6,000 ฟองต่อวัน โดยไก่ไข่อินทรีย์ที่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถรองรับแม่ไก่ได้ 400 ตัว ทำให้แม่ไก่ได้รับอากาศบริสุทธิ์ อยู่ในพื้นที่ที่มีแสงแดดและร่มเงาอย่างเหมาะสม ช่วยลดความเครียดและส่งเสริมให้ไก่มีสุขภาพแข็งแรง

 

 

“การเลี้ยงไก่ไข่ออร์แกนิคเป็นหนึ่งอาชีพเสริมของคนในชุมชน ซึ่งสมาชิกในกลุ่มทุกคนมีหน้าที่ตามแต่ความถนัด เช่น เรื่องตลาด เรื่องการผสมอาหาร เรื่องการคัดไข่ เราไม่มีลูกจ้างในกลุ่มแต่เป็นการช่วยกันทำงาน ซึ่งรายได้ของเกษตรกรแต่ละคนจะขึ้นอยู่กับจำนวนแม่ไก่ที่เลี้ยง และผลผลิตไข่ไก่ที่ได้มา โดยเฉลี่ยเราจะได้กำไรฟองละ 3 บาท ซึ่งกำไรส่วนหนึ่งจะเก็บเข้าเป็นเงินกองกลางของกลุ่มเลี้ยงไก่ไข่และปลูกผักอินทรีย์ เพื่อใช้ในกิจการสาธารณะของชุมชน นอกจากจะมีรายได้เสริมแล้ว เรายังมีความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัยไว้รับประทานทำให้สุขภาพของคนในชุมชนดีขึ้น”

 


“จากการสนับสนุนของซีพีเอฟ หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้าได้ยกระดับมาตรฐานการผลิตไข่ไก่ออร์แกนิค (Organic) สำเร็จเป็นกลุ่มแรกของภาคตะวันออก สร้างอาชีพเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยอิสระ หรือ Free Range ทำให้ได้ไข่ไก่ที่สดสะอาดคุณภาพดีและปลอดภัย และล่าสุดเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา Organic Eggs หนองหว้า ได้รับการรับรองมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ของกรมปศุสัตว์ ได้รับตราสัญลักษณ์ Organic Thailand เรียบร้อยแล้ว ตอกย้ำอีกความสำเร็จของหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า”

 

หมอตั้ม กล่าวเพิ่มเติมว่า ซีพีเอฟ มีส่วนสำคัญสนับสนุนการผลิตไข่ไก่ของเกษตรกรตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ นำความเชี่ยวชาญด้านการเกษตรมาให้ความรู้ทางวิชาการกับกลุ่ม ส่งสัตวแพทย์มาดูแลและให้คำแนะนำเรื่องสุขภาพสัตว์ ตลอดจนการเข้ามาพัฒนาสูตรอาหารไก่เพื่อให้ได้ไข่ไก่ออร์แกนิคที่มีคุณภาพ ทั้งยังช่วยให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบอินทรีย์เพื่อนำมาผลิตอาหารสัตว์ โดยช่วยประสานงานกับแหล่งผลิตถั่วเหลืองในประเทศอินเดีย เพื่อนำเข้ากากถั่วเหลืองซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญของอาหารสำหรับไก่ไข่ออร์แกนิค ที่สำคัญเกษตรกรไม่ต้องกังวลกับด้านการตลาด เพราะซีพีเอฟดูแลการตลาดให้ทั้งหมด 

“อุปสรรคของการเลี้ยงไก่ไข่ออร์แกนิคในช่วงแรกคืออาการเจ็บป่วยของไก่ ที่พบว่าให้ยาเคมีไม่ได้ จึงนำองค์ความรู้และภูมิปัญญาด้านสมุนไพรมาผสมกับน้ำหมักชีวภาพโปรไบโอติกที่ใช้ในการเลี้ยงหมูอยู่แล้วพบว่าได้ผลดี นอกจากนี้ยังมีปัญหาการเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบอินทรีย์เพื่อนำมาผลิตอาหารของไก่ซึ่งต้องมาจากแหล่งที่เป็นออแกนิค เช่น ปลายข้าว ข้าวเปลือก หรือรำ ต้องมาจากนาอินทรีย์ ซึ่งหาได้จากภาคอีสานซึ่งส่วนนี้กลุ่มเกษตรกรสามารถหาแหล่งผลิตในประเทศไทยได้ แต่สำหรับแหล่งอาหารจากต่างประเทศ ซีพีเอฟให้การช่วยเหลือประสานงานกับต่างประเทศให้ทำให้เกษตรกรนำมาต่อยอดได้”

ความสำเร็จของ “Organic Eggs หนองหว้า” ภายใต้โครงการส่งเสริมการผลิตไข่ไก่ปลอดภัย โดยซีพีเอฟ เป็นการต่อยอดจากโครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า ที่เริ่มดำเนินการโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในรูปแบบสี่ประสานระหว่างบริษัทธุรกิจเอกชน ส่วนราชการท้องถิ่นซึ่งเป็นภาครัฐ สถาบันการเงินและเกษตรกร เริ่มในปี 2520 และสร้างความสำเร็จมาอย่างต่อเนื่องตลอด 43 ปี โดยเกษตรกรยังคงสร้างความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ผ่านการรวมกลุ่มทีหลากหลายเสมอมา

Facebook

ADS Fix3
ADS Fix5