หนุ่มนครปฐม เลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี ส่งขายร้านอาหารตามสั่ง สร้างรายได้ใกล้ตัวทุกวัน
ฉบับนี้จะพาทุกท่านมารู้จักกับหนุ่มนครปฐม ตัวแทนคนสู้งาน ผันตัวเองจากนักวิชาการแผนที่สู่อาชีพเกษตรกรรมอย่างเต็มตัว ที่ถึงแม้ว่าวันนี้จะยังไม่ประสบผลสำเร็จในสายอาชีพเป็นเกษตรกรถึงที่สุด แต่เขาก็ยังยืนยันและมุ่งมั่นที่จะทำต่อไป
คุณเวสารัช ตรีโชติ หรือ พี่โจ้ อยู่บ้านเลขที่ 12/2 หมู่ที่ 5 ตำบลสามควายเผือก อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์นครปฐม เลือดนักสู้ ผู้ที่ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ที่ถึงแม้ว่าจะยังไม่สำเร็จสายอาชีพที่เลือกเดิน แต่จะขอทำต่อไปเพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของตนเองและเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร
คุณเวสารัช ตรีโชติ หรือ พี่โจ้
พี่โจ้ เล่าถึงจุดเริ่มต้นการทำเกษตรว่า ก่อนที่จะผันตัวมาเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัว ตนเรียนจบคณะอักษรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร หลังจากเรียนจบมีโอกาสได้เข้าทำงานในตำแหน่งนักวิชาการแผนที่กรุงเทพฯ แต่ด้วยความที่มีนิสัยส่วนตัวที่ไม่ชอบทำงานอยู่ในกรอบเข้าออกเป็นเวลา จึงตัดสินใจลาออกจากงานมาเปิดร้านมินิมาร์ท เปิดได้สักระยะก็มีเหตุให้ต้องปิดกิจการกันไป จึงกลับมานั่งคิดทบทวนใหม่ว่าจะทำอะไรต่อไปดีให้เหมาะกับนิสัยส่วนตัวที่ชอบทำงานอิสระ และสามารถใส่ความคิดของตัวเองลงไปในงานได้ ก็มาประจวบเหมาะกับที่บ้านจังหวัดนครปฐมมีที่ดินว่างเปล่าของคุณพ่อที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อยู่จำนวน 2 ไร่ครึ่ง จึงตัดสินใจที่จะมาลองทำอาชีพเกษตรกรรม ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ดูสักครั้ง
ซึ่งในช่วงแรกของเส้นทางสายเกษตรก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะพื้นเพที่บ้านไม่มีใครทำการเกษตรมาก่อนเลย ต้องเริ่มต้นลองผิดลองถูกด้วยตนเองใหม่ทั้งหมด แต่โชคยังดีที่ได้มีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการเป็นหนึ่งในยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์จังหวัดนครปฐม จึงใช้โอกาสตรงนี้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ จากเพื่อนๆ ภายในกลุ่ม เกิดเป็นความรู้สึกอุ่นใจมากขึ้นที่มีเพื่อนในกลุ่มคอยให้คำปรึกษา จึงพยายามทำมาเรื่อยๆ
เก็บไข่ส่งลูกค้าร้านอาหารตามสั่งใกล้บ้าน
โดยเริ่มจากการปลูกพืชผักหลากหลายชนิด แต่พืชผักที่ปลูกไว้ก็ตายหมด เพราะประสบการณ์ยังน้อย แต่ก็ยังไม่ยอมล้มเลิกความตั้งใจแรกคือ การทำเกษตรผสมผสาน มีการทดลองปลูกไปเรื่อยๆ เพียงแค่ยังไม่ได้ผลผลิตที่ทำออกมาขายได้ จึงพักจากการปลูกพืชผักแล้วมาทดลองเลี้ยงไก่ไข่ เพราะมองเห็นว่าจะสามารถเก็บไข่ขายสร้างรายได้ทุกวัน แต่ในช่วงแรกของการเลี้ยงไก่จำเป็นต้องควักเงินเก็บที่มีอยู่ออกมาเป็นทุนค่าอาหารก่อน จนกว่าไก่จะออกไข่ให้เก็บได้
เริ่มต้นเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี 200 ตัว
สร้างรายได้บนเส้นทางสายเกษตร
เจ้าของบอกว่า ณ ปัจจุบันนี้ มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 2 ไร่ครึ่ง แบ่งพื้นที่เลี้ยงไก่ปล่อยตามธรรมชาติบนพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ และพื้นที่อีก 1 ไร่ครึ่งที่เหลือแบ่งขุดบ่อน้ำ และปลูกพืชผักผลไม้ทิ้งไว้หลากหลายชนิด เช่น มะม่วง มะพร้าว มะละกอ กล้วย ฝรั่ง ชมพู่ อย่างละนิดละหน่อย ซึ่งหลายคนคงสงสัยว่าในเมื่อปลูกผักแล้วไม่ประสบผลสำเร็จทำไมไม่ใช้พื้นที่ที่เหลือมาเลี้ยงไก่ให้หมด ก็ต้องตอบว่าเพื่อสร้างความหลากหลายทางอาหาร การทำเกษตรผสมผสานมีข้อดีหลายอย่างที่ปฏิเสธไม่ได้คือ
เก็บไข่ส่งลูกค้าร้านอาหารตามสั่งใกล้บ้าน
เกษตรผสมผสานช่วยให้หลุดพ้นจากปัญหาสินค้าล้นตลาดได้
เกษตรผสมผสานช่วยลด ละ เลิก การใช้สารเคมีได้ ปลูกหลายอย่างปัญหาแมลงรบกวนจะไม่ค่อยเกิดขึ้น และถือเป็นการสร้างระบบนิเวศที่ดีด้วยมีสัตว์หลายชนิด ทำให้เกิดระบบนิเวศที่เกื้อกูลกัน
ข้อนี้สำคัญที่สุดคือ เกษตรกรจะสามารถพึ่งตัวเองได้ เพราะสามารถผลิตอาหารที่หลากหลายไว้บริโภคเองได้
ในส่วนของขั้นตอนการเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดีก็ไม่ยุ่งยาก เริ่มจากการหาลูกพันธุ์ไก่มาเลี้ยงที่ฟาร์ม ไปซื้อพันธุ์มาจากตลาดนครปฐม ราคาในตอนนั้นตัวละประมาณ 30 บาท เป็นไก่ไข่พันธุ์ไฮบริด มีข้อดีคือ พันธุ์ไฮบริดจะออกไข่ได้ปริมาณค่อนข้างสูง แต่ยังมีข้อเสียคือ ไก่พันธุ์ไฮบริดจะเหมาะกับการเลี้ยงแบบอุตสาหกรรม จะมีการตอบสนองกับอาหารเม็ดได้ดีกว่าอาหารจากธรรมชาติ และสุขภาพจะไม่ค่อยแข็งแรง ซึ่งในการนำมาเลี้ยงครั้งแรกภายในฟาร์มก็เกิดปัญหาพอสมควร เพราะตามความตั้งใจของที่ฟาร์มคือต้องการเลี้ยงแบบกึ่งออร์แกนิก จึงต้องใช้เวลาปรับเพื่อให้ไก่ชินกับวิธีการเลี้ยงแบบใหม่ ในช่วงแรกไก่จะป่วยบ่อย จำเป็นต้องมีการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา แต่เมื่อไก่เริ่มปรับตัวได้สามารถทนแดด ทนฝนได้ดี ที่ฟาร์มก็หยุดใช้ยาทันที แล้วเปลี่ยนมาเป็นการเลี้ยงแบบปล่อยธรรมชาติเต็มรูปแบบ
ทำที่อยู่อาศัยไว้หลบแดดหลบฝนให้ไก่
ลักษณะพื้นที่ปล่อยเลี้ยงไก่ธรรมชาติ ที่ฟาร์มจะปลูกพืชผักผลไม้เอาไว้ และจะมีพื้นที่ส่วนที่แบ่งเอาไว้ปลูกไม้เนื้อแข็ง ใช้วิธีกั้นให้ไก่เข้าไปเดินในนั้น เพื่อให้ช่วยกำจัดวัชพืช และไก่ก็ได้ขุ้ยหาอาหารกินตามความต้องการ
การดูแล…ปกติไก่ไข่ที่เลี้ยงแบบอุตสาหกรรม ใช้เวลาเลี้ยงเพียง 5-6 เดือน ไก่จะออกไข่ให้เก็บได้แล้ว แต่ไก่ที่ฟาร์มเลี้ยงแบบกึ่งออร์แกนิกต้องใช้เวลาเลี้ยงนานประมาณ 8 เดือน ถึง 1 ปี ถึงจะเริ่มเก็บไข่ได้ครั้งแรก เวลาการเลี้ยงจะต่างกันมากพอสมควร แต่ข้อดีของการเลี้ยงแบบออร์แกนิกคือ ไม่มีการเร่งให้ไก่รีบออกไข่ เพราะฉะนั้นไก่จะอายุยืนและออกไข่ได้นานกว่าไก่ที่เลี้ยงแบบอุตสาหกรรม
อาหาร…ที่ใช้เลี้ยงจะใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติผสมกับอาหารสำเร็จรูป ในอัตราส่วน
อาหารสำเร็จรูป 30 เปอร์เซ็นต์
ข้าวเปลือก 10 เปอร์เซ็นต์
แหน 30 เปอร์เซ็นต์
ข้าวโพด 10 เปอร์เซ็นต์
หญ้าสด 20 เปอร์เซ็นต์
ให้อาหารตามปกติเช้า-เย็น ไก่ 200 ตัว โดยปกติจะให้อาหารวันละ 20 กิโลกรัม หรือบางวันจะเก็บตำลึงที่ขึ้นตามริมรั้วมาผสมในอาหารให้ไก่กินไปด้วย เพื่อเพิ่มคุณภาพของไข่ที่ออกมา
ไข่ไก่อารมณ์ดีคุณภาพเยี่ยม
ปริมาณไข่ไก่ที่เก็บได้ในแต่ละวัน… ไก่ 200 ตัว เก็บไข่ได้ทุกวัน เฉลี่ยแล้วได้วันละ 40-60 เปอร์เซ็นต์ของไก่ที่เลี้ยง จะเก็บไข่ได้วันละ 2-3 แผง ผลผลิตถือว่าอยู่ในระดับปานกลาง ขนาดของไข่มีตั้งแต่ไซซ์ใหญ่ กลาง เล็ก ในปริมาณเท่าๆ กัน ราคาขายไซซ์ใหญ่ บรรจุ 10 ฟอง ราคา 50 บาท มีการดึงดูดผู้บริโภคด้วยการเพิ่มสีสันให้กับไข่ มีการเพิ่มรูปร่างหน้าตาให้ไข่น่ารักขึ้น โดยการปั๊มการ์ตูนยิ้มลงไปบนไข่ ซึ่งหมึกที่ใช้จะเป็นหมึกฟูดเกรดปลอดภัยต่อผู้บริโภคแน่นอน ตรงนี้ถือเป็นจุดดึงดูดความสนใจผู้บริโภคได้ในระดับหนึ่ง และในส่วนของไข่ไซซ์กลางและไซซ์เล็กจะนำไปขายให้กับร้านอาหารตามสั่งเจ้าประจำที่อยู่แถวบ้าน ราคาแผงละ 80 บาท 1 แผง มี 30 ฟอง ถือเป็นการสร้างรายได้ง่ายๆ และใกล้ตัวมากๆ จึงอยากจะแนะนำมือใหม่ที่อยากจะเลี้ยง ให้เริ่มหาตลาดจากร้านค้าในหมู่บ้านก่อนก็ได้
www.tededkaichon.com
#เเทงไก่#ไก่ชนออนไลน์#บ่อนไก่#ทีเด็ดไก่ชน#ไก่ชนเงินล้าน
เปรียบเทียบไข่ไก่ที่ปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติกับไข่ไก่ที่เลี้ยงในกรงตับ
รายได้…จากการขายไข่ตอนนี้ยังได้ไม่มาก เพียงเดือนละ 3,000-4,000 บาท แต่ในอนาคตคาดการณ์ว่าเมื่อไรที่ผักผลไม้ที่ปลูกทิ้งไว้เติบโตให้ผลผลิตรายได้ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงแรกก็ยังต้องอดทนตรงนี้ไปก่อน และก็อยากฝากให้กำลังใจสำหรับคนที่กำลังเริ่มต้นเส้นทางสายเกษตรเหมือนกันว่า อย่าเพิ่งท้อ ถึงแม้ตอนเริ่มต้นรายได้ยังไม่มาก แต่อย่างน้อยก็ไม่อิ่มท้อง ให้อดทนไปถึงวันที่สิ่งที่เราตั้งใจเลี้ยงตั้งใจปลูกกลับมาทนแทนรายได้ให้กับเรา
ดึงดูดลูกค้าด้วยหมึกปั๊มการ์ตูนน่ารัก
ฝากถึงเกษตรกรทุกรุ่น
“ปัญหาการทำเกษตรที่ผมพบเจอบ่อยๆ คือ เกษตรกรส่วนใหญ่มักจะทำเกษตรเชิงเดี่ยว ดังนั้น ปัญหาที่ตามมาคือ เมื่อทำอะไรเยอะๆ ก็จะต้องใช้แรงงานเยอะ ใช้สารเคมีเยอะ ซึ่งตรงนี้ทำให้เขาไม่มีกำไรในการทำเกษตร ขายผลผลิตได้เงินมาต้องเอาไปใช้หนี้ค่าปุ๋ยค่ายาหมด เหนื่อยมากแต่ไม่มีกำไร เพราะเกิดจากความเข้าใจผิด ส่วนหนึ่งว่ายิ่งทำเยอะจะยิ่งได้เยอะ แต่จริงๆ แล้วการทำเกษตรที่ดีควรจะเริ่มจากการพึ่งตัวเองให้ได้ เราจะต้องมีความหลากหลาย เราจะต้องสร้างสภาวะแวดล้อมให้เกื้อกูลในการทำเกษตร ถ้าเราไม่ทำแบบนั้นเราจะต้องพึ่งสารเคมีพึ่งแรงงาน เราจะต้องพึ่งอะไรอีกหลายอย่างที่เหนือการควบคุม และเกิดเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ทำให้ระยะยาวเราไม่สามารถอยู่ได้ ก็เลยทำให้คนมองการเกษตรในแง่ที่ไม่ค่อยดีนัก นี่คือ ในมุมมองของเกษตรกรรุ่นใหม่อย่างผม ผมก็เป็นอีกหนึ่งคนที่เป็นคนเมืองมาก่อน เพิ่งจะมาเริ่มเป็นคนสวนประสบการณ์ยังไม่มาก แต่ก็จะพยายามทำให้ดีที่สุดบนเส้นทางที่ตนเองเลือกเดิน” พี่โจ้ กล่าวทิ้งท้าย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรืออยากแวะเวียนไปเยี่ยมชมที่ Jojo Farm สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทร. 089-896-4092