ดูถ่ายทอดสด "อัพเดตทุกเรื่องราวข่าวสารวงการไก่ชน ดูถ่ายทอดสดไก่ชน ครบทุกสนาม ทีเด็ดไก่ชน อัพเดทข่าวไก่ชนทุกประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งความรู้สาระเรื่องที่เป็นประโยชน์ผู้เลี้ยงไก่ชน"

ไฮไลท์ไก่ชนล่าสุด

B1
ADS B2
ADS B3
ADS B4
หน้าหลัก ข่าวสารไก่ชน ข่าวไก่ชนออนไลน์ ไก่สวยซุ้มดัง กรมปศุสัตว์แนะ 9 สายพันธุ์ พันธุ์ดี ตลาดต้องการ แถมขึ้นทะเบียนแล้ว

กรมปศุสัตว์แนะ 9 สายพันธุ์ พันธุ์ดี ตลาดต้องการ แถมขึ้นทะเบียนแล้ว

วันศุกร์ 10 กรกฎาคม 2563 ยอดเข้าชม 133
SHARE ON:

กรมปศุสัตว์แนะ 9 สายพันธุ์ พันธุ์ดี ตลาดต้องการ แถมขึ้นทะเบียนแล้ว

 


 

อาชีพเลี้ยงไก่ เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ได้รับความสนใจมาก
โดยอาจจะเริ่มเลี้ยงในโรงเรือนเล็กๆ เพื่อหาประสบการณ์
             จากนั้นก็ค่อยๆ ขยับขยาย หรือต่อยอดเพื่อเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลักต่อไป ส่วนใครที่ยังไม่มีข้อมูล หรือยังตัดสินใจไม่ได้ว่า จะเลี้ยงไก่พันธุ์ไหน ปัจจุบันกรมปศุสัตว์ มีสัตว์ปีกที่ได้รับการพัฒนามาจากสัตว์พื้นเมืองและพันธุ์จากต่างประเทศให้เป็นสายพันธุ์ไทยแท้ที่มีลักษณะประจำพันธุ์เป็นเอกลักษณ์ ลักษณะภายนอกสม่ำเสมอ มีความเป็นแม่ที่ดี ความหลากหลายทางพันธุกรรม และมีความเหมาะสมตามความต้องการทางเศรษฐกิจที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้นจำนวน 9 สายพันธุ์  ดังนี้

ไก่โรดไทย
เป็นพันธุ์ที่กรมปศุสัตว์ ได้นำเข้าไก่พันธุ์โรดไอส์แลนด์เรด (Rhode Island Red) จากสหรัฐอเมริกาเข้ามาเลี้ยง วิจัยและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 จนได้ชื่อว่าเป็นไก่โรดไทย (Rhode Thai) ใช้ประโยชน์ได้ทั้งเนื้อและไข่ (Dual Purpose)

ลักษณะประจำพันธุ์ ขนลำตัวสีน้ำตาลแดง ปลายปีก-หางสีดำ ใบหน้าสีแดง หงอนจักร ปาก-แข้ง-ตาสีเหลือง เปลือกไข่สีน้ำตาลอ่อน-น้ำตาล ผลผลิตไข่ 240 ฟอง/แม่/ปี น้ำหนักไข่เฉลี่ย 55 กรัม อัตราการไข่สูงสุด 94%

ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่
กรมปศุสัตว์ดำเนินการอนุรักษ์ วิจัยและพัฒนาไก่สายพันธุ์ประดู่หางดำเชียงใหม่ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2545 ที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ 053-311836

ลักษณะประจำพันธุ์ มีขนลำตัว-หน้าอก-หางสีดำ ไม่มีจุดกระขาว สร้อยคอ-หลังสีแดงประดู่ ปาก-แข้งสีเหลืองปนดำถึงสีดำ หงอนถั่ว เปลือกไข่สีนวล ผลผลิตไข่ 147 ฟอง/แม่/ปี

จุดเด่น เมื่อชำแหละเป็นซากแล้ว สีแข้งยังคงเป็นสีดำ เป็นที่นิยมของผู้บริโภคไก่พื้นเมือง

ไก่เหลืองหางขาวกบินทร์บุรี
กรมปศุสัตว์ดำเนินการอนุรักษ์ วิจัยและพัฒนาไก่สายพันธุ์เหลืองหางขาวกบินทร์บุรี มาตั้งแต่ พ.ศ.2545 ที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์กบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 037-288152

ลักษณะประจำพันธุ์ มีขนลำตัว-หน้าอก-ขนหางสีดำแซมขาว สร้อยคอ-หลัง-ปีกสีเหลืองอมส้ม ปาก-แข้งสีเหลือง หงอนถั่ว เปลือกไข่สีนวล ผลผลิตไข่ 111 ฟอง/แม่/ปี

ไก่แดงสุราษฎร์ธานี
กรมปศุสัตว์ดำเนินการอนุรักษ์ วิจัยและพัฒนาไก่สายพันธุ์แดงสุราษฎร์ธานี มาตั้งแต่ พ.ศ.2545 ที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์สุราษฎร์ธานี 077-274552

ลักษณะประจำพันธุ์ มีขนลำตัว-หน้าอก-สร้อยคอ-หลังสีแดง ขนหางสีแดงดำแซมขาว ปาก-แข้งสีเหลือง หงอนถั่ว เปลือกไข่สีนวล ผลผลิตไข่ 114 ฟอง/แม่/ปี

ไก่ชีท่าพระ
กรมปศุสัตว์ดำเนินการอนุรักษ์ วิจัยและพัฒนาไก่สายพันธุ์ชีท่าพระ มาตั้งแต่ พ.ศ.2545 ที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ท่าพระ จังหวัดขอนแก่น 043-261194

ลักษณะประจำพันธุ์ มีขนลำตัว-หางสีขาว สร้อยคอสีขาวหรือสีงาช้าง แข้ง-ปากสีเหลือง หงอนถั่ว ผลผลิตไข่ 115 ฟอง/แม่/ปี

จุดเด่น มีขนสีขาวเหมือนไก่เนื้อทางการค้า เมื่อชำแหละไม่มีขนหมุดสีดำที่ผิวหนังทำให้ซากสะอาด น่ารับประทาน

ไก่ชี้ฟ้า
ไก่ชี้ฟ้า เป็นไก่พื้นเมืองท้องถิ่นชาวไทยภูเขาของจังหวัดเชียงราย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ได้ทอดพระเนตรเห็นไก่พันธุ์นี้ ซึ่งมีลักษณะสวยงาม ทรงมีพระราชดำรัสว่า น่าจะมีการอนุรักษ์ไก่พันธุ์ชี้ฟ้า โดยกรมปศุสัตว์ดำเนินการวิจัยสร้างฝูงไก่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ที่สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์แม่ฮ่องสอน 053-684031

ลักษณะประจำพันธุ์ มีขนลำตัว-หางสีดำ-ขนสร้อยคอ-หลังสีเหลืองอ่อน หงอนจักร ปาก-แข้ง-ผิวหนัง-เนื้อสีดำ ผลผลิตไข่ 84 ฟอง/แม่/ปี

ไก่ฟ้าหลวง
ไก่ฟ้าหลวง เป็นไก่พื้นเมืองท้องถิ่นชาวไทยภูเขาในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยดำเนินงานวิจัยสร้างฝูงไก่ที่สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์แม่ฮ่องสอน 053-684031

ลักษณะประจำพันธุ์ มีขนลำตัว-หางสีดำ ขนสร้อยคอ-หลังสีน้ำตาลแดง หงอนจักร ปาก-แข้ง-ผิวหนัง-เนื้อสีดำ ผลผลิตไข่ 93 ฟอง/แม่/ปี

ไก่แม่ฮ่องสอน
ไก่แม่ฮ่องสอน เป็นไก่ท้องถิ่นชาวไทยภูเขาของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ลักษณะทั่วไปคล้ายกับไก่ป่า นิยมเลี้ยงไว้บริโภคเองและใช้เป็นไก่ต่อล่อไก่ป่า โดยดำเนินงานวิจัยสร้างฝูงไก่ที่สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์แม่ฮ่องสอน 053-684031

ลักษณะประจำพันธุ์ มีขนลำตัว-หางสีดำ สร้อยคอ-หลังสีเหลืองเข้ม มีปุยขาวที่โคนหาง หงอนจักร แข้ง-ปากสีดำหรือเทา ผิวหนังขาวอมแดง ผลผลิตไข่ 81 ฟอง/แม่/ปี

ไก่เบตง
ไก่เบตง มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศจีน เมื่อชาวจีนอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ได้นำไก่พันธุ์แลนชานหรือที่คนจีนเรียกว่าไก่กวางไส เข้ามาเลี้ยง ต่อมาได้แพร่กระจายพันธุ์ไปพื้นที่ข้างเคียง โดยกรมปศุสัตว์ได้ดำเนินงานวิจัยสร้างฝูงไก่ที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ยะลา 073-203218

ลักษณะประจำพันธุ์ มีขนทั้งตัวสีเหลืองทอง-สีเหลืองอ่อน-สีน้ำตาลอ่อน หงอนจักร แข้ง-ปากเหลือง ผลผลิตไข่ 143 ฟอง/แม่/ปี

แหล่งที่มา sentangsedtee

ADS Fix3
ADS Fix5