หลักการคัดไก่พม่าเลือดสูงสำหรับเลี้ยงชน
พม่าเลือดสูง คือ ไก่พม่าที่ผ่านการพัฒนาสายพันธุ์กับสายเลือดอื่นน้อย บางทีเราอาจเรียกว่า พม่าเลือดร้อย หรือ พม่าเลือดเข้ม มีลักษณะเด่น คือ ตัวเล็ก หางหก อกตั้ง ขนดก กระดูกเล็ก กล้ามเนื้อเล็ก
ส่วนเชิงชนก็จะเด่นในเรื่องลีลาที่หลากหลายตามสายพันธุ์และสามารถออกแข้งเปล่าได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ เป็นจุดเด่นที่ทุกคนต้องการคือเชิงชนลีลาความรวดเร็วและแม่นยำนี่เอง ดังนั้นการคัดแยกเพื่อเลี้ยงจึงต้องมีความพิถีพิถันกว่าสายอื่น ๆ
การคัดแยกพม่าเลือดสูงเพื่อเลี้ยงมีขั้นตอนที่สำคัญ คือ
1.จับแยกมาขังเดี่ยวทำให้เกิดความเชื่องโดยติดน้ำเอาแดดพอเบาๆ เพื่อให้ไก่คลายตัวและมีความคุ้นเคยกับผู้เลี้ยง
2.การปล้ำวางครั้งแรกให้วางประมาณ 10 นาที ดูว่า ลีลาดีไหมตรงตามที่ต้องการหรือไม่แผลตีดูประกอบบ้างแต่ยังไม่ใช่ประเด็นหลัก
3.การปล้ำวางครั้งที่สองห่างกันสองสัปดาห์ ให้ปล้ำวาง 1 ยก ดูว่าลีลาดีขึ้นไหม แผลตีดีขึ้นหรือไม่ จิตใจดีไหม หากยังเลือกตัวสู้ ก็ยังต้องเวลาในการพัฒนาตนเอง
4. การปล้ำวางครั้งที่ 3 วาง 20 นาที ดูว่าการยืนดินดีไหมยืนครบระยะ 20นาทีไหม ถ้ามีอาการ ปีกก่อมหรือห่มผ้า ขาอ่อนควรคัดทิ้งหรือคัดเป็นไก่ปล่อยตอตีแบบภาคเหนือได้ แต่คัดเป็นไก่ตีภาคอื่นไม่ได้
ไก่พม่าจะมีปัญหาข้อนี้เยอะสุด จะกลายเป็นไก่เลี้ยงยาก บางท่านว่าเลี้ยงแข็งก็จะบินดีเอง แต่ในความเป็นจริงเขาจะแข็งแกร่งขึ้นอีกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อายุชนขวบและเลยขวบไปเขาจะยิ่งอ่อนแอลงอีกเหมือนเดิม พูดง่ายๆ คือเป็นไก่เลี้ยงยากควรคัดทิ้งครับ
5.การปล้ำวางครั้งที่ 4 นี่ดูให้ครบเลยคือ ความแม่นยำ ความรวดเร็ว ลีลาสวยงามเหมาะสมไหมถ้าสรุป 3 อย่างผ่านก็น่าจะผ่านกรคัดไปสู่การเลี้ยง
6.การเลี้ยงพม่าเลือดสูงจะต้องรีบชนในช่วงที่ไก่ยังสมบูรณ์น้ำขนดีๆ เพราะช่วงนี้ไก่จะบินดีเลี้ยงง่าย พอขนเริ่มโรยหรือหมดความมันแสดงว่าไก่จะเริ่มหมดความสมบูรณ์ไก่พม่าเลือดสูงจะเลี้ยงไม่ขึ้น พูดง่าย ๆ อายุเลย 14 เดือนแล้วเลี้ยงยากมากเพราะกล้ามเนื้อที่เล็กบอบบางทำให้การบินและยืนดินไม่ดี ซึ่งข้อนี้เสียเปรียบสายเลือดอื่น ไก่สายเลือดอื่นอายุขนาดนี้กำลังแกร่งทีเดียว
แหล่งที่มา longhomdi