ดูถ่ายทอดสด "อัพเดตทุกเรื่องราวข่าวสารวงการไก่ชน ดูถ่ายทอดสดไก่ชน ครบทุกสนาม ทีเด็ดไก่ชน อัพเดทข่าวไก่ชนทุกประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งความรู้สาระเรื่องที่เป็นประโยชน์ผู้เลี้ยงไก่ชน"

ไฮไลท์ไก่ชนล่าสุด

B1
ADS B2
ADS B3
ADS B4
หน้าหลัก บทความไก่ชน เทคนิคการควบคุมน้ำหนักและเลี้ยงไก่หนุ่มให้พอดี บินดี แรงดี ไม่มีตก

เทคนิคการควบคุมน้ำหนักและเลี้ยงไก่หนุ่มให้พอดี บินดี แรงดี ไม่มีตก

วันพฤหัสบดี 09 กรกฎาคม 2563 ยอดเข้าชม 113
SHARE ON:

เทคนิคการควบคุมน้ำหนักและเลี้ยงไก่หนุ่มให้พอดี บินดี แรงดี ไม่มีตก

 

การเลี้ยงไก่ออกชนนั้นไก่หนุ่มจะไม่ค่อยยากเหมือนไก่แซม ไก่ถ่าย เพราะไก่หนุ่มถ้าเลี้ยงมากเกินไปจะทำให้ไก่ไม่ค่อยตีไก่ ถ้าเลี้ยงน้อยเกินไปก็จะทำให้ไก่ไม่ค่อยมีกำลัง เราต้องเลี้ยงให้พอดีๆ การเลี้ยงไก่ออกชนนั้นเราต้องซ้อมให้ได้หน้า คือเราต้องซ้อมจนกว่าหน้าของไก่จะไม่ฟู บวม พอแผลที่หน้าหายดีแล้วก็ถ่ายยาลุ ถ่ายลุภายในที่ถูกตีเมื่อเวลาซ้อม หลังจากถ่ายยาสัก 3 วันก็เริ่มลงมือเลี้ยงได้เต็มที่

 

 

การเลี้ยงไก่แซม ไก่ถ่ายต่างกับไก่หนุ่มมาก คือ เราต้องวางให้มากเข้าไว้อย่างน้อยต้อง 10-12 ยกขึ้นไป วางให้จนเข้าที่เหมือนเดิมให้ได้ อย่าไปสงสาร เพราะไก่แซม ไก่ถ่ายนั้นหนังจะหนา กระดูกก็จะแข็งมากไม่ต้องกลัวจะออกไก่ แต่ถ้าวางออกไก่แสดงว่าใจไม่สู้หรือใจไม่ดี ไม่พร้อมที่จะชน บางตัวตอนอายุหนุ่มๆ ชนดี ชนชนะหลายเที่ยว ชนจนขนเริ่มหลุด เริ่มแซม พอหลังจากแซมสุดหมดแล้วไม่สู้ไก่ก็มี บางตัวตอนหนุ่มๆ ไม่สู้ไก่ แต่พอแซมสุดหมดแล้วสู้ไม่เลือกหน้าก็มี
การเลี้ยงไก่ออกชนนั้น จำเป็นต้องให้กินยาบำรุงกำลังตลอดระยะเวลาการเลี้ยง พร้อมจะออกชนในสนาม ยาบำรุงของไก่ที่ขาดไม่ได้เลยนั้น ควรเน้นยาสมุนไพรโบราณให้มากที่สุดตัวยามีดังนี้

1.บอระเพ็ดผง

2.หัวแห้วหมูผง

3.กระเทียมครึ่งกิโล บดให้ละเอียดตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง

4.กระชาย 2 กำ ตากแดดให้แห้งบดให้เป็นผง

5.พริกไทยเม็ด บดให้เป็นผง

6.ยาดำ บดให้เป็นผง

7.นกกระจอก 7 ตัว ย่างไฟให้สุกตากแดดให้แห้ง แล้วบดให้เป็นผง

8.ปลาช่อนครึ่งกิโล ย่าง ไฟให้สุกตากแดดให้แห้ง แล้วบดให้เป็นผง

9.ดีปรี 3 เม็ด บดให้เป็นผง

เอาทั้ง 9 อย่างนี้มาผสมกันกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอนให้กิน กินวันละ 1 เม็ดก่อนนอนทุกวัน ในระหว่างเลี้ยงอยู่นั้นยังมียาอีกหลายอย่ าง เช่น หญ้าแพรกบดให้ป่น ตากลมพอหมาดๆ นำไปผสมนมข้นหวาน ใส่ตู้เย็นไว้ให้กินทุกวันก่อนนอนจะทำให้ไก่มีกำลังบินที่ดีมากและก็ในคราวเดียวกันในระหว่างกำลังเลี้ยงอยู่ควรให้กินยาวิตามินไปด้วยคือ แบรนเนอร์โปรตีน เพราะยาตัวนี้จะมีวิตามินที่ร่างกายต้องการไม่ว่าคนหรือสัตว์จะขาดเสียไม่ได้เลย คือ วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินซี วิตามินดี วิตามินทั้ง 4 ตัวนี้ถ้าขาดตัวใดตัวหนึ่งจะทำให้ร่างกายไม่สมบูรณ์ แข็งแรง เหมือนธรรมชาติ ระหว่างกำลังเลี้ยงอยู่ควรให้กินประมาณ 5 เม็ด ให้กินวันเว้นวัน หรือให้กินวันเว้นสองวัน และวันออกให้กินอีก 1 เม็ด ข้อสำคัญอย่าให้กินมากเกินไป เพราะจะทำให้ไก่บินมากจนตีไม่ถูก เพราะไก่คึกเกินไปนั้นเอง เพราะฉะนั้นการเลี้ยงไก่ออกชนทุกครั้ง จึงจำเป็นต้องให้กินทุกครั้งเพื่อไม่ให้ไก่ขาดวิตามินตัวใดตัวหนึ่งและก็จะทำให้ไก่ได้มีกำลังเพิ่มขึ้นกว่าปกติ ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงดีก่อนกินยาบำรุงทุกขนาดควรให้กินข้าวก่อน แล้วค่อยให้กินยาตอนเย็นก่อนนอน

 

 

เทคนิคและวิธีการลงนวมก่อนปล้ำ

ในการลงนวมไก่นั้นสามารถลงนวมได้ตั้งแต่เริ่มนำไก่มาเลี้ยง ไปจนถึงการลงนวมไก่ออกชน ซึ่งถ้าทำอย่างถูกต้องและถูกวิธีจะทำให้ไก่แข็งแรง พละกำลังดีและแข็งแกร่ง นอกเสียจากไก่บางประเภทอย่างไก่พม่าที่ไม่นิยมลงนวม ในการลงนวมนั้นจะต้องมีการวางกำหนดการในการลงนวมเสียก่อน เพื่อเป็นการกำหนดวันที่จะลงนวมว่าจะลงนวมทั้งหมดกี่ครั้งและพักไก่กี่วัน ในช่วงเวลาที่เลี้ยงไก่ก่อนนำไปปล้ำ ตัวอย่าง เช่น ไก่ที่เราเลี้ยงปล้ำในวันอาทิตย์มา 2 อัน แล้วอีกสองสัปดาห์ถัดไปในวันอาทิตย์ จะทำการปล้ำอีกครั้ง แสดงว่าเรามีเวลาในการเลี้ยงทั้งหมด 13 วัน ผู้เลี้ยงต้องทำการวางกำหนดการภายใน 13 วันว่าจะพักไก่กี่วัน ลงนวมกี่วัน แล้วพักไก่ก่อนนำไปปล้ำกี่วัน ในการพักไก่หลังจากการปล้ำนั้น ควรพักไก่อย่างน้อย 5-6 วัน เพื่อให้บาดแผลตกสะเก็ดและร่วงเสียก่อน ให้สังเกตว่าบาดแผลไก่เริ่มบางใกล้หายจึงเริ่มลงนวม และในการพักไก่หลังจากที่ลงนวมมาไม่ว่าจะลงนวมไปกี่ครั้ง ก็ควรจะมีการพักไก่เสียก่อนจะนำไปปล้ำ ควรจะพักอย่างน้อย 2 วัน เพื่อเป็นการคลายความเมื่อยล้า คลายเนื้อคลายตัว ตัวอย่างการวางกำหนดการลงนวมไก่ก่อนปล้ำในกำหนดเวลาเลี้ยง 13 วันก่อนนำไปปล้ำ

 

 

วันที่ 1-2 ปล่อยให้ไก่พัก เช็ดน้ำและประคบกระเบื้องหรือนวดยา ไม่ต้องให้ไก่วิ่งสุ่ม ปล่อยให้ไก่อยู่ในตาข่ายกว้างๆก็พอ

วันที่ 3-6 ปล่อยให้ไก่พัก เช็ดน้ำและประคบกระเบื้องหรือนวดยาให้ไก่วิ่งสุ่มในช่วงเช้าและบ่าย

วันที่ 7 ลงนวมช่วงเช้าตรู่ อันเดียว 25 นาที เช็ดน้ำหรือประคบกระเบื้องนวดยาตามปกติ วิ่งสุ่มช่วงบ่ายก่อนเช็ดน้ำอีกครั้ง

วันที่ 8 ให้วิ่งสุ่มในช่วงเช้าก่อนเช็ดน้ำ และประคบกระเบื้องนวดยาตามปกติ วิ่งสุ่มในช่วงบ่ายก่อนเช็ดน้ำอีกครั้ง

วันที่ 9 ทำเช่นเดียวกับวันที่ 7

วันที่ 10 ทำเช่นเดียวกับวันที่ 8

วันที่ 11 ลงนวมช่วงเช้าตรู่ อันเดียว 30 นาที เช็ดน้ำและประคบกระเบื้องนวดยาตามปกติ วิ่งสุ่มช่วงบ่ายก่อนเช็ดน้ำอีกครั้ง

วันที่ 12-13 พักไก่ ไม่ต้องวิ่งสุ่ม เช็ดน้ำธรรมดา ไม่ต้องประคบกระเบื้อง ปล่อยให้ไก่เดินที่กว้างๆ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

 

แหล่งที่มา http://kaichon.dooasia.com

ADS Fix3
ADS Fix5