ดูถ่ายทอดสด "อัพเดตทุกเรื่องราวข่าวสารวงการไก่ชน ดูถ่ายทอดสดไก่ชน ครบทุกสนาม ทีเด็ดไก่ชน อัพเดทข่าวไก่ชนทุกประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งความรู้สาระเรื่องที่เป็นประโยชน์ผู้เลี้ยงไก่ชน"

ไฮไลท์ไก่ชนล่าสุด

B1
ADS B2
ADS B3
ADS B4
หน้าหลัก บทความไก่ชน ความรู้เกี่ยวกับไก่ชนไก่เป็นตะคริว แก้ไขอย่างไร

ความรู้เกี่ยวกับไก่ชนไก่เป็นตะคริว แก้ไขอย่างไร

วันเสาร์ 04 กรกฎาคม 2563 ยอดเข้าชม 239
SHARE ON:

 

 ความรู้เกี่ยวกับไก่ชนไก่เป็นตะคริว แก้ไขอย่างไร


กีฬาชนไก่เป็นการละเล่นที่มีมานานไม่ใช่เพียงการจับไก่มาต่อสู้กันเพื่อเดิมพันแพ้ชนะเท่านั้น แต่มีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่การผสมพันธุ์์ไก่ชนเพื่อให้ได้ลูกไก่สายเลือดดี ถ่ายทอดคุณสมบัติเด่นของพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มาอย่างเต็มที่ผู้เลี้ยงต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างมากไม่ใช่การประคบประหงมจนไก่สมบูรณ์อ้วนพี แต่ต้องมีการฝึกซ้อมให้ร่างกายแข็งแรง ฝึกจิตใจให้เข้มแข็งอดทนป้องกันโรคติดต่อและบำรุงร่างกายให้แข็งแกร่ง เมื่อถึงวัยออกบ่อนระหว่างการชนยังต้องสังเกตดูอาการ รักษาอาการเจ็บปวด เย็บแผลให้โดยไม่นึกรังเกียจ ช่วยให้ไก่หายเหนื่อยหอบคืนสู่สภาพเดิมเร็วที่สุด ซึ่งต้องทำแข่งกับเวลาในช่วงพักยกที่มีอยู่อย่างจำกัด ถือเป็นการผสมผสานทั้งศาสตร์และศิลป์ใช้ความชำนาญในการให้น้ำและเทคนิคต่างๆ มากมาย

 

 

จากประสบการณ์ที่ผ่านมานักเลงไก่แนะนำว่าการเลือกมือน้ำเก่งๆมีส่วนสำคัญต้องช่างสังเกตและมีความละเอียดอ่อนมากสามารถช่วยเหลือไก่ให้หายเหนื่อยโดยเร็วถ้ามีอาการหอบต้องทำให้หายช่วยให้หายปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกายให้เป็นปกติเท่าที่จะทำได้ ด้วยการเอาผ้าชุบน้ำพอหมาดๆ เช็ดตามเช็ดหน้าเช็ดตา เช็ดเนื้อตัวไก่ใต้ท้องใต้ปีก 2 ข้างระวังอย่าให้ขนเปียก เพื่อให้ไก่คลายร้อนแช่เท้าสองข้างในขันใส่น้ำเย็น และอาการหอบค่อยๆ หายไป จากนั้นจึงดูแลแก้ไขบาดแผลอื่นๆ ที่บาดเจ็บต่อไป

การแก้ไขอาการเป็นตะคริว

หากไก่โดนตีร่างกายบอบช้ำ บาดเจ็บหนักทำให้หมดแรง กล้ามเนื้อหดเกร็งเป็นตะคริวและอาจเสียเลือดรวมด้วยให้จัดการเช็ดบาดแผลห้ามเลือดให้เรียบร้อย

จึงแก้ไขอาการเป็นตะคริวโดยการประคบน้ำอุ่นบริเวณหน้าอก ใต้ปีก โคนขา หน้าขา อุ้งเท้า มือน้ำต้องนวดคลึงเบาๆ บริเวณกล้ามเนื้อแผ่นหลัง ก้านปีก หลังคอ น่อง เอ็นร้อยหวาย และอุ้งเท้า ช่วยคลายเส้นให้ไก่ชน พร้อมกับแช่ขาในน้ำอุ่นด้วย เมื่ออาการเป็นตะคริวเริ่มทุเลาแล้ว ให้เอาคลุมผ้าหัวให้ไก่นอนพักผ่อน มือน้ำต้องช่วยแก้ไขประคับประคองให้ไก่หายจากอาการเป็นตะคริวให้เร็วที่สุดก่อนปล่อยออกชนในยกต่อไป

 

 

ถ้าไก่เกิดเป็นตะคริวช่วงต้นยกจะไม่ต่อสู้ถือว่าอันตรายที่สุดเพราะมือน้ำจับมาช่วยเหลือแก้ไขไม่ทัน อาจโดนจิกตีข้างเดียวจนบอบ ช้ำรุนแรงถึงขั้นพิการ อวัยวะหักหรือตาบอดก็ได้

วิธีป้องกัน

ปัญหาการหอบและเป็นตะคริวระหว่างชนไก่ได้ดีที่สุดคือผู้เลี้ยงควรบำรุงสุขภาพไก่ชนตั้งแต่อายุประมาณ 5-6 เดือนที่ไก่ยังไม่โตเต็มวัย เสริมโปรตีนและอาหารบำรุงกำลังวังขาให้กล้ามเนื้อแข็งแกร่ง มีการฝึกซ้อมออกกำลังกายเป็นประจำ วิ่ง กระโดดและบิน ทำให้ไก่ชนมีสภาพร่างกายสมบูรณ์ กล้ามเนื้อแข็งแรงไม่เกิดการหดเกร็งและเป็นตะคริวได้ง่ายๆ หากเป็นกรณีที่ไก่ชนโดนตีอวัยวะสำคัญบริเวณท้ายทอยและจุดศูนย์รวมประสาทที่เชื่อมต่อเอ็นร้อยหวาย ความสำคัญอยู่ที่มือน้ำจะต้องสังเกตอาการและรีบแก้ไขอย่างเร่งด่วน
 

ADS Fix3
ADS Fix5