ดูถ่ายทอดสด "อัพเดตทุกเรื่องราวข่าวสารวงการไก่ชน ดูถ่ายทอดสดไก่ชน ครบทุกสนาม ทีเด็ดไก่ชน อัพเดทข่าวไก่ชนทุกประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งความรู้สาระเรื่องที่เป็นประโยชน์ผู้เลี้ยงไก่ชน"

ไฮไลท์ไก่ชนล่าสุด

B1
ADS B2
ADS B3
ADS B4
หน้าหลัก บทความไก่ชน การกินขนอ่อน เกิดจากไก่ขาดแร่ธาตุ ขาดสารอาหาร ขาดวิตามิน ให้ไม่เพียงพอ เกิดจากไก่อยู่ในที่คับแคบ แออัดยัดเยียด เกิดจากไก่ถูกขังรวมกัน

การกินขนอ่อน เกิดจากไก่ขาดแร่ธาตุ ขาดสารอาหาร ขาดวิตามิน ให้ไม่เพียงพอ เกิดจากไก่อยู่ในที่คับแคบ แออัดยัดเยียด เกิดจากไก่ถูกขังรวมกัน

วันพุธ 01 กรกฎาคม 2563 ยอดเข้าชม 967
SHARE ON:

การกินขนอ่อน เกิดจากไก่ขาดแร่ธาตุ ขาดสารอาหาร ขาดวิตามิน ให้ไม่เพียงพอ เกิดจากไก่อยู่ในที่คับแคบ แออัดยัดเยียด เกิดจากไก่ถูกขังรวมกัน

การกินขนอ่อน เกิดจากไก่ขาดแร่ธาตุ ขาดสารอาหาร ขาดวิตามิน ให้ไม่เพียงพอ เกิดจากไก่อยู่ในที่คับแคบ แออัดยัดเยียด เกิดจากไก่ถูกขังรวมกัน
อยู่ในเล้าที่บริเวณไม่เพียงพอ ต้องนำไปปล่อยอิสระ ให้กินยาแก้เครียด
แร่ธาตุ วิตามินผสมน้ำ หรือ ช่วยตัดปลายปากบางตัวที่มีนิสัยชอบกินขนหรือเอาตัวนิสัยไม่ดีแยกออกไปจากฝูงอยู่อย่างอิสรเสรี จะเลิกกินขนกันไปเอง

1.สถานที่ปล่อย การเลี้ยงไก่ ระยะ 6-8 เดือน จำเป็นต้องเตรียมที่ปล่อยอิสระไว้ให้ไก่ระยะนี้ เพื่อให้ไก่ได้ออกกำลังเต็มที่ เพราะต่อไปจะต้องขายหรือนำไปเข้าซุ้มฝึกซ้อมเลี้ยงชน ถ้าไม่แข็งแรง กำลังขาไม่มีหรือผอมจะเสียไก่หมด ใช้ไม่ได้ ควรให้ไก่อยู่ที่ว่างอิสระ นอกจากไก่จะแข็งแรงโตได้ขนาดแล้ว ยังแก้ปัญหาการกินขนอ่อนได้ดีด้วย

2.การไล่รังแกกัน ไก่ระยะเริ่มโตเป็นหนุ่ม เริ่มคึกคะนอง เริ่มจะสู้ไก่ จะมีการไล่จิกตีหรือทับตัวที่อ่อนแอกว่า จะไล่กันแบบไม่เลิกรา บางตัวขาหัก ขาแพลง สะโพกคราก เท้าเจ็บเป็นแผลบวม หัวหลังถลอกเพราะถูกจิก ถูกตะกายขึ้นทับ การเลี้ยงไก่ตอนนี้ต้องหาไก่ใหญ่ที่อายุมากและดุมาคุมฝูงไว้ ไก่อายุมากจะช่วยคุ้มครองไก่อ่อนแอได้ และยังช่วยกันกำราบไก่ตัวคึกๆ ดุๆ ในฝูงได้ หรือให้ปล่อยไก่รุ่นจากเล้านอนสายๆ เพราะตอนเช้าไก่ตัวหนุ่มๆ จะคึกมากเพราะนอนเต็มที่ฮอร์โมนเพศเกิดมาก จะมองเห็นตัวอ่อนแอกว่า หรือตัวแพ้เป็นตัวเมียไปหมดจึงมักไล่บี้เพราะอยากผสมพันธุ์ พอสายอากาศร้อน ความคึกคะนองจะลดลง และไก่จะหิวจะหากินมากกว่า จึงเป็นการป้องกันการไล่บี้หรือไล่รังแกกันได้

3.การแย่งตัวเมีย-ติดตัวเมีย ไก่ระยะนี้ตัวเมียกำลังเริ่มออกไข่ ไก่ตัวผู้ในฝูงจะติดตัวเมีย หรือเรียกว่าติดสัด ไก่จะแย่งตัวเมียกัน จะหวงตัวเมีย จะแย่งทับกันปี้ผสมตัวเมีย อีกตัวขึ้นทับอีกตัวโดดตี ทำให้เกิดความเสียหายได้ บางตัวกำลังทับตัวเมียเพลิน ถูกตัวอื่นหวงจิกตีจนพิการเสียไก่ไปก็มี การป้องกันแก้ไขระยะนี้ต้องแยกไก่ตัวเมียออกจากฝูงให้หมด และอีกอย่างไก่ระยะติดตัวเมียจะไม่ยอมกินอาหาร ปี้ทับตัวเมียมากจนทำให้ผอมแคระแกร็นได้

4.การตีต่อสู้ ไก่ระยะนี้ถ้าสมบูรณ์ดีจะเป็นหนุ่มเต็มตัวแล้ว สุดปีกสุดหางจะคึก-ก้าวร้าว-เข้า พฤติกรรมต่อสู้เพราะฮอร์โมนฉีดแรง ไก่จะเริ่มสู้กัน ระยะนี้ระวังให้มาก อย่าให้เปียกฝน อย่าให้ไก่กินของสกปรกเลอะหน้า เมื่อตัวเปียก-หน้าเลอะ ไก่จำกันไม่ได้จิกตีต่อสู้กัน เมื่อคู่แรกตีกันหน้าตาจะมีเลือดออกเลอะหน้าจำกันไม่ได้อีก จะตีกันเพิ่มคู่มากขึ้นและในที่สุดจะตีกันทั้งฝูง ถ้าเจ้าของไม่เห็นจะเป็นการสูญเสียทั้งฝูง เจ๊งเลย การป้องกันแก้ไขเมื่อเห็นไก่ในฝูงใดมีพฤติกรรมต่อสู้ ก็ให้คัดออกมาขายหรือเข้าซุ้มฝึกซ้อมได้ พยายามคัดไปเรื่อยๆ ก็จะไม่เกิดผลเสียหาย

5.การทำวัคซีนและถ่ายพยาธิซ้ำ ไก่ระยะนี้เป็นระยะที่จัดจำหน่ายหรือเข้าฝึกซ้อมได้แล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในตอนเข้ามาหรือจัดจำหน่ายไป ต้องจัดการถ่ายหรือฆ่าพยาธิและทำวัคซีนเพิ่มเติม คือ นิวคลาสเวิล-หลอดลมอักเสบ-อหิวาต์-หวัดหน้าบวม เพราะโรคเหล่านี้จะพบบ่อยๆ เวลาไก่เข้าปล้ำ ทำให้ต้องเสียเวลาในการฝึกซ้อม หรือเลี้ยงออกชน หรือฟิตซ้อมเพื่อรอขาย เรื่องการทำวัคซีนหลายคนละเลย จะไม่พบปัญหาตอนหลังถ้าทำไปก่อนเอาเลี้ยงซุ้ม ไก่จะแข็งแรงไม่ติดโรค จะซ้อมปล้ำได้ตลอดเวลา จึงไม่มีปัญหาในการฝึกซ้อมหรือออกชน ไก่จำนวนมากที่พอเลี้ยงไปแล้ว เป็นโน่นเป็นนี่บางทีไก่เก่งๆ ก็ออกชนไม่ได้ก็มีมาก ฉะนั้นการเลี้ยงไก่รุ่นใหญ่ ก่อนขาย ก่อนเอาไปเลี้ยงชน จึงมีความสำคัญมากทีเดียว อย่ามองข้าม

 

แหล่งที่มา:เซียนไก่

 

ADS Fix3
ADS Fix5