ดูถ่ายทอดสด "อัพเดตทุกเรื่องราวข่าวสารวงการไก่ชน ดูถ่ายทอดสดไก่ชน ครบทุกสนาม ทีเด็ดไก่ชน อัพเดทข่าวไก่ชนทุกประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งความรู้สาระเรื่องที่เป็นประโยชน์ผู้เลี้ยงไก่ชน"

ไฮไลท์ไก่ชนล่าสุด

B1
ADS B2
ADS B3
ADS B4
หน้าหลัก บทความไก่ชน วิธีดู สกุลไก่พม่า

วิธีดู สกุลไก่พม่า

วันอังคาร 30 มิถุนายน 2563 ยอดเข้าชม 705
SHARE ON:

ไก่ชนพม่า เป็นคู่แข่งไก่ไทยมาตั้งแต่ค้นพบประวัติสายพันธุ์ แต่ที่โจทขานกันเห็นจะเป็นตำนานพระนเรศวร ไก่พม่าถือเป็นไม้เบื่อไม้เมาไก่ไทย ในปัจจุบันไก่พม่าแซงทางโค้งไก่ไทยด้วยความแม่น แทงแบบระเบิดเถิดเทิง ขยับเป็นแทง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น แทงจัดอย่างเดียวไม่พอ ต้องถามว่าแผลไหนด้วย พม่าจึงมีช่องโหว่อยู่มากที่ไทยจะแซงกลับมาลบภาพปัจจุบันซึ่งไม่เลือกสีสรรละทิ้งชั้นเชิงหันมาพิงเชือกเพียงอย่างเดียว

ประวัติการนำเข้าไก่พม่ามาในไทย
  จังหวัด แพร่เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมาของการนำเข้าไก่พม่าลูกนอก เมื่อย้อนอดีตกลับไปเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2534 หรือประมาณ18ปีที่แล้ว ในจังหวัดแพร่คงจะไม่มีใครที่จะไม่รู้ “กำนันหมู” ซึ่งท่านเป็นคนรุ่นแรกๆที่ได้นำเข้าไก่ชนสายพันธุ์พม่าลูกนอกเข้ามาเล่นในจังหวัดแพร ่

“เมื่อ สมัยปี พ.ศ. 2534 ตนได้มีโอกาสไปค้าขายเสื้อ-ผ้าที่ภาคเหนือ ตรง อ.แม่สาย จ.เชียงราย ก่อนหน้านั้นตนต้องเลิกเลี้ยงไก่ไปพักหนึ่งเพราะต้องทำมาหากินเป็นกิจจะ ลักษณะ และจากจุดนี้นี่เองที่เป็นเรื่องราวของไก่พม่าลูกนอกได้บังเกิดขึ้นกับตน เมื่อได้รู้จักกับพ่อค้าชาวไทยใหญ่คนหนึ่งซึ่งได้มอบไก่พม่าให้

ไก่พม่าตัวนี้มีสีขนออกโทนแดงนกกรด รูปร่างบอบบางตัวเล็ก (เรียกได้ว่า “ขี้เหร่”มาก) เมื่อนำเอาไก่ตัวนี้มาเลี้ยงตีที่ซุ้มของตัวเองยังหวัดแพร่ ไฟท์แรกออกชนที่สนามกีฬาชนไก่ของ “พ่อเลี้ยงเหมี่ยน” ปรากฏว่าได้รับชัยชนะอย่างสวยงามเป็นที่ฮือฮาของเซียนไก่เป็นอย่างมาก

หลังจากนั้นตนก็ได้ติดต่อสั่งไก่พม่าจากชาวไทยใหญ่เป็นเวลาติดต่อกันหลายปีไก่ตัวที่สร้างชื่อเสียงให้ตนในสมัยนั้น ยังเป็นไก่นำเข้าชื่อไอ้เต่า ไก่ตัวนี้เป็นไก่มีไอคิวดีมากเรียกได้ว่าสอนได้เรื่องมีอยู่ว่าไอ้เต่าเป็น ไก่ที่มีลีลาหน้าโด่ๆเก่งหน้าหงอน

เวลามันถอยติดสังเวียนมันมักจะไม่ค่อยย้ายตัวมันออกชอบพิงสังเวียนปล่อยให้ คู่ต่อสู้ ตีอยู่เสมอ ตอนฝึกตนได้ใช้ไม้เรียวเฆี่ยนตีไอ้เต่าเวลามันพิงสังเวียนพอไอ้เต่ารู้สึก เจ็บมันก็จำว่าเวลามันพิงมันจะถูกตีหลังจากนั้นไอ้เต่าเลยไม่พิงสังเวียนอีก

หลังจากนั้นได้นำมันเดินสายตีไปยัง จังหวัดลำปาง ในสมัยนั้นบ่อนที่ดังที่สุดคงจะไม่สนามชนไก่บ้านพระบาท จ.ลำปาง และได้ประกบตีกันที่เดิมพัน110,000บาท ชนกับไก่ลำพูนซึ่งเป็นไก่ป่าก๋อย และไอ้เต่าก็ไม่ทำให้ตนต้องผิดหวังชนะ2อันกะหน่อย 

วิธีดูสกุลไก่พม่า
ไก่พม่าดั้งเดิมนั้น มีลักษณะที่เด่นชัดเป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่ไก่ชนที่เหมือนไก่ทั่วไป เพราะถือเป็นอีกสายพันธุ์หนึ่งที่สืบเชื้อสายมายาวนาน มีพันธุกรรมที่โดเด่นชัดเจน ดังนั้นไก่พม่าที่สกุลสูง ๆ บางท่านอาจละเลยลักษณะสำคัญไปจนทำให้การพัฒนาของเราผิดพลาดขาดทิศทาง ยิ่งในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าไก่พม่าเลือดสูงไม่้อาจจะครองความยิ่งใหญ่ในสังเวียนได้ ในขณะที่พม่าลูกผสมสามารถยืนได้อย่างทรนง ดังนั้นพม่าที่ชนกันในปัจจุบันจึงเรียกว่าร้อยละ 90 เป็นลูกผสม

เมื่อ ลูกผสมครองเมือง เราในฐานะคนพัฒนาคนเลี้ยงก็ต้องดูออกว่าสกุลลุนชาติของ พม่าตัวไหนเลือดเข้มตัวไหนเลือดไม่เข้ม เพื่อจะพิจารณาต่อยอดได้ลูก เพราะถ้าเชื้อพม่าน้อยไปลีลาชั้นเชิงก็แปรเปลี่ยนไปมากทีเดียวดังนั้น ท่านก็ต้องถามตัวเองว่าชอบแบบไหน อะไรคือสิ่งที่เราต้องการพัฒนา

ข้อสังเกต
สำหรับไก่พม่าข้อมูลจากผู้เล่นไก่พม่า มีข้อมูลที่น่าสนใจคือ
-ไก่พม่าที่มาทางจังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอแม่สอด มักมีขนาดโต ไม่ค่อยเก่ง สู้มาจากมาทางแม่สาย จ.เชียงรายไม่ได้
-ไก่พม่าเลือดร้อย ถ้ามีขนาดโตประมาณ 3 กก. มักเก่งไม่สู้ไก่ขนาดเล็กและขนาดกลาง
-ไก่พม่าลูกร้อยสู้ไก่ลูกผสมไทย+พม่าไม่ได้ ชนกันทีไรมักจะแพ้มากกว่าชนะ
-ไก่พม่าลูกร้อยหรือลูกผสมถ้ามีอายุดีจนถ่ายแซมแหลมจัดจะมีน้ำอดน้ำทนดีกว่าลูกหนุ่ม เพราะกระดูกแข็งและใหญ่ขึ้น
-ไก่พม่าลูกถ่ายเล่นได้ถึง 2 ถ่าย
-ไก่พม่าลูกผสมในภาคเหนือของไทยที่มีฝีตีนจัดและเก่งมักจะอยู่ที่ จ.ลำปาง แพร่ พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน
-ไก่พม่าหรือไก่ลูกผสมพม่า เวลาเข้าบ่อนถ้าเป็นสีดอกหมากหรือสีแดง มักหาคู่ยาก

การดูลักษณะไก่ชนพม่า
1. ดูรูปทรง ถ้ารูปทรงเป็นไก่หางหกอกตั้ง มีแนวโนมไปทางไก่พม่ามากครับ พวกนี้จะจับไม่ยาว ลักษณะลำตัวกลม ๆ หน่อยครับ
2. ดูนิสัย ถ้าเปรียวมาก ชอบนอนที่สูง แสดงว่ามีเชื้อไก่พม่าสูงครับ
3. ดูน้ำขน ถ้าน้ำขนมันวาวแสดงว่าเลือดพม่า ขนพม่าแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่มีขนดก และกลุ่มที่มีขนน้อยครับ แต่ที่เหมือนกันคือนำขนจะวาว
4. ดูลักษณะเฉพาะที่บ่งบอกความเป็นพม่าสูงคือ เล็บดำ เดือยดำ อันนี้คือลักษณะไก่พม่าเลือดสูงโดยแท้
5. ดูใบหางจะเป็นใบหางก้านใหญ่กระดกขึ้นและโค้งลงพองาม ปลายหางไม่แหลมเล็ก ถ้าหางตรง ๆ แบบไทยเราก็สันนิษฐานก่อนว่าลูกผสม ปลายหางแหลมยิ่งลูกผสมชัดเจน
6. ดูตาและดวงตา จะสดใสลอยกลอกกลิ้ง ถ้าตาลึกไม่ใช่ไก่พม่าครับ
7. ดูสีขนตามตัว ถ้ามีสีตามตัวแทรกเป็นสีเดียวกับสีสร้อยปรากฎชัดเจนแสดงว่าเลือดพม่าสูงครับ

ชั้นเชิงลีลาแม่ไม้ไก่พม่า ไก่พม่าเป็นไก่ที่มีลีลาชั้นเชิงชั้นยอด คือ ไม่ยอมปะทะกับคู่ต่อสู้ตรงๆ เพราะไก่พม่ามีขนาดเล็ก จึงเป็นไก่คอยฉวยโอกาส หรือไก่จังหวะสอง ชั้นเชิงไก่พม่าเป็นแบบ “สนลู่ลม” หรือต้นอ้อ

ชั้นเชิงไก่พม่าที่เด่นๆ และนักเลงไก่ชอบ
-เชิงถอยดีดแข้งเปล่ารับโดยไม่ใช้ปากจิกคู่ต่อสู้
-เชิงเปลี่ยนหน้าตี คือ พอถูกกอดจะโยกหน้าหลบเข้าอีกข้าง
-เชิงชักลิ่มตี เมื่อถูกกอดขี่ทับจะเป็นไก่คออ่อนไม่ฝืนสู้คอ ถอดหัวออกตี
-เชิงลักตีขโมยตี เข้ามุดหัวติดดิน เผลอขึ้นมาตีแล้วลงไปซุกต่อ
-เชิงม้าล่อ เมื่อถูกกอดขี่จะออกวิ่งให้คู่ต่อสู้วิ่งไล่ตาม พอได้จังหวะจะหันมาดีดแข้งใส่ หรือเมื่อเห็นคู่ต่อสู้เหนื่อยก็จะหันกลับมาตี

เปรียบไก่ชนพม่าให้ชนะ
การเปรียบไก่ มีความหมายว่า การเลือกว่าท่านจะเลือกเดิมพันไก่ชนฝั่งไหน โดยเรามีเทคนิคการเปรียบไก่ชนพม่ามาฝากกัน โดยเราจะมาทำการเทียบไก่พม่ากับคู่ต่อสู้มาดูกันว่าคู่ต่อสู้แบบไหนที่ไก่พม่าคู่ควร มากที่สุด

1. หากเป็นคู่ต่อสู้นั้นเป็นไก่ชนลูกผสมทั่วไป แบบนี้ไก่พม่าชนได้สบายๆ
2. หากเป็นคู่ต่อสู้เชิงไทย ลักษณะหัวโล้น คอแดง ไก่พม่าจะต้องหนีปีกเก่ง แข้งหน้าแม่น
3. หากเป็นคู่ต่อสู้พันธุ์พม่าลูกผสม ส่วนมากมักจะบุกก่อนหากคู่ต่อสู้ไม่เข้า ยิ่งหนังแดงสายบุกแน่นอน แบบนี้ไก่เราต้องแข้งหน้าจัดๆ ถอยเก่ง สู้ได้อยู่
4. หากคู่ต่อสู้เป็นสีพม่าหงอนไทยหางตรง แบบนี้เชิงกอดคอบนปากเร็ว ไก่เราจะต้องหลบเก่ง ออกแข้งแม่น

ลักณะสายพันธุ์พม่าที่ไม่ควรเลี้ยง
โดยทั่วไปไก่พม่าเป็นไก่อีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีจุดเด่นพิเศษในเรื่องไก่ที่มีลีลาสวยงามในการตีมากดังนั้นมาตรฐานการคัดไก่พม่าจึงต้องมีความรอบคอบเพราะไก่พม่าไม่ได้ดีทุกสายพันธุ์ไก่พม่าที่มีปัญหาในการเลี้ยงคือ

1. ใจเสาะ คือประเภทหนีง่าย ๆ อันนี้ควรต้มก่อนสายพันธุ์อื่น
2. สู้ไก่ช้าอันนี้ก็ไม่น่าเลี้ยง แต่ถ้าเก่งจริง ๆ ก็พอให้อภัย
3. กระดูกบางเจ้าเนื้อ คือบางสายเจ้าเนื้อมากอ้วนง่าย เนื้อหนังขาว ๆจับดูมีแต่เนื้อ อันนี้ก็ควรแกงใส่หน่อไม้ส้มครับอร่อยดี เพราะมันเลี้ยงยาก
4. พม่าแบบบินล้ม ไม่เก็บปีกเก็บหาง อันนี้ก็ควรต้มก่อนครับบางตัวบินสองสามทีปีกคลี่คลุมดิน และไม่ยอมยกปีกเก็บปีกด้วย
5. ไก่พม่าที่ขนน้อยสร้อยสั้น ประเภทปีกสั้นสร้อยคอไม่มีสร้อยระย้าไม่เยอะก็ไม่ควรเลี้ยงครับยกเว้นพวกลูกผสม
6. ไก่ที่ไม่เคยชนะไก่เลยหรือชนะไก่ยากมาก เลี้ยงเหมือนจะดี เอาไปชนเสมอกับแพ้ แบบนี้รีบต้มยกเล้า
7. ไก่ที่ไม่เคยชนแพงเลยในตระกูล รุ่นทวด รุ่นปู่ รุ่นลูก รุ่นหลาน รุ่นเหลนรุ่นแล้วรุ่นเล่าได้แต่เฝ้ารอแบบนี้ก็ต้มครับ เขาเรียกว่าไก่ไม่มีตระกูล..
8. พวกอุ้งหนาเท้าหน่อ..อันนี้ก็ไม่ควรเลี้ยงมันดูแลยากครับไม่เหมาะทำสายพันธุ์

ADS Fix3
ADS Fix5