ดูถ่ายทอดสด "อัพเดตทุกเรื่องราวข่าวสารวงการไก่ชน ดูถ่ายทอดสดไก่ชน ครบทุกสนาม ทีเด็ดไก่ชน อัพเดทข่าวไก่ชนทุกประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งความรู้สาระเรื่องที่เป็นประโยชน์ผู้เลี้ยงไก่ชน"

ไฮไลท์ไก่ชนล่าสุด

B1
ADS B2
ADS B3
ADS B4
หน้าหลัก บทความไก่ชน อาหารที่ดีสำหรับการเลี้ยงไก่ชน

อาหารที่ดีสำหรับการเลี้ยงไก่ชน

วันจันทร์ 29 มิถุนายน 2563 ยอดเข้าชม 109
SHARE ON:

อาหารที่ดีสำหรับการเลี้ยงไก่ชน

 

อาหารที่ดีสำหรับการเลี้ยงไก่ชน

 

อาหารที่ดีสำหรับการเลี้ยงไก่ชน ต้องประกอบด้วย

เป็นอาหารที่สมบูรณ์ด้วยวัตถุธาตุ ซึ่งร่างกายต้องการ
ราคาถูกพอสมควร
ไม่บูดเน่า ขึ้นรา
หาได้ง่ายในท้องถิ่นนั้นไม่ว่าจะเป็นสัตว์หรือคน ร่างกายนั้นก็ต้องมีความต้องการอาหาร จึงจะเจริญเติบโต แข็งแรง อาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของไก่ เมื่อไก่กินเข้าไปแล้วสามารถทำให้เสริมสร้างส่วนต่างๆ ให้แข็งแรง เติบโต และไข่ดกก็คือโปรตีน โปรตีนในอาหารไก่ถือตามอายุเป็นเกณฑ์ คือ
1. ลูกไก่ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 8 อาทิตย์ ควรมีอาหารจำพวกโปรตีน 20-25 %
2. ลูกไก่รุ่นอายุตั้งแต่ 2-4 เดือน ควรมีอาหารจำพวกโปรตีน 16-17 %
3. ไก่ไข่อายุรุ่นสาวขึ้นไป ควรมีโปรตีน 15 %
4. ไก่ที่เลือกไว้เป็นพ่อ – แม่พันธุ์ อายุที่ควรผสมพันธุ์ ควรมีโปรตีน 16 % และควรมีโปรตีนจากอาหารประเภทเนื้อสูงกว่าโปรตีนที่ได้จากอาหารพืช และเพิ่มไวตามินให้อีก
การให้ไก่กินอาหาร จะต้องมีส่วนสัดตามความต้องการของร่างกาย ไม่ควรให้แร่ธาตุอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป เพราะถ้าให้มากเกินไปจะไม่เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย และอาจจะให้โทษแก่ร่างกายเสียอีก
วิธีให้อาหารหยาบ
วิธีให้อาหารหยาบมีอยู่ 2 วิธีคือ
1. โปรยลงบนหญ้าฟาง เพื่อให้คุ้ยเขี่ยกินเอง เป็นวิธีที่ทำให้ไก่ได้ออกกำลัง ซึ่งจะทำให้ไก่แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และเป็นการบังคับไม่ให้อ้วนจนเกินไป เพราะไก่ได้ออกกำลังอยู่เสมอ ตามปกติควรโปรยให้กินวันละ 2 หน เช้า-เย็นก็พอ มื้อเช้าควรให้ราวครึ่งหนึ่งของมื้อเย็น และอาหารหยาบที่ให้ในวันหนึ่งควรให้เท่ากับอาหารป่น การให้อาหารหยาบตามวิธีนี้ใช้กับไก่ทุกชนิด นอกจากไก่รุ่นซึ่งอาจจะเลือกใช้วิธีที่สองได้
2. ใส่รางกลตั้งไว้ให้กินเอง วิธีนี้มีประโยชน์ที่ตัดความลำบากและลดค่าแรงงานให้น้อยลง แต่ถ้ารางไม่ดีทำให้เปลือง เนื่องจากอาหารสำหรับไก่ที่กำลังเติบโตและมีที่กว้างขวาง รางกลใส่อาหารหยาบควรตั้งไว้ในที่ร่มรื่น
วิธีให้อาหารป่น แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ
1. ใส่อาหารป่นแห้งไว้ในรางธรรมดา หรือในรางกล ให้ไก่กินอาหารเองตามชอบ วิธีนี้ใช้กันอยู่ทั่วไปเพราะสะดวกไม่ต้องเสียเวลา ไก่อยากกินเมื่อใดก็กินได้ แต่ถ้าทำรางไม่ดี ในเวลาที่ไก่จิกกินก็จะหกทิ้งหมด จึงควรทำรางให้ดี
2. ให้อาหารป่นเปียกกินในรางธรรมดา อาหารป่นเปียกไก่จะกินได้มากกว่าอาหารป่นแห้ง จึงทำให้โตเร็ว เหมาะแก่การขุนให้ไก่อ้วน เร่งให้ลูกไก่โตเร็ว เร่งให้แม่ไก่ไข่มาก
ถ้าเลี้ยงไก่จำนวนน้อยควรให้อาหารโดยวิธีนี้ แต่ระวังอย่าให้อาหารบูดหรือขึ้นรา จะทำให้เกิดท้องเสียได้
วิธีให้อาหารที่ใช้กันมากที่สุด
ได้แก่ วิธีให้อาหารหยาบบนหญ้าแห้ง เพื่อให้ไก่ได้คุ้ยเขี่ยหากินทุกเช้า เย็น และอาหารป่นแห้งใส่รางธรรมดาหรือรางกล ตั้งไว้ให้กินตลอดเวลา การให้กินแบบนี้ ใช้ได้ดีสำหรับไก่รุ่นทุกชนิด ตั้งแต่ลูกไก่รุ่นจนถึงไก่ที่จะทำพันธุ์ ผู้เลี้ยงไก่จำนวนมากใช้วิธีนี้ทั้งสิ้น
ข้อควรจำในเรื่องอาหาร
1. จงให้อาหาร ให้ตรงกับความประสงค์ เช่น ต้องการให้ไก่ไข่ดก ก็ให้อาหารสำหรับไปทำไข่ ถ้าต้องการให้ลูกไก่เติบโต ก็ให้อาหาร สำหรับทำความเจริญเติบโต ถ้าต้องการให้ไก่อ้วน ก็ต้องให้อาหารสำหรับทำให้ไก่อ้วนเป็นต้น การให้อาหารให้ถูกจุดหรือให้ตรงกับเป้าหมายเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะผลมันจะออกมาตามความต้องการของเรา
2. อย่าเสียดายอาหาร ในการเลี้ยงสัตว์ไม่ว่าชนิดใดก็ตาม ยิ่งได้กินอาหารมากเท่าใดก็ยิ่งดีมากเท่านั้น เพราะอาหารที่กินเข้าไปนั้น จะมีเหลือสำหรับทำไข่หรือทำเนื้อมากตามส่วน การเลี้ยงสัตว์ จะถือเป็นการสิ้นเปลืองด้วยการกินของสัตว์นั้นจะนำมาถือเป็นหลักไม่ได้ เพราะอาหารที่มันกินเข้าไปจะช่วยสร้างร่างกายให้เติบโต ฉะนั้นจึงควรให้ไก่กินให้อิ่มอย่าให้อดๆ อยากๆ ผลที่ได้รับจะไม่คุ้มค่าที่เราลงทุนไป
3. จงประหยัดอาหาร การประหยัดอาหารนั้นไม่ได้หมายความว่า ให้ไก่กินแบบอดๆ อยากๆ กินไม่อิ่ม แต่หมายความว่าให้กินให้อิ่มอย่าให้มีเหลือทิ้ง หรือหกเรี่ยราด เพราะการที่หกเรี่ยราดนั้น เท่ากับว่าเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ แทนที่จะได้เก็บไว้กินมื้อต่อไป กลับต้องเสียไปโดยไม่ได้อะไรเลย จึงเรียกว่าไม่รู้จักประหยัด
4. จงให้กินให้อิ่มให้ทั่วถึงกัน เป็นหลักสำคัญอย่างหนึ่ง ในการให้อาหารสัตว์ เพราะฉะนั้นในการให้อาหารควรมั่นเอาใจใส่ดูแล อย่างใกล้ชิด คอยดูว่าตัวใหนไม่ได้กินบ้างหรือกินไม่อิ่ม ทั้งนี้เพราะบางตัวถูกตัวอื่นรังแกจนกินไม่ได้ เนื่องจากเล็กกว่าตัวอื่นย่อมเสียเปรียบและแย่งกินไม่ทันเขา ดังนั้นควรจะสังเกตดูว่า ตัวใหนมีนิสัยไม่ดี ชอบรังแกตัวอื่นหรือมีขนาดโตกว่าตวอื่นก็ควรแยกเสีย จัดให้กินต่างหาก การคอยดูแลอยู่เสมอนั้น จะทำให้ไก่ได้กินอาหารอย่างทั่วถึง เป็นต้นว่า ตอนเย็นไก่เข้านอนแล้ว ใช้มือคลำดูที่กระเพาะ ไก่ตัวใดมีอาหารเต็มแสดงว่าไก่ตัวนั้นอิ่ม แต่ถ้ากระเพาะแห้งแสดงว่าไก่ตัวนั้นกินอาหารไม่อิ่ม
5. ให้กินอาหารตรงเวลาสม่ำเสมอ การให้อาหารสม่ำเสมอนั้น จะทำให้ไก่มีสุขภาพดีขึ้นไก่จะเจริญเติบโตเร็ว ไก่เมื่อถึงเวลากินอาหารมันจะรู้ด้วยสัญชาติญาณของมัน บางครั้งมันจะร้องเสียงดังและถี่ขึ้น ดังนั้นเราควรจะรีบให้อาหารทันที อย่าให้คลาดเวลาเป็นอันขาด
6. ควรเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด การเอาใจใส่ในการเลี้ยงไก่ มีค่าเท่ากับการให้อาหารเหมือนกัน อาหารทำให้ไก่เจริญเติบโต ร่างกายแข็งแรง ความเอาใจใส่ก็เช่นเดียวกัน ถ้าเอาใจใส่ดูแลให้ดี ก็จะทำให้ ไก่เจริญเติบโตเร็ว แข็งแรงปราศจากเชื้อโรคมาเบียดเบียน
7. การให้อาหารจะถือตามหลักตำราเถรตรงไม่ได้ การให้อาหารจะยึดถือ ตามทฤษฎี เป็นหลักเสมอไปไม่ได้ เพราะอาหารบางชนิด ร่างกายของสัตว์มีอยู่แล้ว ถ้าเราให้กินตามหลักวิชา จะทำให้สัตว์มีอาหารมากเกินความต้องการ เพราะฉนั้นจะต้องเปลี่ยนแปลง บางสิ่งบางอย่างตามความเหมาะสม ทั้งนี้ต้องคอยสังเกตและแก้ไขอยู่เสมอ ฉะนั้นหลักทฤษฎีและการปฏิบัติ จึงไม่ตรงกันเลยทีเดียว การปฏิบัติย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสม ตำราจึงถือเป็นคู่มือที่เราจะยึดถือเป็นหลักเท่านั้น ส่วนการจะให้ผลอย่างแท้จริงและถูกต้องนั้น จะต้องอาศัยการปฏิบัติเป็นหลักสำคัญ เพราะฉะนั้นการเลี้ยงสัตว์ที่จะได้ผลดี ย่อมขึ้นกับการปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ ส่วนทฤษฏีเป็นแนวทางเท่านั้น
อาหารดังกล่าวจัดเป็นพวกๆดังนี้
1. น้ำ เป็นอาหารจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต น้ำช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยในการดูดซึม เป็นตัวนำอาหารไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย และช่วยในการรักษาระดับความร้อนในร่างกาย แม้แต่การผลิตไข่น้ำก็ช่วย เพราะไข่ไก่มีน้ำอยู่ประมาณ 85 % ในไข่แดงมีน้ำประมาณ 49 % จึงเห็นได้ว่าน้ำจะขาดเสียไม่ได้สำหรับสิ่งมีชีวิต
2. แร่ธาตุ ในร่างกายประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ เป็นต้นว่า แคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียมคลอไรด์ แมงกานิส ไอโอดีน แมกนีเซียม สังกะสี โบรอน ทองแดง และเหล็ก แต่มีธาตุสำคัญที่ขาดไม่ได้ คือ
– แคลเซียม เป็นส่วนประกอบสำหรับเสริมสร้างกระดูก สร้างไข่ ถ้าไก่ขาดแร่ชนิดนี้มักจะเป็นโรคกระดูกอ่อน ไข่เปลือกอ่อน อ่อนแอไม่สมบูรณ์ แร่ชนิดนี้ได้มาจากเปลือกหอย หินปูน ควรมีเปลือกหอยทิ้งเอาไว้ให้ไก่จิกกินหรือจะเพิ่มในสูตรอาหารก็ได้

– ฟอสฟอรัส เป็นแร่ธาตุช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรง ธาตุนี้ทำงานร่วมกับธาตุหินปูนและเปลือกหอย ควรให้มีในอาหารไก่สัก 1 %
– เกลือ ควรใส่ในถาดอาหารไก่สัก 1 %
3. โปรตีน ได้จากปลาป่น เนื้อป่น กากถั่ว กากมะพร้าว ในผักต่างๆ ใบกระถิน เม็ดทานตะวัน หางนมผง อาหารโปรตีนทำให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง สร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ ควรมีโปรตีน 15 % ในสูตรอาหาร
4. คาร์โบไฮเดรท เป็นอาหารที่สร้างพลังงาน และความร้อน ทำให้ไก่อ้วน มีมากในอาหารจำพวกรำ ปลายข้าว ข้าวโพด
5. ไขมัน ทำให้เกิดพลังงานและความร้อน มีในเมล็ดพืชต่างๆ และน้ำมันจากพืชและสัตว์
6. ไวตามิน เป็นอาหารจำพวกสร้างความเจริญเติบโต แข็งแรง ในอาหารไก่ควรมีไวตามินจำพวก เอ.ดี. มากเป็นพิเศษ มากกว่าไวตามินชนิดอื่นๆ
– ไวตามินเอ มีอยู่ในพืชและหญ้าสด น้ำมันตับปลา ใบกระถิน ข้าวโพดสีเหลือง ช่วยในการผลิตไข่ สร้างความต้านทานเชื้อโรค ในจำนวนไก่ 100 ตัว ต้องการไวตามินประจำวันจากข้าวโพดสีเหลือง 12.7 กิโลกรัม หรือจากผักสดประมาณ 1 กิโลกรัม
– ไวตามินดี ไวตามินชนิดนี้ได้รับจากแสงแดดโดยตรง ไก่ต้องการไวตามินดี เพื่อช่วยในการย่อยแคลเซียม และฟอสฟอรัสในอาหาร ถ้าขาดไวตามินดีเปลือกไข่จะบอบบางและไข่หลายใบจะฟักไม่เป็นตัว
– ไวตามินจี หรือ โรโบฟลาวิน ได้จากตับ นมผง หางนมผง ไบอัลฟัลฟ่าป่า ใบกระถิน ปลาป่น เศษเนื้อ และเมล็ดพืชบางจำพวก ช่วยในการฟักไข่ ถ้าไก่ขาดไวตามินชนิดนี้ จะฟักไม่ได้ผล
วิธีให้อาหาร
การให้อาหารไก่มีหลายวิธีด้วยกัน ให้เลือกเอาตามความเหมาะสม ภาชนะที่ใส่อาหารไก่ ควรทำเป็นรางยาวให้ไก่กินได้ทั้งสองข้าง มีที่ป้องกันไม่ให้ไก่เข้าไปคุ้ยเขี่ยได้ การให้อาหารไก่ให้ 2 เวลา คือ เช้าและเย็น หรือจะให้มากกว่านี้ก็ได้เพราะไก่ชอบกินจุกจิก วิธีให้อาหาร
1. อาหารหยาบล้วนๆ คือให้ข้าวเปลือก ข้าวโพดบดหยาบอย่างเดียว
2. อาหารป่น+อาหารหยาบ ให้ข้าวเปลือก ข้าวโพดบดหยาบตอนเช้าและเย็น และมีอาหารป่นตลอดวัน อาหารป่นคืออาหารชนิดผสมเข้าด้วยกัน
3. อาหารป่นล้วนๆ ให้กินแบบอาหารป่นแห้ง หรือ ป่นเปียก คลุกน้ำหรืออาหารเหลวๆ ที่มีคุณค่าทางอาหาร
การเลี้ยงลูกไก่
1. เครื่องกก คือเครื่องทำให้เกิดความร้อนเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ลูกไก่เหมือนกกด้วยแม่ เครื่องกกนี้จะใช้ไฟหรือใช้ตะเกียกก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม ความร้อนที่ลูกไก่ต้องการ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 4 อาทิตย์ ระหว่าง 90-95 องศาฟาเรนไฮท์ และค่อยๆลดลงอาทิตย์ละ 4 องศา จนถึง 80-85 องศาฟาเรนไฮท์ ถ้าอากาสหนาวควรจะกกต่อไปสัก 1-2 อาทิตย์
2. อาหาร เมื่อไก่แรกเกิดไม่ควรจะให้อาหารทันที เพราะมันมีอาหารสำรองอยู่แล้ว สัก 2-3 วันจึงค่อยให้อาหารละเอียด ใส่ภาชนะตั้งให้กินตลอดเวลา แต่ให้ครั้งละน้อยๆให้บ่อยๆ ถ้าให้มากลูกไก่จะกินมากจนเกินน้ำย่อยทำงาน จะเป็นอันตรายแก่ลูกไก่ได้
3. น้ำสะอาด ตั้งให้กิน
การเลี้ยงลูกไก่ทั่วๆไป
การเลี้ยงดูอาทิตย์แรก
1. เมื่อลูกไก่ขนแห้ง เอาออกจากเครื่องกกหรือแม่ไก่ ตั้งน้ำและกวาด ทรายให้กิน วันรุ่งขึ้นตั้งอาหารให้กิน
2. ใช้นมสดผสมให้กินครึ่งต่อครึ่ง ถ้ามีนมสด
3. ทำรางอาหารยาวรางละประมาณ 1 ฟุต วางไว้ห่างๆ เพื่อให้ลูกไก่กระจายกิน ไม่ต้องแย่งกัน
4. ควรจัดที่ลูกไก่ให้เพียงพอ อย่าให้คับแคบจนเกินไป
5. ทำการฉีดวัคซีนป้องกัน โรคนิวคลาสเซิล และตรวจโรคอุจจาระขาว โดยการทำของสัตวแพทย์
การเลี้ยงดูอาทิตย์ที่ 2
การเลี้ยงดูในระยะนี้ ก็ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษเช่นเดียวกัน เพราะไก่ยังไม่แข็งแรง มันจะตายในระยะนี้เสมอ การเลี้ยงดูก็ให้อาหารที่จะสร้างกำลังให้แก่ลูกไก่ คือ
1. การให้กินอาหารป่นตลอดเวลา ให้กินผักสดวันละ 1-2 ครั้ง
2. ตอนเย็นควรให้อาหารหยาบบ้าง
3. เครื่องกกควรลดความอุ่นลง ในระยะนี้ควรจะแยกลูกไก่ เพื่อไม่ให้แออัดจนเกินไป
4. หมั่นทำความสะอาดพื้นกรงขัง ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อฉีดหรือพ่น และเปลี่ยนที่รองพื้นบ่อยๆ พื้นสกปรกจะทำให้เกิดเชื้อโรคได้
5. ให้ลูกไก่ได้รับแสงแดดเช้าๆอยู่เสมอ การได้รับแสงแดดอ่อนๆจะทำให้ลูกไก่กระปรี้กระเปร่าขึ้น
การเลี้ยงดูอาทิตย์ที่ 3-6
ระยะนี้ลูกไก่จะแข็งแรงขึ้น พอจะดูได้ว่าตัวไหนแข็งแรงและไม่แข็งแรง ตัวที่ไม่แข็งแรงควรแยกออกหรือทำลายเสีย การเลี้ยงดูคือ
1. อาทิตย์ที่ 3 ลดความอุ่นลง พออาทิตย์ที่ 5 ไม่ต้องให้เลย
2. ให้กินอาหารป่นอยู่ตลอดเวลา
3. ให้กินเปลือกหอย โดยจัดไว้ต่างหาก
4. จะเพิ่มอาหารหยาบขึ้นกว่าเดิมก็ได้ เพราะลูกไก่แข็งแรงพอแล้ว
5. ควรขลิบจงอยปากออกเล็กน้อย กันจิกกันเอง จะทำให้เกิดบาดแผลรักษาหายยาก
6. เมื่อเห็นว่าตัวไหนถูกจิกควรแยกออก เพราะมันจะถูกจิกซ้ำ กลายเป็นแผลรักษายาก
การเลี้ยงดูอาทิตย์ที่ 7-16
ในระยะนี้เป็นระยะไก่รุ่น ไก่แข็งแรงดีแล้ว การเลี้ยงดู
1. แยกลูกไก่ตัวผู้และตัวเมียออกจากกัน
2. ให้น้ำและอาหารกินพอเพียง
3. มีที่บังแดดและลม เพราะไก่ถูกลมโกรกจะเป็นหวัดได้ง่าย
4. รักษาโรงเรือนให้สะอาดอยู่เสมอ
การเลี้ยงไก่รุ่น
1. ลักษณะที่ควรคัดออก
– ขนดกยุ่งและด้าน ขนงอกช้า โตช้า
– หน้าซีด ขาวเผือด อมโรค ตาขุ่นและลึก
– หงอนและเหนียงเล็ก หด สีแดงช้ำๆเป็นขุย
– อ่อนแอโตช้า
– รูปร่างไม่ได้ส่วน ลำตัวโพลก
– หน้าแข้งและปากสีขาวซีด
– อ่อนแอ หัวยาวแหลมคล้ายหัวงู หรือหัวกา กระดูกหน้าอกคด
2. ลักษณะที่ควรเก็บไว้
– ขนดกลื่นเป็นมัน ขนงอกเร็วและโตเร็ว
– หน้าตาสดใส ตาโต ตาไม่เด่นนูน ไม่จมลึก
– หงอนและเหนียงโตงามสีแดงสดเงาเป็นมัน
– แข็งแรง ว่องไว สมบูรณ์ เคลื่อนไหวเป็นปกติ
– ลำตัวลึกและตัน รูปร่างสมส่วนใหญ่เนื้อหนังดี
– หนังแข็ง ปากสีเหลืองเข้ม
– แข็งแรง ลักษณะตรงตามพันธุ์ หัวสวยสง่า
– กระดูกหน้าอกตรง
การเลี้ยงไก่รุ่น
ไม่ควรจะให้อยู่แออัด นอกจากเป็นการเสียสุขภาพแล้ว ยังแย่งอาหารกันกินด้วย เนื้อที่สำหรับไก่รุ่นไม่ควรเกิน 5 ตัว ต่อ 1 ตารางเมตร เมื่อจะนำไก่ขึ้นขังกรง ควรจะถ่ายพยาธิเสียก่อน การไม่มีพยาธิในตัวของมัน จะทำให้เจริญเติบโตเร็วและไข่ดก
อาหาร ควรเป็นอาหารที่มีส่วนสัดครบถ้วน ให้ผักสดกินตลอดเวลา ให้อาหารโปรตีน ไขมัน และวิตามินอย่างครบถ้วน
ข้อมูลจาก www.gaichon.com , www.kaichon.com

ADS Fix3
ADS Fix5