ดูถ่ายทอดสด "อัพเดตทุกเรื่องราวข่าวสารวงการไก่ชน ดูถ่ายทอดสดไก่ชน ครบทุกสนาม ทีเด็ดไก่ชน อัพเดทข่าวไก่ชนทุกประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งความรู้สาระเรื่องที่เป็นประโยชน์ผู้เลี้ยงไก่ชน"

ไฮไลท์ไก่ชนล่าสุด

B1
ADS B2
ADS B3
ADS B4
หน้าหลัก บทความไก่ชน การเริ่มต้นเลี้ยงไก่ชน สำหรับมือใหม่ อย่างละเอียด

การเริ่มต้นเลี้ยงไก่ชน สำหรับมือใหม่ อย่างละเอียด

วันอังคาร 23 มิถุนายน 2563 ยอดเข้าชม 86
SHARE ON:

เริ่มเลี้ยงไก่แบบมือใหม่
การเริ่มต้นเลี้ยงไก่ชน สำหรับมือใหม่ อย่างละเอียด

การเริ่มต้นเลี้ยงไก่ชนการเริ่มต้นเลี้ยงไก่ สำหรับคนที่ไม่มีความชำนาญ ไม่เคยเลี้ยงไก่มาย่อมจะเป็นเรื่องหนักใจอยู่มิใช่น้อย แต่สำหรับผู้ที่เคยเลี้ยงมาแล้วจะไม่รู้สึกลำบากใจเท่าใดนัก แต่อย่างไรก็ดี ย่อมจะขึ้นกับหลักดังได้กล่าวข้างต้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะต้องมีทุนด้วย มิฉะนั้นจะพบกับความลำบากหลายประการ เป็นต้นว่าโรงเรือน เงินสำหรับซื้อไก่ และอาหารไก่ การเริ่มต้นเลี้ยงไก่ เริ่มได้หลายทาง คือ


1. ซื้อไก่มาฟักเอง หรือจ้างเขาฟัก
2. ซื้อลูกไก่คัดเพศแล้ว หรือลูกไก่คละเพศมาเลี้ยง ถ้าต้องการแม่ไก่ 10 ตัว จะต้องซื้อลูกไก่คละเพศมาเลี้ยงเป็นจำนวน 25 ตัว
3. ซื้อไก่รุ่นอายุประมาณ 8-10 อาทิตย์มาเลี้ยง
4. ซื้อแม่ไก่ไข่มาเลี้ยง การซื้อแม่ไก่มาเลี้ยงเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับผู้ไม่ค่อยจะชำนาญในการเลี้ยงไก่ เพราะจะพบอุปสรรคน้อย ให้ผลเร็ว จะทำให้เกิดการเอาจริงเอาจังขึ้น


วิธีเลี้ยง
1. แบบเลี้ยงปล่อย เลี้ยงแบบปล่อยให้หากินเอง เช่น ใต้ถุนบ้าน ลานบ้าน มักนิยมเลี้ยงตามชนบท โดยให้กินเศษอาหาร คุ้ยเขี่ยหากินเอง การเลี้ยงแบบนี้ส่วนมากถือเป็นงานอดิเรกเท่านั้น และมักจะมีอันตรายจากสัตรูและโรค ซึ่งอาจติดต่อโรคได้โดยง่าย
2. เลี้ยงแบบครึ่งปล่อยครึ่งกัก การเลี้ยงแบบนี้ คือเลี้ยง ในลาน แต่มีรั่ว มีเล้าให้อยู่อาศัย ให้ออกกำลังกายได้ การเลี้ยงแบบนี้จะต้องให้อาหารพอดี
3. เลี้ยงแบบขึ้นคอน ไม่มีลาน ไก่อยู่บนพื้นมีคอนให้นอน มีรางอาหาร รางน้ำอยู่ในเล้าเสร็จ อาหารจะต้องหามาให้ โดยให้กินอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง การเลี้ยงแบบนี้ ควรจะให้น้ำมันตับปลาด้วย เพื่อให้ไก่แข็งแรง โตเร็ว
โรงเรือน
โรงเรือนโดยทั่วไป ควรมีลักษณะดังนี้
1. กันลม แดด ฝนได้ดี
2. อากาศ ระบายได้สะดวก เย็นสบาย ไม่อับ มีกันสาดกันฝน
3. ป้องกันศัตรูต่างๆได้ดี
4. รักษาความสะอาดง่าย ไม่เป็นที่น้ำขัง พื้นไม่แฉะ ไม่รกรุงรัง
5. ห่างจากที่ชุมนุมชน พอสมควร มีการขนส่งสะดวก อาหารหาง่าย
แบบของโรงเรือน
1. แบบเพิงหมาแหงน เป็นแบบประหยัดและสร้างง่ายที่สุด แต่ถ้าหันหน้าไปทางแนวของมรสุม ฝนจะสาดเข้ามา ควรหันทิศทางให้ดี
2. แบบหน้าจั่ว แบบนี้กันแดดและฝนได้ดี แต่สร้างยากกว่า ค่าวัสดุ และค่าแรงสูงกว่าแบบเพิงหมาแหงน
3. แบบจั่วสองชั้น เปลืองแรงงาน และสร้างยากกว่าแบบหน้าจั่วธรรมดา แต่อากาศถ่ายเทได้ง่าย
4. แบบจั่วกลาย แบบนี้จะดีกว่า เพราะระบายอากาศได้ดีกว่า กันฝนและค่าก่อสร้างถูกกว่า

พื้นคอก
พื้นคอกสำหรับไก่ จะเป็นพื้นดินธรรมดาหรือดินปนทรายก็ได้ ถ้าเป็นธรรมดา ทำความสะอาดยาก มักจะเปียกแฉะ แต่อากาศเย็นสบาย ควรโรยด้วยปูนขาวบ้าง ในอัตรากิโลกรัมละ 4-10 ตารางเมตร เพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรค สำหรับพื้นคอนกรีต ทำความสะอาดง่าย แต่เปลืองเงินมาก
โรงเรือนสำหรับไก่เล็ก
ควรสร้างให้ดีกว่าโรงเรือนไก่ใหญ่ เพราะลูกไก่ยังมีสุขภาพอ่อนแอ ต้องการความดูแลมาก ต้องการความอบอุ่น ป้องกันศัตรูมาทำร้าย ถ้าพื้นคอกเป็นซีเมนต์จะสะดวกและทำความสะอาดได้ง่าย รักษาความสะอาดให้แห้งอยู่เสมอ ฟากของโรงเรือนนั้นข้างล่างควรจะปิดทึบเพื่อป้องกันศัตรูและให้ความอบอุ่น ส่วนข้างบนควรโปร่งมีลวดตาข่าย หรือหน้าต่างบานเลื่อน ปิด-เปิดกันละอองฝนได้ ลูกไก่ควรเลี้ยงควรเลี้ยงอยู่ในโรงนี้ 1-2 เดือน จึงนำไปยังโรงเลี้ยงไก่รุ่นต่อไป
โรงเรือนเลี้ยงไก่รุ่น
คล้ายกับเลี้ยงไก่เล็ก แต่กว้างกว่า การระบายอากาศมากกว่า พื้นคอกจะเป็นดินหรือคอนกรีตก็ได้ ถ้าเป็นคอนกรีตจะสะดวกกว่า พื้นที่เฉลี่ยสำหรับไก่รุ่นอายุ 2-3 เดือน เฉลี่ยตารางเมตรละ 8-10 ตัว และไก่อายุ 3-5 เดือน ตารางเมตรละ 5-6 ตัว ในโรงไก่รุ่นควรมีภาชนะใส่น้ำและรางอาหารเพิ่มขึ้น ไม่มีเครื่องกก มีคอนให้นอนสูงจากพื้นประมาณ 40-60 เซนติเมตร ไม่ควรให้ถี่จนเกินไป จะทำให้ไก่เสียสุขภาพ

การรักษาคุณภาพอาหารไก่
1. เมื่อผสมอาหารให้ไก่ ไม่ควรผสมมากเกินไป เพราะจะเสื่อมคุณภาพถ้าเก็บไว้นานเกินไป ควรผสมให้กินหมดภายใน 3-5 วัน เมื่อหมดแล้วจึงค่อยผสมใหม่ จะได้อาหารที่มีคุณภาพตามที่เราต้องการอยู่เสมอ
2. อาหารที่ผสมไว้ ควรจะเก็บให้ดี สะอาดเรียบร้อย อย่าให้แดดส่องนานๆ หรือเก็บไว้ใกล้ความร้อน จะทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพ หรือเก็บไว้ในที่อับเกินไป และชื้นแฉะไม่มีอะไรรองรับ อาหารก็จะเสียและเสื่อมคุณภาพได้
3. อาหารที่ซื้อมาจากร้านค้า ควรจะพิถีพิถันสักหน่อย ควรตรวจดูว่าอาหารเก่า ใหม่แค่ไหน ถ้าเห็นว่าเก่าเกินไป หรือกลิ่นผิดปกติ ไม่ควรซื้อไปให้ไก่กิน
ในเรื่องอาหารไก่นี้ควรเอาใจใส่เป็นพิเศษไม่ว่าจะเป็นตามสูตรหรืออาหารเสริม ถ้าให้ไม่ถูกต้องก็จะเป็นผลร้ายขึ้นได้ โดยเฉพาะคุณภาพของอาหาร ควรจะระวังให้หนัก ถ้าอาหารมีคุณภาพไก่กินเข้าไปก็จะเติบโตเร็ว คุ้มค่ากับเงินทองที่เสียไป แต่ถ้าให้อาหารที่มีคุณภาพต่ำ ผลร้ายจะเกิดขึ้นทันที

การฟักไข่
วิธีฟักไข่แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
1. ฟักด้วยใช้แม่ไก่กก
2. ฟักด้วยเครื่องฟัก โดยการซื้อเครื่องฟักมาฟัก มีทั้งเครื่องฟักที่ใช้ไฟฟ้า และเครื่องฟักที่ใช้ความร้อนจากแสงสว่างของตะเกียง
การฟักไข่ด้วยตนเอง
การฟักไข่ด้วยตนเอง โดยใช้ ตู้ฟัก เป็นประโยชน์สำหรับนักเลี้ยงไก่ เพราะจะได้เกิดความชำนาญในการฟัก ประหยัดเงินที่จะซื้อลูกไก่อื่นมาเลี้ยง ถ้าเราฟักเองก็จะได้ลูกไก่เลี้ยงจากพันธุ์ที่ดีและแน่นอน


วิธีเลือกไข่สำหรับฟัก
เป็นเรื่องสำคัญมากเพราะลูกไก่จะฟักออกเป็นตัว หรือสุขภาพของลูกไก่จะเป็นอย่างไร ตลอดถึงเปอร์เซนต์การออกเป็นตัวของไก่ ย่อมขึ้นอยู่กับการเลือกไข่ที่จะฟักทั้งสิ้น หลักของการเลือกไข่ฟักมีดังนี้
1. เลือกไข่จากพ่อ-แม่ที่แข็งแรงว่องไว และไม่มีโรค เพื่อลูกที่เกิดมาจะได้แข็งแรงไม่อ่อนแอ เลี้ยงง่าย
2. เลือกไข่จากพ่อ-แม่ไก่ที่ดี จากพันธุ์ ที่ดีเสมอมา
3. ไข่ที่ใช้ฟักควรจะมีรูปร่างปกติ ไม่บิดเบี้ยว ไม่กลม ไม่ยาวจนผิดปกติ เปลือกไข่เรียบไม่ขรุขระ ไม่มีรอยร้าว และไม่แตกง่ายผิดไข่ธรรมดา ไข่ที่สกปรก หรือเปื้อนไม่ควรใช้ฟัก


วิธีรักษาไข่สำหรับฟัก
ไข่สำหรับฟักควรจะรักษาให้ดีมิฉะนั้นเชื้ออาจจะตายและฟักไม่ออก วิธีรักษาไข่ทำดังนี้
1. เก็บไข่ไว้ในที่เย็น ปล่อยให้อากาศผ่านได้สะดวก ที่เก็บต้องไม่มีกลิ่นเหม็น ถ้าเก็บไว้ในอากาศร้อน เชื้อที่เริ่มเป็นตัวอาจตายเสียก่อนที่จะนำไปฟัก ไข่ที่มีเชื้อนั้น จะเห็นได้ว่าไข่บางฟองที่เราต่อยจนแตกจะเห็นเส้นเลือดอยู่ในไข่นั้น แสดงว่าไข่มีเชื้อแล้ว
2. ภาชนะที่เก็บไข่ ควรจะใช้ลังเป็นรูปกะบะสี่เหลี่ยมตื้นๆ พอวางไข่ตามขวางได้เพียงชั้นเดียว ที่กั้นกะบะเอาแกลบหรือขี้เลื้อยแห้งๆรอง เพื่อกันไม่ให้ไข่แตก
3. พยายามกลับไข่วันละ 2 ครั้ง กลับตอนเช้า - เย็นทุกๆวัน จนกว่าจะถึงกำหนดฟัก การกลับไข่ควรใช้มือกลิ้งให้ไข่กลับ การกลับไข่มีความจำเป็นมาก เพราะถ้าไม่กลับ เชื้อลูกไก่ในไข่อาจจะเกาะติดกับเปลือกไข่และตายก็ได้
4. ก่อนที่จะเก็บไข่เข้าฟัก ควรเลือกไข่เสียก่อน โดยเอาไข่ที่จะไม่ฟักออกเสีย เก็บไว้แต่ไข่ที่เลือกแล้วว่าจะทำการฟัก


ระยะที่ควรจะฟักไข่
ควรฟักไข่ในฤดูหนาวดีกว่าการฟักในฤดูร้อน ไข่ใหม่ฟักออกดีกว่าไข่เก่า ถ้าไข่ยิ่งใหม่เปอร์เซนต์ที่จะออกมาเป็นตัวมีมากขึ้น ไม่ควรเก็บไข่ไว้นานๆ อย่างมากไม่ควรเก็บไว้เกิน 10 วันในฤดูร้อน และไม่ควรเกิน 14 วันในฤดูหนาว ความจริงแล้วไม่ควรให้เกิน 6 วัน ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการพ้นอายุฟัก เวลาเก็บไข่ออกจากรังควรใช้ดินสอดำเขียนวันที่ฟักไว้ด้วย
กำหนดฟักไข่ออกเป็นตัว
ไก่ อย่างเร็ว 19 วัน อย่างช้า 23 วัน ธรรมดา 21 วัน
เป็ด อย่างเร็ว 26 วัน อย่างช้า 32 วัน ธรรมดา 28 วัน
***น อย่างเร็ว 27 วัน อย่างช้า 33 วัน ธรรมดา 30 วัน
ไก่ต๊อก ไก่งวง อย่างเร็ว 26 วัน อย่างช้า 30 วัน ธรรมดา 28 วัน
กำหนดระยะการฟักออกเป็นตัวนี้ ไม่ว่าจะฟักด้วยเครื่องหรือฟักด้วยแม่ไก่ ย่อมจะปรากฏผลเสมอกัน เมื่อถึงกำหนดมันจะออกมา ถ้าตัวไหนแข็งแรงก็จะออกมาก่อน ถ้าตัวที่อ่อนแอก็จะออกทีหลัง จากตัวแรกถึงตัวสุดท้ายอาจจะ***งกัน 24-36 ชั่วโมงก็ได้
ฤดูที่เหมาะสำหรับฟักไข่
ฤดูที่เหมาะที่สุดก็คือต้นฤดูหนาว เริ่มต้นราวเดือน พฤศจิกายนถึงเดือนกุมพาพันธ์ ในระหว่างนี้อากาศเย็น แม่ไก่จะไข่ดกกว่าฤดูอื่น ทำให้ได้ไข่ฟักจำนวนมาก ผู้ที่ฟักเป็นอาชีพหรือต้องการจำนวนมากๆ ควรจะเริ่มฟักในฤดูนี้ เหมาะกว่าฤดูอื่นๆ


ประโยชน์ของการฟักไข่ด้วยแม่ไก่
1. สะดวก ประหยัดเงิน
2. ง่ายเพราะการฟักไข่ โดยวิธีนี้ ปล่อยธุระไว้ให้แม่ไก่แทบทั้งหมด
3. การหัดเลี้ยงใหม่ๆหรือผู้ที่ยังไม่ชำนาญในการฟักไข่ การฟักด้วยแม่ไก่จะให้ลูกไก่มากกว่าฟักด้วยเครื่องฟัก
4. ลูกไก่ที่ฟักด้วยแม่ไก่จะแข็งแรงดี เป็นโรคน้อย และเลี้ยงรอดมากกว่าฟักด้วยเครื่อง


วิธีเลือกแม่ไก่สำหรับฟัก
1. เลือกจากแม่ไก่ที่แสดงว่าอยากจะฟัก คือ กกอยู่ในรัง แม้จะออกข้างนอกก็กลับเข้าไปในรังอีก
2. ถ้าลักษณะอย่างอื่นดีเหมือนกัน ให้เลือกแม่ไก่ที่มีรูปร่างใหญ่ดีกว่าที่มีรูปร่างเล็ก เพราะแม่ไก่ที่รูปร่างใหญ่จะฟักไข่ได้มากกว่า
3. เลือกแม่ไก่ที่มีรูปร่างปกติ สุขภาพสมบูรณ์ ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
4. เลือกแม่ไก่ที่เคยฟักไข่มาแล้วจะดีกว่าแม่ไก่สาว
5. เลือกแม่ไก่ที่เคยฟักไข่ออกดีมาแล้ว และเลี้ยงลูกดี
6. เลือกแม่ไก่ที่มีนิสัย ใจคอดี ขยัน และรักลูกมาก
7. เลือกแม่ไก่ตัวที่เชื่อง เพราะจะมีนิสัยฟักไข่ดีกว่า

ADS Fix3
ADS Fix5