ดูถ่ายทอดสด "อัพเดตทุกเรื่องราวข่าวสารวงการไก่ชน ดูถ่ายทอดสดไก่ชน ครบทุกสนาม ทีเด็ดไก่ชน อัพเดทข่าวไก่ชนทุกประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งความรู้สาระเรื่องที่เป็นประโยชน์ผู้เลี้ยงไก่ชน"

ไฮไลท์ไก่ชนล่าสุด

B1
ADS B2
ADS B3
ADS B4
หน้าหลัก บทความไก่ชน “ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง” เสี่ยงมะเร็งเต้านม จริงหรือ?

“ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง” เสี่ยงมะเร็งเต้านม จริงหรือ?

วันพุธ 16 กุมภาพันธ์ 2565 ยอดเข้าชม 159
SHARE ON:

 

 

อาหารที่เรารับประทานกันในชีวิตประจำวัน มีส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเป็นจำนวนมาก เช่น เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ ซอสปรุงรส เต้าเจี้ยว เป็นต้น ดังนั้นคงยากที่จะเลี่ยงอาหารเหล่านี้ แต่ถ้าเราเลี่ยงไม่ได้ แล้วการรับประทานทุกๆวันจะอันตรายกับเต้านมสาวๆ อย่างเราหรือไม่?

“ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง” เสี่ยงมะเร็งเต้านม จริงหรือ
แพทย์หญิง ตรีทิพย์ เกิดสินธ์ชัย แพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมเต้านม โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ระบุว่า มีคนไข้จำนวนมากที่ถามหมอมาเรื่องน้ำเต้าหู้ หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองว่าจะเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งจริงหรือ เนื่องจากถั่วเหลืองมีสารที่ชื่อว่า isoflavones ซึ่งมีฤทธิ์เป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนและจากงานวิจัยที่ทดลองในหนูพบว่าสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมได้ แต่จากข้อมูลในปัจจุบัน ถั่วเหลืองมีเอสโตรเจนที่เป็นเอสโตรเจนจากพืช (Phytoestrogens) ดังนั้นในมนุษย์ยังไม่มีงานวิจัยไหนที่ชี้ชัดเรื่องเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านม ในทางกลับกันบางงานวิจัยพบว่าหากรับการทานในปริมาณที่มากขึ้น อาจจะยังช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมอีกด้วย และสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม การรับประทานถั่วเหลือง มีแนวโน้มช่วยลดอัตราการตายจากมะเร็งเต้านม


รับประทาน “ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง” ปริมาณเท่าไหร่ดี 
โดยปกติตามคำแนะนำของ FDA แนะนำให้รับประทานถั่วเหลือง 15-25 กรัม/วัน หรือเทียบเป็นปริมาณเต้าหู้ประมาณ 1-2 ถ้วย หรือน้ำเต้าหู้ประมาณ 1-2 แก้ว ทั้งนี้คนทั่วไปและคนไข้มะเร็งเต้านมสามารถรับประทาน น้ำเต้าหู้ และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ได้อย่างปลอดภัย และปริมาณที่แนะนำคือ เต้าหู้ประมาณ 1-2 ถ้วย หรือน้ำเต้าหู้ประมาณ 1-2 แก้ว 

ทั้งนี้ความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม มีหลากหลายปัจจัย ทั้งอายุ พันธุกรรม และพฤติกรรมการใช้ชีวิต การป้องกันที่ดีคือหมั่นสำรวจความผิดปกติของร่างกายและเต้านมสม่ำเสมอ หากพบสัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

 

 

 

 

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :แพทย์หญิง ตรีทิพย์ เกิดสินธ์ชัย แพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมเต้านม โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล

ภาพ :iStock

ADS Fix3
ADS Fix5