ดูถ่ายทอดสด "อัพเดตทุกเรื่องราวข่าวสารวงการไก่ชน ดูถ่ายทอดสดไก่ชน ครบทุกสนาม ทีเด็ดไก่ชน อัพเดทข่าวไก่ชนทุกประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งความรู้สาระเรื่องที่เป็นประโยชน์ผู้เลี้ยงไก่ชน"

ไฮไลท์ไก่ชนล่าสุด

B1
ADS B2
ADS B3
ADS B4
หน้าหลัก บทความไก่ชน อันตรายจาก “หมึกช็อต” อาหารทะเลดิบ เสี่ยงท้องร่วง-พยาธิ

อันตรายจาก “หมึกช็อต” อาหารทะเลดิบ เสี่ยงท้องร่วง-พยาธิ

วันอังคาร 15 กุมภาพันธ์ 2565 ยอดเข้าชม 150
SHARE ON:

 

 

อันตรายจาก “หมึกช็อต” อาหารทะเลดิบ เสี่ยงท้องร่วง-พยาธิ

แบ่งปันเกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพทั้งโรคภัยไข้เจ็บ วิธีออกกำลังกาย เคล็ดลับลดน้ำหนัก เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง อยู่กินของอร่อยไปได้อีกนาน ๆ


หลังจากมีกระแสในการกิน “หมึกช็อต” หรือ “หมึกชอต” โดยมีความหมายมาจากการนำหมึกสดๆ เอาหัวจุ่มลงไปในแก้วที่บรรจุน้ำจิ้มซีฟู้ด (ที่มาของคำว่า “ชอต” จากแก้วชอต) เพื่อให้หมึกโดน “ช็อต” ด้วยน้ำจิ้ม หมึกจะดูดเอาน้ำจิ้มซีฟู้ดเข้าตัว จากนั้นก็หยิบกินสดๆ โดยกัดทางส่วนหัวให้หมึกตาย แล้วค่อยกัดหรือหั่นส่วนลำตัวกินต่อ หรือหากหมึกตัวเล็กพอก็อาจจะเอาเข้าปากกินทั้งตัว โดยตอนที่กัดส่วนหัวอาจต้องลุ้นว่าตัวหมึกจะปล่อยน้ำหมึกสีดำออกมาด้วยหรือไม่

ถกสนั่น เมนูไวรัล "หมึกช็อต" จับหมึกเป็นๆ จุ่มน้ำจิ้มซีฟู้ด จะสงสารหรืออร่อยดี?
วิธีกินหมึกช็อตแบบนี้ เป็นที่ถกเถียงกันในสังคมถึงความเหมาะสมทั้งทางด้านจริยธรรมว่า การกินหมึกสดๆ เป็นๆ แบบนี้ หมึกจะรับรู้ถึงความเจ็บปวดหรือไม่ เป็นการทรมานสัตว์มากเกินไปหรือเปล่า รวมไปถึงความเหมาะสมทางด้านของโภชนาการว่าปลอดภัยต่อคนกินหรือไม่อีกด้วย

สารอาหารที่ได้จากปลาหมึก
หมึก หรือปลาหมึก เป็นหนึ่งสัตว์ทะเลที่เป็นอาหารที่มีแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับมนุษย์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นไอโอดีน ธาตุเหล็ก สังกะสี และแคลเซียม รวมถึงไขมัน ทั้งจากคอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน แม้จะอุดมไปด้วยไขมัน แต่ปลาหมึกก็มีโปรตีนสูง ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยสร้างความแข็งแรงแก่ร่างกาย ช่วยในการทำงานของกระดูก กล้ามเนื้อ และผิวหนัง และไขมันบางชนิดที่พบในปลาหมึกก็เป็นไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยเช่นกัน

อันตรายจาก “หมึกช็อต”
การรับประทานหมึกสดๆ อาจมีความเสี่ยงต่ออันตรายต่อสุขภาพในด้านต่างๆ ดังนี้

อาจพบโลหะหนักหลายชนิดที่สามารถตรวจพบในอาหารทะเล ไม่ว่าจะเป็นตะกั่ว สังกะสี แคดเมียม และทองแดง โดยเฉพาะแคดเมียม มักพบในปลาหมึกสายและปลาหมึกกระดองมากกว่าปลาหมึกกล้วย หากร่างกายได้รับแคดเมียมในปริมาณต่ำๆ จะไปสะสมในไต เช่นเดียวกับโลหะหนักอีกหลายชนิด หากร่างกายสะสมแคดเมียมมากเกินไป ในระยะยาวอาจทำให้เกิดโรคกระดูกโปร่งบางหรือกระดูกพรุน โดยจะไปรบกวนการทำงานของวิตามินดี แคลเซียม และคอลลาเจน ส่วนพิษเฉียบพลันของแคดเมียม หากได้รับปริมาณมากๆ ในคราวเดียว อาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เป็นตะคริว หรือท้องเสียอย่างแรงได้
อาจเสี่ยงต่อเชื้ออหิวาต์เทียม หรือวิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส (Vibrio parahaemolyticus) ที่สามารถตรวจพบได้ในอาหารทะเล และเป็นสาเหตุสำคัญของโรคท้องร่วง ท้องเสีย อาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรง อาจมีอาการปวดศีรษะและหนาวสั่นร่วมด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในช่วง 12-24 ชั่วโมงหลังจากกินอาหารทะเลเข้าไป
อาจเสี่ยงพยาธิตัวกลม อาทิ Anisakis, Pseudoterranova, Contracaeceum ที่สามารถก่อโรคในคนเราได้หากกินสดๆ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหลังกิน 1-2 ชั่วโมง อาทิ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ลักษณะคล้ายกับแผลในกระเพาะอาหาร อาหารเป็นพิษ ไส้ติ่งอักเสบ

วิธีกินหมึกให้ปลอดภัยต่อร่างกาย
เลือกแหล่งซื้ออาหารทะเลที่มั่นใจในความสะอาดและคุณภาพ
รับประทานแบบปรุงสุก 100% เท่านั้น ไม่กินกึ่งสุกกึ่งดิบ และไม่กินดิบ
หากจะกินหมึกดิบ ควรเป็นหมึกชนิดที่สามารถรับประทานดิบได้ และได้รับการเก็บรักษาในความเย็นต่ำเพื่อฆ่าพยาธิเรียบร้อยแล้ว (กรณีเดียวกันกับปลาดิบจากญี่ปุ่น)
ล้างทำความสะอาดก่อนทำมาปรุงอาหารทุกครั้ง
ไม่รับประทานมากจนเกินไป

 

 

 


ขอขอบคุณ

ข้อมูล :ศูนย์วิจัยโรคปรสิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี-pdrc SUT,ศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ ศูนย์ประสานงานสารนิเทศ สาขาเกษตรศาสตร์,พบแพทย์,โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์,หมอชาวบ้าน

ภาพ :iStock

ADS Fix3
ADS Fix5