ดูถ่ายทอดสด "อัพเดตทุกเรื่องราวข่าวสารวงการไก่ชน ดูถ่ายทอดสดไก่ชน ครบทุกสนาม ทีเด็ดไก่ชน อัพเดทข่าวไก่ชนทุกประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งความรู้สาระเรื่องที่เป็นประโยชน์ผู้เลี้ยงไก่ชน"

ไฮไลท์ไก่ชนล่าสุด

B1
ADS B2
ADS B3
ADS B4
หน้าหลัก บทความไก่ชน การเลี้ยงลูกไก่ ให้ปลอดภัยไม่เป็นอันตรายและอาหารที่เหมาะสม

การเลี้ยงลูกไก่ ให้ปลอดภัยไม่เป็นอันตรายและอาหารที่เหมาะสม

วันอังคาร 11 มกราคม 2565 ยอดเข้าชม 148
SHARE ON:

 

การเลี้ยงลูกไก่ ให้ปลอดภัยไม่เป็นอันตรายและอาหารที่เหมาะสม
  

เมื่อลูกไก่ออกจากไข่สามารถเดินได้แล้ว ลูกไก่อยู่ในช่วงอายุ 1-7 วัน ช่วงนี้ลูกไก่ยังอ่อนแอ และเป็นช่วงที่อันตรายมาก
การเลี้ยงลูกไก่อายุ 1-7 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่อันตรายไม่ควรให้แม่ไก่นำลูกออกมาเดินคุ้ยเขี่ยอาหาร ต้องกักขังแม่ไก่เอาไว้ แยกลูกไก่เอาไว้ในคอกอนุบาล ลูกไก่ที่แยกออกมานี้ต้องเลี้ยงและเอาใจใส่เป็นพิเศษ ให้ความอบอุ่นแก่ ลูกไก่ ด้วยการกก ทำได้หลายวิธี วิธีง่ายๆ คือ นำสุ่มมาครอบลูกไก่เอาไว้ เอาผ้าคุลมบนสุ่มและรอบๆ สุ่มเอาไว้ กลางคืนจุดตะเกียงน้ำมันก๊าดวางไว้ใกล้ๆ หรือจะใช้หลอดไฟขนาด 60-100 แรงเทียน ห้อยเอาไว้เหนือสุ่ม หรือใช้โคมไฟอ่านหนังสือตั้งไว้ข้างนอก เปิดไฟส่องไปในสุ่มไก่ให้ถูกตัวลูกไก่

อุณหภูมิเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าอุณหภูมิปกติ พอเหมาะ ลูกไก่จะกระจายวิ่งเล่น กินน้ำกินอาหาร ภายในสุ่มต้องปูพื้นด้วยแกลบ ขี้เลื่อย ฟางสับ ปูให้หนาประมาณ 5 เซนติเมตร เกลี่ยเรียบให้ทั่ว รางน้ำและอาหารต้องจัดเอาไว้เพื่อให้ลูกไก่หัดกิน ลูกไก่บางตัวกินน้ำไม่เป็น ควรจับปากลูกไก่นุ่มลงในน้ำ รางอาหารใส่รำละเอียด ควรใช้ถาดตื้นๆ กว้างๆ ให้อาหารทีละน้อยๆ ก่อน เพื่อให้ลูกไก่หัดจิกกิน ควรระวังอย่าให้ลมโกรกลูกไก่

 

การเลี้ยงลูกไก่ ให้ปลอดภัยไม่เป็นอันตรายและอาหารที่เหมาะสม

ในกรณีที่เลี้ยงไก่เอาไว้ไม่กี่แม่ อาจให้แม่ไก่กกลูกเองก็ได้ เมื่อลูกไก่ออกจากไข่หมดแล้ว ให้ย้ายทั้งแม่และลูกไก่ลงมาขังรวมกันในสุ่ม ครอบเอาไว้ทั้งแม่และลูกประมาณ 5-10 วัน เพื่อให้ลูกไก่แข็งแรงดี ช่วงนี้ควรให้อาหาร เช่น รำ ปลายข้าว น้ำสะอาด ตั้งไว้ในสุ่มตลอดเวลา เมื่อได้ประมาณ 2 อาทิตย์ ให้ปล่อยแม่ไก่พาลูกไปหาอาหารกินตามธรรมชาติ อย่าปล่อยไก่ออกไปในตอนเช้านัก

นอกจากจะเกิดอันตรายแล้วยังทำให้ลูกไก่เป็นหวัดไม่สบาย ต้องรอให้น้ำค้างแห้งเสียก่อนค่อยปล่อยออกไป นั่นหมายความว่าแดดออกแล้วนั่นเอง แสงแดดอุ่นๆ ทำให้ลูกไก่รู้สึกสบายตัวมาก ควรปล่อยแม่และลูกไก่ไปในที่ลานกว้างๆ กลางแจ้งมีแสงแดดส่องทั่วถึง ถ้าเป็นลานหญ้าได้ยิ่งดี เพราะลูกไก่จะได้วิ่งไล่จับแมลง เป็นการหัดหาอาหารกินเองตามธรรมชาติ และออกกำลังกายไปในตัวด้วย

การให้อาหารอีกวิธีหนึ่งก็คือ หาปลวกมากะเทาะให้ลูกไก่กิน จะทำให้ลูกไก่โตเร็วมาก เพราะ ปลวกมีโปรตีนสูง กินง่าย ลูกไก่จะชอบมาก กลางคืนควรให้ลูกไก่นอนตามความชอบ แต่ต้องนอนตามคอนเตี้ยๆ อย่าให้นอนที่ลานเด็ดขาดจะทำให้เสียสุขภาพ ถ้าเป็นไปได้กลางคืนควรเอาใส่สุ่มเพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์ต่างๆ อาจจะหาไม้มาเสียบตามช่องสุ่มเพื่อเป็นคอนให้ไก่เกาะนอนในเวลากลางคืน

การเลี้ยงลูกไก่ ให้ปลอดภัยไม่เป็นอันตรายและอาหารที่เหมาะสม

การให้อาหารลูกไก่
การให้อาหารลูกไก่สำคัญมาก เพราะลูกไก่ต่างอายุกัน ย่อมมีความต้องการอาหารที่แตกต่างกัน วิธีให้อาหาร คือ

1. ลูกไก่ อายุ 1 วัน เมื่อเอาลงมาจากรังไข่ ยังไม่ต้องให้อาหาร เพราะลูกไก่มีอาหารสำรองอยู่ใน กระเพาะแล้ว ควรให้กินแต่น้ำสะอาด กรวดทรายเม็ดเล็กๆ ตั้งไว้เพื่อให้ลูกไก่หัดจิกกิน

2. ลูกไก่ อายุ 2 – 7 วัน ควรให้กินปลายข้าวผสมกับหัวอาหาร ให้ทั้งเช้าและเย็น แต่ควรให้กินครั้งละน้อยๆ เท่าที่ลูกไก่กินหมดภายใน 3-5 นาทีเท่านั้น ตั้งน้ำสะอาด กรวดทรายเล็กๆ ตั้งไว้ให้กินตลอดเวลา

3. ลูกไก่ อายุ 2 อาทิตย์ ช่วงนี้ลูกไก่สามารถหาอาหารอย่างอื่นกินได้บ้างแล้ว แต่ก็ควรให้ปลายข้าวผสมหัวอาหาร อาหารหยาบ เช่น รำละเอียดผสมกับปลายข้าว กากถั่ว ข้าวโพดบด ปลาป่น กระดูกป่น เปลือกหอยป่น โดยผสมตามสูตรดังนี้ กระดูกป่น 0.1 กิโลกรัม เปลือกหอยป่น 0.2 กิโลกรัม อาจ ผสมเกลือแกงลงไปประมาณ 1 ช้อนชา ผสมพรีมิกซ์ไวตามินลงไปด้วยสักเล็กน้อย ควรหาเศษผัก หรือหญ้าสดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ โปรยให้ไก่กินวันละ 1-2 ครั้ง ที่สำคัญมากที่สุดก็คือ น้ำสะอาด ต้องมีตลอดเวลา คอยหมั่นทำความสะอาดบริเวณที่นอนของลูกไก่ อย่าให้สกปรก หมักหมม ควรให้ลูกไก่ถูกแสงแดดบ้างทั้งเช้าและเย็น

4. ลูกไก่ อายุย่างเข้า 3-6 อาทิตย์ ลูกไก่ที่อยู่ ในระยะนี้ขนจะขึ้นสมบูรณ์แล้ว และที่สำคัญจะเริ่มมีการจิกกัน อาหารผักสดยังคงให้เหมือนเดิม อาจจะเพิ่มกรวดทรายให้กินเป็นอาทิตย์ละ 2 ครั้ง

5. ลูกไก่ อายุ 7-8 สัปดาห์ ไก่ในช่วงเวลานี้จะเจริญเติบโตมากขึ้นกว่าเดิม ควรแยกตัวผู้ และตัวเมียออกจากกัน ถ้าต้องการจะนำตัวผู้ไปตอนก็ควรทำเสียตอนนี้เลย ควรให้วัคซีนนิวคาสเซิลครั้งที่ 2 โดยการฉีด การเลี้ยงดูควรให้อาหารและน้ำอย่างเพียงพอ คอยทำความสะอาดกรง หรือโรงเรือนอยู่เสมอ ไม่เช่นนั้นไก่จะไม่สบายตัว

6. ไก่ อายุ 30-70 วัน ระยะนี้การให้อาหารง่ายมาก ควรให้กินอาหารข้าวกล้อง ข้าวเปลือกได้แล้ว วันต่อไปให้กินเฉพาะข้าวเปลือกอย่างเดียววันละครั้งในตอนบ่าย ปล่อยไว้ที่ลานซึ่งเป็นพื้นดินและพื้นหญ้า ควรปล่อยให้หาอาหารเองตามธรรมชาติ ควรเสริมอาหารมื้อเช้าและมื้อเที่ยงให้ด้วย มื้อเช้าให้จำพวกผัก เนื้อสัตว์ ตอนเที่ยงควรเป็นข้าวสาร มื้อเย็นเป็นข้าวเปลือก เมื่อย่างเข้าฤดูร้อนและฤดูฝนไก่มักขาดสารอาหารควรให้อาหารเสริม เช่น ใบกระถิน โดยนำไปตากแห้ง แล้วนำไปแช่ลงในน้ำสะอาด 1 วัน เพื่อลดสารพิษ เป็นการช่วยเสริมสารอาหารแก่ไก่เป็นอย่างดี

7. ไก่ใหญ่ อายุ 70 วัน หรือ 2.5 เดือนเป็นต้นไป ไก่อายุขนาดนี้ อยู่ในระยะที่ให้ผลผลิต คือ ไข่ไก่ เมื่อโตถึงขั้นนี้แล้วจะมีความสามารถหาอาหารตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดี แต่ระยะนี้ไก่ให้ผลผลิตเพื่อสืบพันธุ์ไก่จึงมีความต้องการอาหารเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ควรให้ปลายข้าว รำ ข้าวเปลือก เปลือกหอย กระดองปู เพื่อให้มีการเสริมธาตุอาหารแคลเซียมและฟอสฟอรัส เมื่อได้มาแล้วให้นำมาทุบให้ละเอียดใส่ภาชนะตั้งทิ้งไว้ให้ไก่กินได้ตลอดจะเป็นผลดีต่อสุขภาพของไก่

 

 

หมายเหตุ ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.kaichonboxing.com

 

 

 

ADS Fix3
ADS Fix5