แบ่งปันเกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพทั้งโรคภัยไข้เจ็บ วิธีออกกำลังกาย เคล็ดลับลดน้ำหนัก เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง อยู่กินของอร่อยไปได้อีกนาน ๆ
“อาหาร” เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด หากใครตรวจสุขภาพแล้วพบว่าน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป แพทย์อาจแนะนำให้ปรับพฤติกรรมในการกินอาหาร ซึ่งสามารถปรับได้ง่ายๆ ไม่อยากจนเกินไป สามาระเริ่มต้นทำได้ด้วยตัวเอง เพียงเลือกกินอาหารให้ถูกวิธี
5 อาหารช่วยลด "น้ำตาลในเลือด"
ผัก
ผักเป็นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตน้อย มีวิตามิน แร่ธาตุและใยอาหารมาก ทำให้อิ่มทน และใยอาหารยังช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลในลำไส้เล็ก และลดการดูดซึมกลับของนำดีเป็นการช่วยควบคุมระดับโคเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรรับประทานผักให้มากขึ้นทุกมื้อ จะเป็นผักสด หรือผักต้มก็ได้
ปลาแซลมอน
ปลาแซลมอนมีโปรตีน กรดไขมันโอเมก้า 3 วิตามินดี และไนอาซิน สูงมาก โดยเฉพาะกรดไขมันโอเมก้า 3 และวิตามิน ดี นั้น จะช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี และยังช่วยลดการอักเสบอีกด้วย
อัลมอนด์
นอกจากอัลมอนด์จะให้ความหวานมันอร่อยแล้ว ยังมีโปรตีน แมกนีเซียม ไฟเบอร์ ที่ช่วยในการลดน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการแนะนำให้ทานอัลมอนด์หนึ่งกำมือเล็กๆ
ข้าวโอ๊ด
ข้าวโอ๊ตมีไฟเบอร์สูงมาก ช่วยในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือด อีกทั้งข้าวโอ๊ตยังถูกจัดเป็นคาร์โบไฮเดรทเชิงซ้อน ที่ร่างการสามารถดูดซึมสารอาหารและเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลอย่างเป็นระเบียบจึงทำให้รักษาระดับน้ำตาลไม่ให้สูงเกินไป
มะระขี้นก
มะระขี้นก มีสาร Charantin ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเบาหวาน นอกจากลดน้ำตาลในกระแสเลือดแล้ว เจ้าสาร Charantin ยังช่วยไปกระตุ้นการหลั่งอินซูอินจากตับอ่อนให้มากขึ้น เพื่อมาจัดการกับน้ำตาลที่สูงในกระแสเลือดอีกด้วย
อาหารน้ำตาลสูงที่ควรหลีกเลี่ยง
หลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่น้ำตาล
โดยเฉพาะน้ำตาลทรายขาว ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นมาก เพราะเป็นคาร์โบไฮเดรต 100% เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม เยลลี่ ฯลฯ ที่มีปริมาณน้ำตาลสูง สารอาหารอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมีน้อยมาก จึงควรหลีกเลี่ง ยกเว้นในกรณีที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ มีอาการมือสั่น เหงื่อออก ตัวเย็น ตาพร่า ซึ่งมักจะเกิดจากการรับประทานอาหารผิดเวลา หรืออกกำลังกายนานเกินไป ให้ดื่มน้ำหวาน น้ำอัดลม - 1 กระป๋อง เพื่อแก้ไขอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ
หลีกเลี่ยงอาหารที่มาจากแป้ง
แป้ง คือ คาร์โบไฮเดรต ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง เผือก มัน ฯลฯ อาหารเหล่านี้ควรจำกัดปริมาณการกินให้เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป เช่น แบ่งอาหาร 1 จานออกเป็น 4 ส่วน; ข้าว 1 ส่วน, โปรตีน 1 ส่วน และอีก 2 ส่วนที่เหลือเป็นผัก หรือหากอยากกินแป้ง ให้เลือกกินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต มากกว่าข้าวขาว หรือขนมปังขาว เป็นต้น
ผลไม้น้ำตาลสูง
ไม่ใช่ผลไม้ทุกชนิดที่ยิ่งกินจะยิ่งดีต่อร่างกาย เพราะผลไม้บางชนิดน้ำตาลสูงมาก เช่น มะม่วง ทุเรีน ลำไย ขนุน ฯลฯ ดังนั้นควรเลือกผลไม้น้ำตาลต่ำอย่าง ฝรั่ง แอปเปิ้ล แก้วมังกร ฯลฯ จะดีกว่า ฃ
นม
นมทุกชนิด เช่น นมข้นหวาน นมปรุงแต่ง นมเปรี้ยว รวมไปถึงโยเกิร์ตปรุงรสผลไม้ แม้กระทั่งนมวัวปกติก็มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรต รวมถึงสารอาหารอื่นๆ อย่าง โปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ คาร์โบไฮเดรตในน้ำนมอยู่ในรูปน้ำตาลแลคโตส มีรสหวานน้อย จึงอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้นควรเลือกดื่มนมจากธรรมชาติ 100% เท่านั้น
ขอขอบคุณ
ข้อมูล :The Bangkok Insight,โรงพยาบาลวิภาวดี