ดูถ่ายทอดสด "อัพเดตทุกเรื่องราวข่าวสารวงการไก่ชน ดูถ่ายทอดสดไก่ชน ครบทุกสนาม ทีเด็ดไก่ชน อัพเดทข่าวไก่ชนทุกประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งความรู้สาระเรื่องที่เป็นประโยชน์ผู้เลี้ยงไก่ชน"

ไฮไลท์ไก่ชนล่าสุด

B1
ADS B2
ADS B3
ADS B4
หน้าหลัก บทความไก่ชน อันตรายจาก “พิษคางคก” อาการและวิธีช่วยเหลือผู้ป่วย

อันตรายจาก “พิษคางคก” อาการและวิธีช่วยเหลือผู้ป่วย

วันศุกร์ 12 พฤศจิกายน 2564 ยอดเข้าชม 89
SHARE ON:

 

 

 


ฤดูฝนเป็นช่วงการวางไข่ของคางคก ซึ่งมักมีรายงานการเสียชีวิตจากการกินคางคกทุกปี เนื่องจากในตัวคางคกมีต่อมน้ำเมือก หรือยางคางคกที่มีพิษ

 

อันตรายจากพิษคางคก
อ.พญ.สุทธิมน ธรรมเตโช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ยางคางคกมีฤทธิ์ทำให้ระคายเคือง และยังประกอบด้วยสารชีวพิษประเภท digitaloids ที่มีฤทธิ์ต่อการทำงานของหัวใจและระบบประสาทอย่างมาก

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับพิษจากการรับประทานหนัง เลือด เครื่องใน หรือไข่ของคางคก ซึ่งมักเกิดจากความไม่ชำนาญในการชำแหละ ทั้งนี้ เนื่องจากพิษคางคุกทนต่อความร้อนการทำให้สุกจึงไม่ทำให้พิษหายไป

 

อาการหากได้รับพิษคางคก
อาการจากการได้รับพิษจากคางคก มักเกิดขึ้นหลังรับประทานในหลักชั่วโมงความรุนแรงขึ้นกับปริมาณพิษที่ได้รับ

น้ำลายมาก
คลื่นใส้ อาเจียน
ปวดท้อง ท้องเสีย
หากผิวหนังหรือดวงตาสัมผัสยางคางคกจะทำให้ระคายเคืองได้
หากอาการรุนแรงจะมีอาการทางระบบประสาท เช่น สับสน เพ้อ ไปจนถึงชัก
หรือหมดสติ หรืออาการทางระบบไหลเวียนโลหิต เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งอาจทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวได้

 

การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากคางคก
           ผศ.พญ.สาทริยา ตระกูลศรีชัย อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน รพ.รามาธิบดี ระบุว่า หากผู้ป่วยเผลอรับประทานพิษคางคกเข้าไปแล้วมีอาการผิดปกติ ให้รีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด โทร. 1669 เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธี มีสิทธิ์รักษาหายได้เป็นปกติ ไม่ปฐมพยาบาลที่ทำให้อาเจียน ล้วงคอ หรือกินไข่ขาว เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยสับสน และสำลักที่สิ่งกินเข้าไปได้ให้แพทย์รักษาตามหลักการรักษาผู้ป่วยที่รับสารพิษ ควบคู่กับการประกับประคองอาการ และติดตามอาการอย่างเหมาะสม

 

 

 

 


ขอขอบคุณ

ข้อมูล :อ.พญ.สุทธิมน ธรรมเตโช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย,ศูนย์คอมพิวเตอร์ รพ.ราชวิถี

ภาพ :iStock

ADS Fix3
ADS Fix5