ดูถ่ายทอดสด "อัพเดตทุกเรื่องราวข่าวสารวงการไก่ชน ดูถ่ายทอดสดไก่ชน ครบทุกสนาม ทีเด็ดไก่ชน อัพเดทข่าวไก่ชนทุกประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งความรู้สาระเรื่องที่เป็นประโยชน์ผู้เลี้ยงไก่ชน"

ไฮไลท์ไก่ชนล่าสุด

B1
ADS B2
ADS B3
ADS B4
หน้าหลัก บทความไก่ชน วิธีตรวจเช็คความสมบูรณ์ของไก่ก่อนที่จะออกชนนั้นมีรายละเอียดต่างๆดังต่อไปนี้

วิธีตรวจเช็คความสมบูรณ์ของไก่ก่อนที่จะออกชนนั้นมีรายละเอียดต่างๆดังต่อไปนี้

วันเสาร์ 30 ตุลาคม 2564 ยอดเข้าชม 404
SHARE ON:

 

 

 

สาระน่ารู้.. วิธีตรวจเช็คความสมบูรณ์ของไก่ก่อนที่จะออกชนนั้นมีรายละเอียดต่างๆดังต่อไปนี้
#ตรวจเช็คดูผิวพรรณไก่โดยรวมๆ ไก่ที่จะออกชนได้ต้องผิวพรรณดี เป็นสีแดงระเรื่อหรือแดงสด ไม่ว่าจะเป็นหงอน หน้าตา ผิวพรรณตามส่วนต่างๆ หากว่าไก่มีหงอนดำหรือคล้ำกว่าปกติและผิวพรรณไม่ดี หรือถอดสีแดงแสดงว่าไก่ไม่สมบูรณ์(ไก่ถอดสีหมายถึง ไก่ที่จับดูสักระยะหนึ่ง ผิวพรรณของไก่จะขาวซีดลง)
#ตรวจเช็คน้ำหนักของไก่ โดยให้สังเกตน้ำหนักเดิมของไก่ว่ามีน้ำหนักเท่าใด แล้วต้องดูตามความเหมาะสมของไก่แต่ละตัว การเช็คน้ำหนักของไก่ให้เช็คน้ำหนักของไก่ให้ชั่งดูก่อนซ้อมปล้ำ และเมื่อซ้อมปล้ำดูแล้วไก่แข็งแรงบินดี สมมุติว่าไก่น้ำหนักก่อนปล้ำ 2.8 กิโลกรัม เมื่อซ้อมปล้ำดูแล้ว ปรากฏว่าไก่บินดี แข็งแรง ก็ให้คุมน้ำหนักไก่ตัวนั้นให้มีน้ำหนักในวันเลี้ยงสุดท้ายก่อนออกชนที่ 2.8 กิโลกรัม หรือเพิ่ม-ลด เล็กน้อย
#ตรวจเช็คดูว่าไก่ย่อยหมดหรือไม่ ในวันที่จะนำไก่ออกชน ก่อนนำไก่ออกจากเล้านอน ให้ตรวจเช็คที่กระเพาะไก่ว่าย่อยหมดหรือยัง กระเพาะไก่ต้องไม่มีอาหาร คือต้องว่างไม่มีอะไรเลย หากว่ายังมีอาหารในกระเพาะแสดงว่าไก่ไม่สมบูรณ์ แต่ถ้ามีอยู่เล็กน้อย แล้วย่อยหมดในช่วงสายๆก็พอใช้ได้
#ตรวจเช็คดูขี้ไก่ ไก่ที่ร่างกายสมบูรณ์ขี้จะเป็นก้อนเล็กๆไม่แข็งหรือเหลวเกินไป ลักษณะคล้ายขี้ของนกเขา หากว่าขี้แข็งก้อนใหญ่เกินไปแสดงว่าระบบย่อยอาหารไม่ดี หากว่าขี้เหลวมีสีเหลืองแสดงว่าไก่ท้องเสีย แต่ถ้าหากขี้มีสีน้ำตาลเพราะเราให้อาหารประเภทไข่หรือเนื้อไก่ก็จะขี้เป็นสีน้ำตาล ไก่ที่จะออกชนควรจะมีขี้สีเขียวไม่เข้มมากนัก ขี้ไม่แข็งหรือเหลวเกินไป ขี้ไม่ก้อนใหญ่เกินไป
ตรวจเช็คดูตาและคอ ตาของไก่ต้องไม่มีพยาธิในตา ตาต้องไม่บวม ไม่มีฟองหรือมีน้ำตา หากว่าไก่มีอาการเจ็บคอ เช่น เสียงขันผิดปกติจากเดิม คอมีกลิ่นเหม็น ถ้าไก่มีอาการเหล่านี้ไม่ควรนำออกชน
ตรวจเช็คอากัปกิริยาของไก่ ไก่ที่จะออกชนต้องมีอาการปกติ คือ ก่อนเคยมีท่าทาง อากัปกิริยาอย่างไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น นอกเสียจากว่าจะกระปรี้กระเปร่ามากขึ้น ถ้าหากว่าไก่มีอาการ เซื่อง ซึม ไม่กินอาหาร ย่อยไม่หมด แสดงว่าไก่ไม่สมบูรณ์ ถ้าหากไก่มีอาการใช้นิ้วเกาที่บริเวณจมูกบ่อยๆ หรือมีน้ำมูกที่รูจมูก แสดงว่าไก่จมูกตันหรืออาจจะเป็นหวัด ไม่ควรนำออกชนอย่างยิ่ง
#ตรวจเช็คดูขา นิ้ว เดือย และการเดิน ไก่ที่จะออกชนต้องไม่มีอาการนิ้วเจ็บ ขาเจ็บ เช่นว่า ถ้าไก่ยืนยกขาด้านใดด้านหนึ่งอยู่เป็นประจำ แสดงว่าไก่เจ็บขาหรืออาจจะเจ็บบริเวณใต้ฝ่าเท้า หรือนิ้วต้องตรวจเช็ค ว่าไก่เจ็บที่ใด และต้องตรวจดูที่เดือยของไก่ด้วยว่ามีอาการช้ำ โยก หรือห้อเลือดหรือไม่ ถ้ามีอาการเหล่านี้ไม่ควรนำไก่ออกชน
#ตรวจเช็คดูปีกและน้ำขน ไก่ที่จะออกชนต้องยังไม่หลุด หรือถ้าหากว่าจะหลุดแล้วแต่ยังเพิ่งเริ่มหลุดก็ยังพอออกชนได้ แต่ถ้าหลุดเยอะและขนหมดมันหรือขนแห้งมากเกินไป ไม่ควรนำไก่ออกชน เพราะไก่ที่หลุดถ่ายขนร่างกายจะไม่สมบูรณ์เท่าใดนัก เพราะพลังงานส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้ในการสร้างขนใหม่ จึงไม่ควรนำไก่ออกชนอย่างเด็ดขาด
#การเตรียมตัวไก่เข้าสังเวียน
#การให้อาหารขณะชน
ในวันที่นำไก่ออกชน ส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงจะไม่ให้อาหารไก่เต็มที่เท่าไรนัก บางคนให้กินเพียงไข่ต้มสุกเพียงใบเดียว หรือบางคนตำข้าวให้ไก่กิน ดังนั้นเมื่อเปรียบไก่ได้คู่แล้ว ควรให้อาหารไก่กินจนอิ่ม แต่ไม่ควรให้แน่นเกินไป อาหารที่ให้ควรเป็นอาหารสุกที่เตรียมไว้ให้กิน และพยายามไม่ให้กิน อาหารที่คนอื่นให้หรือไม่รู้ที่มาของอาหารเพื่อความปลอดภัยของตัวไก่

www.tededkaichon.com
#เเทงไก่#ไก่ชนออนไลน์#บ่อนไก่#ทีเด็ดไก่ชน#ไก่ชนเงินล้าน
 


#การให้ยาโด๊ป 
ในการให้ยาโด๊ป ต้องกะระยะเวลาในการให้ยาตามที่ผู้ผลิตได้บอกไว้ในฉลากยา เพื่อให้ยาได้ออกฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ ควรให้ยาโด๊ปหลังจากที่ให้อาหารไก่เรียบร้อยแล้ว และควรทำตามลายละเอียดต่างๆที่ผลิตว่าไว้ทุกขั้นตอน ควรงดอาหารเสริมประเภทแตงกวา ไข่ น้ำมะพร้าว เพราะอาหารเหล่านี้จะดูดซับ ทำให้ยาโโปออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ และไม่ควรให้ยาโด๊ปกินไว้ก่อน เพราะมีบางคนเข้าใจผิดพยายามให้ยาตัวที่ยังไม่ควรให้ หรือให้ยาโด๊ปมากเกินไป จะทำให้ไก่เกิดอาการช็อกยาโด๊ปได้ ซึ่งเมื่อไก่ช็อกแล้วจะทำให้ไก่มึน งง ยืนให้ไก่คู่ต่อสู้ตี และหงอนจะดำ ซึ่งจะส่งผลให้แพ้ได้ง่าย
#การต่อปีก
ปีกไก่ที่ดีจะต้องมีกระดูกหนา ขนปีกหนาเรียงชิดติดกัน อย่างเป็นระเบียบเป็นโค้งลอนเดียว ขนปีกไม่ขาด สนับปีกหนา ทุกส่วนถูกต้องตรงตามสีไก่ ไก่ชนตามบ่อนไก่จะไม่ค่อยสนใจเท่าไร เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นไก่ต่อปีก ขนที่ต่ออาจจะไม่เข้ากับสีตัวไก่ ขอให้บินดีเป็นใช้ได้
#การเคียนเดือย
การเคียนเดือยนอกจากจะเป็นการเตรียมไก่ให้พร้อมก่อนลงสนามแล้ว การเคียนเดือยยังเป็นการป้องกันไม่ให้เดือยโค่นหรือเดือยหัก ขณะชน ส่วนวิธีการเคียนเดือยก็แล้วแต่ว่าไก่ตัวนั้นเดือยสั้นหรือเดือยยาว มือน้ำจะรู้เองว่าจะเคียนกี่รอบก็แล้วแต่ความเหมาะสม แต่โดยปกติแล้วไก่ที่เดือยสั้น มักจะไม่เคียนเดือย เพราะไก่ที่เดือยสั้น โอกาสที่เดือยจะโค่นหรือหักนั้นมีน้อยกว่าเดือยยาว
การเคียนเดือยเราจะเคียนรองโคนเดือย ส่วนการพันเดือยเราจะพันรอบเดือย การเคียนเดือยเราจะเคียนเพื่อป้องกันเดือยโค่นหรือเดือยหัก ส่วนการพันเดือยพันเพื่อป้องกันเดือยโผล่ ในการเคียนเดือยจะต้องไม่เคียนแน่นหรือหลวมจนเกินไป เพราะจะทำให้ไก่กังวลมากเกินไป นำไปถึงการไม่ตีไก่

 

 


#ขอบคุณข้อมูลจาก ไก่ชนดูเอเชีย
 

ADS Fix3
ADS Fix5