ดูถ่ายทอดสด "อัพเดตทุกเรื่องราวข่าวสารวงการไก่ชน ดูถ่ายทอดสดไก่ชน ครบทุกสนาม ทีเด็ดไก่ชน อัพเดทข่าวไก่ชนทุกประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งความรู้สาระเรื่องที่เป็นประโยชน์ผู้เลี้ยงไก่ชน"

ไฮไลท์ไก่ชนล่าสุด

B1
ADS B2
ADS B3
ADS B4
หน้าหลัก บทความไก่ชน การดูชั้นเชิง การคัดไก่ชน ที่จะนำมาเลี้ยง

การดูชั้นเชิง การคัดไก่ชน ที่จะนำมาเลี้ยง

วันพฤหัสบดี 23 กันยายน 2564 ยอดเข้าชม 202
SHARE ON:

 

 

 การดูชั้นเชิง การคัดไก่ชน ที่จะนำมาเลี้ยง


การดูชั้นเชิง
ในอดีตไม่ค่อยพิถีพิถันกับเชิงไก่มากนัก ผู้ชำนาญในการเล่นไก่มักจะพูดว่าหากไก่ยืนดินแน่นๆจะตีแม่นและแรง ปัจจุบันก็มักจะได้ยินนักเลงไก่พูดเหมือนกัน ส่วนใหญ่มักจะเป็นนักเล่นไก่หัวโบราณ พวกยึดติดกับของเดิม ชาตินิยม ไม่ยอมรับของผู้อื่น กลัวเสียเหลี่ยมนักเลง จึงมักจะซอยเท้าอยู่กับที่ เชิงไก่ในอดีตแบ่งเป็น 3 ประเภทกว้างๆ คือ
1. ไก่ตั้ง หรือไก่ยืน ยังแบ่งออกเป็น
- ยืนเกี่ยว 2 หน้า ชอบตีหัว หน้าคอ ตุ้ม หน้าหงอน ดีมาก
- ยืนชอบหน้าหงอน ดี
- ยืนชอบหน้าคอ ดี ถ้าลำไม่โตก็ไม่ได้เรื่อง
- ยืนเป็นไม่ได้เรื่อง
2. ไก่ลง จะต้องเป็นไก่แข็ง และลำโตจึงจะใช้ได้ ขนหัวไม่ร่วง
3. ไก่พานขึ้น - พานลง ก็มีให้เห็นเก่งเยอะ ขึ้นอยู่กับความเฉลียวฉลาดและลำหัก ลำโค่นของไก่ด้วย
สรุป ไก่เก่งได้ทุกเชิง ขึ้นอยู่กับลำหักลำโค่น ความฉลาด ความแข็งแรง การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่ไก่เชิงดีจะเล่นได้นาน และออกตัวได้ดีกว่าไก่เชิงไม่ดี
เชิงไก่ปัจจุบัน
เชิงชนไก่ (ไม่รวมลูกตี) แบ่งเป็น 3 ประเภทกว้างๆ
1. สองคอ (ขี่อย่างเดียว) ดี
2. สองคอ สองปีก (กอด มัด) ดีมาก
3. สองคอ สองปีก สองขา (ขี่ มัด ลง) ดีที่สุด
1. เชิงชน 2 คอ

 


 

ในไก่เชิงที่ดีจะต้องเป็นไก่เดินเร็ว (กอด กด ขี่ บด ขยี้ ล็อก มัด เท้าบ่า ม้าล่อ ลงจิกขาลอดทะลุหาง) ไก่ 2 คอเป็นไก่ เชิงบนจัด กอด กด ขี่ ซ้าย-ขวา คออ่อน เหนียวแน่น ถ้าได้เชิงดีจะชนะไก่ได้ไว ยิ่งเจอคู่ต่อสู้ยืนพิงแปะหน้า ยืนดินแน่น ขาไม่เดิน เดินช้า จะเสียเหลี่ยมหงายไพ่ตัวเอง เพราะเดินไม่ทัน ชนะไว ไก่เชิง 2 คอเก่งๆจะต้องกอด กด ขี่ เหนียวแน่น เอาอกทับไหล่คู่ต่อสู้ หัวกดไปที่กลางหลัง โคนคอ ขาเดินไวแน่น เพื่อเข้าท้าย-หลังคู่ต่อสู้ คอจะต้องอ่อน คีบประคองคู่ต่อสู้เหนียวแน่น ค่อยๆรูดจากโคนคอ-กลางคอ-หูนอก-และหัวเรียกว่า หนุไต่ราว ยิ่งถ้าสูงกว่าคู่ต่อสู้ด้วยแล้ว ชนะไว
ข้อเสีย ไก่กอด กด ขี่ ถ้าพบคู่ต่อสู้เชิงเดียวกัน ตีเจ็บพอกัน เกิดเสียเปรียบคู่ต่อสู้ (ต่ำกว่า เล็กกว่า) ถ้าเป็นไก่ 2 คอแท้จะไม่ยอมไก่ จะคัด-บิดคอคู่ต่อสู้ตลอด ถึงแม้จะเพลี่ยงพล้ำก็ไม่ยอมหลบเข้าปีก เมื่อเดินไม่ทันก็จะขวางคู่ต่อสู้ (เป็นไก่ท่องให้ตีเสี่ยงเหมือนกัน)
2. เชิง 2 คอ 2 ปีก
เป็นไก่ที่พัฒนามาจากข้อ 1 ในไก่เก่งจะมีเชิงนี้เยอะ (บน 50 ปีก 50) ไก่เชิง 2 คอ 2 ปีกจะเป็นไก่ฉลาด มีลูกหากินเยอะ นอกจากมีลูกกอด กด ขี่ที่ดีแล้ว ในกรณีเพลี่ยงพล้ำคู่ต่อสู้จะเปลี่ยนกระบวนท่าเชิงบนเป็นไก่เชิงล่างเข้ามุดล็อก มัดปีก ในกรณีที่เดินไม่ทันจะมุดหลบเข้าปีก ทำเชิงมัดรัดปีก หรือเสียเปรียบคู่ต่อสู้ สู้เชิงบน กอด กด ขี่จะสู้ไม่ได้ จะเดินไม่ทัน จะมีลูกแก้ไขเล่นเชิงมัดรัดปีกเข้าสู้ เมื่อคู่ต่อสู้อ่อนล้าจึงเล่นเชิงบน กอด กด ขี่ บดบี้ ขยี้ซ้ำ ถ้าตีเจ็บพอกัน ไม่เสียเปรียบรูปร่างชนะ 80%
3. เชิง 2 คอ 2 ปีก 2 ขา
เป็นเชิงไก่ที่พัฒนามาจากข้อ 1และข้อ 2 เป็นไก่เก่ง เจอไก่เก่งตัวใดมีอาวุธหลากหลายกว่าย่อมได้เปรียบ เรียกว่า 50/50 หากตัวใดมีหมัดหนักอีกต่างหากย่อมได้เปรียบ เชิงลงลอดทะลุขาก็เป็นลูกแก้ไขและสำคัญอีกลูกหนึ่ง ทำให้คู่ต่อสู้ขาอ่อนและหมดแรง ลูกยกดั๊มเท ลูกไถนา ลงลอดขา และบิดคอซ้าย-ขวาโดยเร็วขาคู่ต่อสู้จะอยู่บนหลัง ถ้าไถนาบ่อยๆคู่ต่อสู้จะขาอ่อน หมดแรงไว จาก 1-3 จะต้องเป็นไก่เดินเร็ว หากเดินช้า ความเก่งจะน้อยลง
1. ไก่ขี่ (เดินไว) 5 SPEED (2 คอ) มี 3 ประเภท
1.1 ขี่ เดินใน หัวตั้งตรง 90 องศา (กอด เกี่ยว) ดี หลุดง่าย
ไก่ขี่เดินในเหนียวแน่น กอด เกี่ยว หัวตั้งตรง 90 องศา ถ้าเป็นไก่ปากไว ปากถึง-ตีนถึง จะเก่งชนะได้ไว ถ้าเจอไก่ยืนหรือเกาะเกี่ยวเชิงเดียวกัน ถ้าเจอพม่าก็เจ็บ ถ้าไม่มีลูกหน้าก็จะลำบากเพราะเกาะเกี่ยวหัวสูงจะหลุดง่าย หรือเจอไก่ 2 ปีกจัดๆ ตีหลังตีสวาปแรงจะลำบาก ปลายน้ำแผ่วมีสิทธิ์ถูกล็อก ถูกมัดเป็นไก่โง่เซ่อได้ง่าย เว้นเสียแต่บังคับไม่ให้คู่ต่อสู้เข้าปีกมีลูกหน้าและลูกทุบหลัง ไก่ล็อกมัดเข้าปีกทุบหลังบ่อยๆก็แย่เหมือนกัน ไก่ทุบหลังจัดๆ (ตีเจ็บ) อันหนึ่งขอทุบเพียง 3 ทีก็เหลือเฟือจะชนะ ลูกทุบหลังเป็นลูกที่เซียนไก่กลัว โดนแล้วยุบฟื้นตัวยาก
1.2 ขี่ หัวลึก หัวเฉียง 45 องศา (กอดโคนคอ) ดีมาก
ไก่ขี่หัวลึก หัวเฉียง 45 องศา ปากไว กอด กด ขี่ เหนียวแน่น หัวลึก เชิงชนดูจะปลอดภัยกว่าไก่เชิงขี่ใน กอด เกี่ยว แต่ก็ชนะได้ช้ากว่าเชิงกอด เกี่ยวหัวสูง ไก่ขี่หัวลึกจะได้ทำเชิงรูดโคนคอ เอี้ยวมาหาหูนอกหรือหัว ทำเชิงกระบวนเพลง หนูไต่ราว เด็ดผักบุ้ง ต้องทำเชิงแต่งตัวช้ากว่าจะตีได้ แต่ก็ปลอดภัยกว่าเมื่อเจอพม่า เจอไก่ปีก มุด มัด ก็ 50/50 เจอไก่เดินใน กอด เกี่ยว ก็เสี่ยงเพราะจะตีได้ช้ากว่า ยกเว้นหากมีลูกทีเด็ด ตีลำหักลำโค่นกว่า ลูกเชิงเสียเปรียบต้องวัดกันที่ลูกตี
1.3 ขี่ ล็อก กดโคนคอ-หัว
ขี่ล็อกกดโคนคอรูดมาหาหัว ทำเชิงหนูไต่ราว เด็ดผักบุ้ง ดีที่สุดในกระบวนไก่เชิงขี่ 2 คอ เจอพม่าก็ปลอดภัย กดพม่า พม่าจะยุบจะถอยก็ไม่หลุด เพราะกดโคนคอ พม่าเจอล็อกก็อ่อนใจ เจอไก่ขี่ด้วยกันจะได้เปรียบเชิง ถ้าตีเจ็บพอกันจะได้เปรียบ เว้นเสียแต่ตีเจ็บปวดกว่ากันมาก เชิงดีกว่าก็จะสู้ไม่ได้
ไก่ขี่ดี จะต้องถนัดทั้งซ้าย-ขวา กอดเหนียวแน่น ถ้ารูปร่างไม่เสียเปรียบ ไหล่เท่ากัน ยากที่คู่ต่อสู้จะตีหัวได้ ตรงกันข้ามจะพยายามจับตีคู่ต่อสู้จนได้ ไก่ขี่ดีเหมือนจ๊อกกี้ขี่ม้า ขี่ไม่ดีเหมือนขี่วัวขี่ควาย
เดินหลายจังหวะ ไก่ฉลาดเดินดี มันจะประคองหัวคู่ต่อสู้ตลอดเวลา เรียก "กอดประคอง" คู่ต่อสู้เดินช้ามันก็จะเดินช้า เดินแบบระมัดระวัง คู่ต่อสู้เดินไวมันก็จะเดินไวด้วย เดินอย่างไรก็ได้ให้อยู่ด้านหลังคู่ต่อสู้ บางตัวขี่ส่งเดช(วิ่ง) เดินไวตลอด ทำให้หลุดได้ง่าย เรียกว่าเดินจังหวะเดียว ทำให้พลาดง่าย เมื่อถูกตีจะลนลาน เจอพม่าแพ้ลูกเดียว ลูกแก้ไขในไก่ขี่ถ้าเจอคู่ต่อสู้ในเชิงเดียวกัน รูปร่างพอกัน ลูกตีพอกัน ตัวไหนฉลาดกว่า มีลูกแก้ไขที่ดีกว่าก็จะได้เปรียบคู่ต่อสู้ ลูกแก้ไขมีหลายอย่าง เช่น พอเดินไม่ทันก็จะต้อง
1. กดบ่าตีตัว
2. หลบเข้าปีก มัดตี สวาปทุบหลัง
3. ลงทะลุท้อง เข้าขาโผล่ตูด ตีสวาปหลัง
2. ไก่เชิงมัด(2 ปีก) มี 3 แบบ
1.1 มัดโคนปีก ดีที่สุด
1.2 มัด 7 เส้น ดีมาก
1.3 มัดปลายปีก ดี
ไก่เชิงมัดจะต้องเป็นไก่เดินเร็วจึงจะดี ถ้าเดินช้าความเก่งจะน้อยลง ในกรณีเจอคู่ต่อสู้เดินเร็วกว่าจะมัดลำบาก นอกจากเดินไวแล้วปากจะต้องไวด้วย ถ้าเป็นไก่ลำโตยิ่งเก่งมาก ไก่มัดดีจะต้องเดินหัวใน หัวไวหลบเข้าปีกซ้าย-ขวาได้คล่องแคล่ว โดยคู่ต่อสู้ไม่รู้ตัวจะได้เปรียบอยู่ข้างหลังคู่ต่อสู้ตลอดเวลาจะเป็นตัวตีตลอดแพ้ยาก (ตีสวาป ทุบหลังจะเก่งมาก)
มัดฉลาด ไก่ที่มัดเก่งๆคล้ายมวยตีเข่า เมื่อรัดเอวคู่ต่อสู้แล้วยากที่จะหลุด ไก่ก็เหมือนกันคู่ต่อสู้ดิ้นหลุดยาก ไก่ที่มัดเก่งๆเมื่อหัวเข้าปีกจะรีบบิดคอซ้าย-ขวาโดยเร็ว แล้วเอาอกดันสีข้างคู่ต่อสู้เอาหลังไหล่ดันกระทุ้งปีกโดยเร็ว คู่ต่อสู้ไม่มีทางดิ้นหลุด ถูกมัด ถูกตีบ่อยๆคู่ต่อสู้จะอ่อนลงเรื่อยๆ ส่วนมากไก่มัดจะตีสีข้าง ปั้นขา หลัง ไก่มัดจะหมดความเก่งทันทีถ้าไม่สามารถตีคู่ต่อสู้ได้ ไก่มัดปัจจุบันเรียกว่า ไก่ 2 ปีก(คือ มัดปีกซ้าย-ขวา)
3. ไก่ลง (2 ขา) ลอดทะลุหาง แบ่งเป็น 3 ประเภท
3.1 ลงทะลุหาง พอใช้
3.2 ลงงัด(ดั้ม) ดี-ดีมาก
3.3 ลงฉีกขา (ไถนา) ดีที่สุด(หายาก)
ไก่ลง ไก่เก่งขนหัวจะต้องไม่ร่วง จะดูไม่ออกว่าเป็นไก่ลง มุดเข้าท้องเร็ว คู่ต่อสู้ไม่รู้ตัว รีบกลับตัวเร็ว ไก่ไถนาเก่งๆเวลามุดเข้าท้อง พอหัวทะลุขาไหล่จะอยู่ระหว่างขาไก่ตัวยืน มันจะรีบบิดคอซ้าย-ขวาพร้อมกับยกตัวไก่ตัวที่ยืนจะเสียหลัก จะเดินโขยกเขยกขาเดียว เนื่องจากขาอีกข้างหนึ่งจะอยู่บนหลังคู่ต่อสู้ ภาษามวยเรียกว่า ลูกไถนา คู่ต่อสู้จะหมดแรง ยิ่งถูกไถนานานจะยิ่งหมดแรงไว บางตัวไถนาน 2-3 นาทีกว่าจะหลุด ไก่ไถนาจะตีตูด ตีหลัง หายากมากในปัจจุบันหาได้ยากกว่าไก่เชิงม้าล่อ(ม้าเลาะ)
ไก่เชิงพม่า
1. ถอยแล้วสาด ลักษณะของชั้นเชิงชนในแบบนี้ก็คือ การก้าวถอยหลังรอให้คู่ต่อสู้เดินเข้ามา เมื่อได้จังหวะก็จะสาดแข้งเปล่าเข้าใส่โดยไม่ต้องจับ วิ่งการสาดแข้งเปล่าในลักษณะนี้ จะสร้างความกังวลให้กับคู่ต่อสู้เป็นอย่างมาก ยิ่งโดยเฉพาะไก่ที่กอดเก่งๆ เมื่อมาเจอลีลาถอยแล้วสาดอย่างนี้ยิ่งสร้างความกังวลให้อย่างมาก ลีลาก้มถอยแล้วสาดนี้นับเป็นลีลาเชิงชนสุดยอดที่เซียนไก่พม่ามักนิยมกันอย่างแพร่หลาย และพยายามอย่างยิ่งที่จะหาพม่าเชิงนี้มาครอบครอง เพราะถือว่าเป็นเชิงชนที่เยี่ยมยอดที่สุดของไก่พม่า
2. เดินแล้วสาด ในเชิงนี้จะเป็นลักษณะการก้าวเดินไปข้างหน้าพร้อมๆกับการหาจังหวะในการสาดแข้งเปล่าใส่คู่ต่อสู้โดยไม่ต้องจับ ซึ่งในเชิงนี้ค่อนข้างจะเสี่ยงกว่าเชิงแรกมาก เนื่องจากการเข้าปะทะหน้าตรงๆนั้น หากไปเจอคู่ต่อสู้ที่มีลูกสาดนำ รวมทั้งมีแข้งเปล่า และเป็นลูกผ่านพม่าที่สะสมเชิงถอยสาดเอาไว้ก็จะเจ็บตัวกับอาวุธของคู่ต่อสู้ได้ไม่น้อยทีเดียว
การก้าวเดินหน้าแล้วสาดแข้งเปล่า ผลแพ้ชนะจะออกมาอย่างไรขึ้นอยู่กับคู่ต่อสู้ด้วยเช่นกัน ในทัศนะของเซียน ไก่พม่าตัวที่เดินเข้าหามักจะเป็นฝ่ายแพ้เสียส่วนใหญ่ ลีลาเดินหน้าแล้วสาดแข้งหากจะให้ดีควรที่จะเสริมลีลาก้มต่ำแล้วส่ายหัวไปมาเข้าไปด้วย เพราะการก้มต่ำนั้นเปรียบเสมือนการซ่อนจุดเปราะบริเวณคอและหน้าเอาไว้ให้ต่ำลง รวมทั้งยังสามารถหลบหลีกได้ในบางจังหวะอีกด้วย
3. ลงต่ำแล้วสาด สำหรับเชิงชนนี้จะยืนนิ่งๆอยู่กับที่เพื่อหาจังหวะสาดแข้งใส่คู่ต่อสู้ ไก่พม่าที่มีชั้นเชิงการยืนนิ่งๆ มักจะเป็นไก่ที่ชอบใช้จังหวะสองได้ดี หากคู่ต่อสู้เข้าหลวมและเสียจังหวะเมื่อไหร่ เจ้าพม่าจะไม่ปล่อยให้พลาดจังหวะอย่างเด็ดขาด มันจะสาดแข้งคมๆเข้าใส่คู่ต่อสู้อย่างไม่ยั้งทีเดียว
4. ถอด เชิงนี้เป็นอีกเชิงหนึ่งที่ดุเดือดเผ็ดมัน เพราะเชิงถอดนี้จะเป็นเชิงที่เมื่อถูกขี่หรือกดคอแล้วไก่พม่าจะถอดชักหัวหรืชักลิ่มออกมาทำให้คู่ต่อสู้หลุดถลำลงต่ำ และในจังหวะนี้เอง ไก่พม่าก็จะจับในระยะกระชั้นชิดพร้อมกับสาดแข้งใส่อย่างดุดัน ซึ่งลีลาการชักลิ่มเป็นการพลิกสถานการณ์ที่รวดเร็วจากการที่โดนกดคุมคออยู่ มาเป็นการชักคอออกแล้วจับหูนอกโดยที่คู่ต่อสู้ไม่ทันระวังตัว
ลีลาการถอด(ชักลิ่ม)แล้วจับหูนอกตีนี้ บางครั้งอาจจะได้พบไก่พม่าบางตัวเข้ากอดและเข้าปีกมัดเป็นเหมือนกัน นั่นเท่ากับลบล้างความเชื่อที่ว่าไก่พม่ามัดไม่เป็น แต่อย่างไรก็ตามน้ำหนักในเชิงนี้ไม่ค่อยจะหนักหน่วงหรือเห็นผลเร็วนัก เนื่องจากจะเป็นการตีในลักษณะหันข้างเสียมากกว่า
5. ม้าล่อ ในเชิงนี้เป็นเชิงพม่าม้าล่อโดยจะวิ่งวนไปรอบๆสังเวียนเพื่อให้คู่ต่อสู้วิ่งตาม จนเมื่อได้ระยะและได้จังหวะแล้วก็จะหันกลับมาสาดแข้งใส่คู่ต่อสู้ จากนั้นก็จะวิ่งต่อ หรือถ้าหันกลับมาสาดแล้วดูท่าทางคู่ต่อสู้มีอาการ ก็จะพันตูต่อกรเพื่อพิชิตศึกทันที ลีลาม้าล่อนี้หากตีคู่ต่อสู้ไม่อยู่ในยกต้นๆจึงมักจะพ่ายแพ้ในยกท้ายๆเสมอ
สำหรับเซียนไก่ที่ต้องการนำไก่ชนของไทยเข้าชนกับไก่พม่านั้น การอ่านเชิงพม่าให้ขาดนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยในการตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ในทุกครั้งที่ทำการเปรียบไก่ คู่ต่อสู้มักจะยอมให้เราจับตัวไก่ได้ และในขณะที่คู่ต่อสู้เผลอนั้น เราสามารถจะทดสอบได้ว่าพม่าตัวนั้นๆเป็นไก่เชิงอะไร คือหลังจากที่จับตัวไก่จนพอใจแล้ว ให้ปล่อยไก่พม่ายืนอย่างสบายๆโดยให้หันหน้าเข้าหาเราแล้วหันท้ายเข้าหาเจ้าของ(กันเจ้าของสังเกตเห็น) จากนั้นก็จับไปที่ลำคอส่วนล่างไกล้ๆสามเหลี่ยมของไก่แล้วบีบเบาๆอย่าให้ไก่เจ็บจนตื่น ไก่พม่าเป็นไก่ที่มี สัญชาตญาณป่าค่อนข้างสูง เมื่อเราบีบที่ลำคอเขา เขาจะแสดงธรรมชาติของเขาออกมาทันทีว่าเป็นไก่เชิงไหน โดยสังเกตได้จากอาการที่เขาแสดงออกดังนี้
1. หากเราบีบแล้ว เขาดึงตัวถอยหลัง แสดงว่าเป็นไก่เชิงถอย
2. หากเราบีบแล้ว เขาหดคอลงแต่ไม่ถอย แสดงว่าเป็นไก่ยืนแล้วสาดจังหวะสอง
3. หากเราบีบแล้ว เขาดึงคอกลับและเบี่ยงตัวออกด้านข้าง แสดงว่าเป็นไก่ถอดหัวดี
4. หากเราบีบแล้ว เขาเสือกหัวขึ้นมา แสดงว่าเป็นไก่กอดเชิงบน
5. หากเราบีบแล้ว เขาขืนตัวดันไปข้างหน้า แสดงว่าเป็นไก่ชอบเดินเข้าหา

www.tededkaichon.com
#เเทงไก่#ไก่ชนออนไลน์#บ่อนไก่#ทีเด็ดไก่ชน#ไก่ชนเงินล้าน

 

ข้อดีข้อเสียไก่ไซง่อน


ข้อดี
1. กระดูกใหญ่ กระดูกแข็งแรง จึงมีไขกระดูกมากและไขกระดูกคือปอดสำรองช่วยหายใจ การส่งกำลังสำรองภายในร่างกายดีมาก จึงมีความอึด ยืดระยะ เมื่อหมดยกอาจดูเพลียๆบ้าง แต่เมื่อให้น้ำแล้วพละกำลังจะกลับคืนสู่สภาพเดิมเร็วมาก ไก่จะดูสดชื่นฟื้นตัวเร็วและหากเบียดสูสีมักจะเป็นตัวชนะมากกว่า
2. กล้ามเนื้อแข็งแรงมาก เนื้อแน่น กระดูกและเส้นเอ็นดีมาก ซึ่งถ้าเปรียบไก่ตีกันโดยวัดรอบอกแบบไทย ไก่ไซง่อนจะได้เปรียบ เพราะมันจะมีน้ำหนักตัวมากกว่าไก่ไทย
3. ปอดและระบบหมุนเวียนเลือด รวมทั้งหัวใจดีมากมันจึงออกกำลังกายได้นานๆ และฟื้นตัวจากการตีเร็วมาก หายเหนื่อยเร็ว ถ้าเลี้ยงได้ที่แล้วในระหว่างที่ตีกันมันจะไม่อ้าปากหอบ เนื่องจากมีสภาพของอวัยวะภายนอกและภายในดีมาก จึงแข็งแรงเร็วเลี้ยงไม่นานก็นำไปตีได้
4. ปากใหญ่ หนา แข็งแรง ประกอบกับกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ดังนั้นเมื่อมันจิกจึงทำให้เกิดบาดแผลที่หนังของคู่ต่อสู้ได้มากกว่า ทำให้ได้เปรียบคู่ต่อสู้ตั้งแต่ต้นเพราะปากจะต้องใช้จับตี หากปากเหนียว ปากทนจะได้เปรียบคู่ต่อสู้มาก
5. หนังหนา หนังเหนียวเปิดแผลยาก ตีให้ฉีกขาดหรือแตกได้ยาก ถูกตีหัวมากๆหัวจะไม่ค่อยบวมด้านหัวไม่ค่อยแตก เมื่อให้น้ำและติดกระเบื้องแล้วหนังหัวเกือบเหมือนเป็นปกติ และในการเลี้ยงไม่ต้องอาบขมิ้นผสมปูนบ่อยครั้ง เพราะหากอาบบ่อยครั้ง จะทำให้ขนเปราะหักง่าย และทำให้ไก่มีขนโรยเร็ว ถ่ายขนเร็ว ทำให้การเลี้ยงชนสั้นลง การมีหนังหนานั้นได้เปรียบมากหากกติกาเป็นแบบพันเดือย หรือสวมนวมเดือยส่วนมากมีความทรหดสูงมาก แต่จะต้องมีการคัดพันธุ์ด้วย เพราะไก่ไซง่อนบางเหล่าก็จะใจเสาะ ไม่แตกต่างจากไก่ชนสายพันธุ์อื่นเช่นกัน
6. ตีลำหนัก ลำโตและเจ็บปวด ฝังลึกกว่าสายพันธุ์อื่น เมื่อตีเป้าหนาปล่อยแข้งแรงมาก การตีแต่ละครั้งของมันจึงทำให้คู่ต่อสู้เจ็บลึกๆได้มาก ตีไก่ฝังแข้ง ตีไก่หยุดชะงัก ตีไก่ปวด ตีไก่กลัว เช่น ตีตัว เป็นต้น ทั้งนี้เพราะไก่ไซง่อนกระดูกใหญ่แข็งและแข็งแรง โค่นยากจะได้เปรียบคู่ต่อสู้มากหากชนภายใต้กติกาพันเดือยหรือสวมเดือย
7. มีขนาดใหญ่ปานกลางถึงใหญ่ แต่ไม่ใหญ่มากเกินไป จึงเป็นพันธุ์ที่เหมาะในการเป็นพันธุ์ยืนในการผสมพันธุ์ เพื่อสร้างพันธุ์ใหม่
8. มีความอดทนเป็นเลิศ ไม่กลัวไก่ โดนตีเจ็บแค่ไหนก็จะวิ่งเข้าใส่
ข้อเสีย
1. ส่วนมากเชื่องช้าเนื่องจากกระดูกใหญ่ ตัวใหญ่ วิธีแก้ก็คือ นำไปผสมพันธุ์กับไก่ที่ปากเร็ว เท้าเร็ว และการเคลื่อนตัวเร็ว แต่ไก่ไซง่อนบางเหล่าถ้าหากคัดพันธุ์ดีดีแล้วก็จะมีพวกปากเร็วและเท้าเร็วก็มี สาดเท้าเปล่าก็มี
2. ส่วนมากเชิงไม่มาก เป็นไก่ไม่สู้คอ ส่วนมากแล้วเมื่อถูกเบียดดัน ถูกเลี้ยวคอบังคับถูกคอถูกขี่ มันจะวิ่งท่องมักจะก้มหัว วิ่งเลาะอยู่ประมาณใต้กระเพาะมักจะยืนหัวสูง หรือบางเหล่ามักโชยหัว วิธีแก้ก็คือ คัดเหล่าที่ยืนหัวสูงไปผสมกับไก่พันธุ์อื่นที่มีชั้นเชิงดีและปากเร็ว เท้าเร็วจะได้พันธุ์ใหม่ที่ดีขึ้น
3. ส่วนมากขนน้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอายุไม่เกิน 4 เดือนขนจะขึ้นช้า ทำให้แพ้ฝน แพ้ลม แพ้ยุง และการแพ้อากาศเปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ เช่น เป็นหวัดง่าย วิธีแก้ไข คือให้หลอดไฟ เลี้ยงในบริเวณลมไม่โกรก มีแดดร่ม พื้นดินแห้งและมีหลังคากำบังน้ำฝนมากกว่าหลังคาโล่ง กางมุ้งให้ ให้อากาศดีสม่ำเสมอ มีหญ้ากินเพียงพอ และผสมวิตามินรวม วิตามินอี และวิตามีนซีในอาหารและในน้ำให้กินบ่อยๆ นำไปผสมพันธุ์กับไก่ที่มีปีกขนตัวดีจะไดลูกผสมที่มีขนดีขึ้น
4. ได้คู่ชนยาก เพราะรูปร่าง หน้าตาน่ากลัว แข้งใหญ่และแข็งแรง และหนังหนาสีแดง ทำให้เจ้าของไก่คู่ต่อสู้ไม่อยากชนด้วย หากจะชนก็ต้องเปรียบหรือต่อรองน้ำหนัก การนำไปผสมพันธุ์กับสายพันธุ์อื่นจะช่วยซ่อนความน่ากลัวเหล่านี้ได้
5. เปรียว ไก่ไซง่อนเป็นไก่ที่เปรียว ไม่ยอมให้จับง่ายๆ เลี้ยงจนจะออกตีได้อยู่แล้วก็ยังเปรียวอยู่ แต่ลดน้อยลง
6. เดือยไม่ส่ง คือเดือยงอกช้า ยาวช้า กระดูกแกนเดือยเล็ก แต่เปลือกเดือยหนาและแข็งแรง

 

 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.gaichon.com , www.kaichon.com

ADS Fix3
ADS Fix5