เมื่อมีการปลดล็อกพืชกระท่อมและได้รู้ผลดีผลเสียกันแล้ว หลายคนได้นำมาปลูกแต่ยังไม่รู้ว่าใบกระท่อมนั้นจริงๆแล้ว มีวิธีในการใช้เพื่อรักษาอาการและโรคต่างๆมากมาย แต่ทั้งนี้ยังมีคนใช้พืชกระท่อมอย่างผิดวิธี วันนี้ทางเราจะมาแนะนำวิธีการใช้พืชกระท่อมอย่างถูกต้อง ซึ่งจะมีอะไรบ้างไปดูกัน
แก้ไอ
ใช้ใบสด 1-2 ใบ ต้มกับน้ําตาลทรายแดง ดื่มแก้ไอ หรือเคี้ยวใบสด คายกาก และควรดื่มน้ําตามให้มากเพื่อป้องกันท้องผูก
แก้ปวดเมื่อย
นำ เถาวัลย์เปรียง , มะคําไก่ , มะแว้งต้น , มะแว้งเครือ , เถาโคคลาน , เถาสังวาล , พระอินทร์ , หญ้าหนู , ต้นผักเสี้ยนผี , แก่นขี้เหล็ก , ใบมะกา อย่างละ 1 ส่วน เนื้อในฝัก ราชพฤกษ์ 5 ฝัก ใบกระท่อม 2 ส่วน เถากําแพงเจ็ดชั้น 3 ส่วนและนำไปต้ม ใช้รับประทาน ก่อนอาหาร เช้า-เย็น ครั้งละ ครึ่ง-1 ถ้วยกาแฟ
การใช้รักษาอาการท้องร่วง ปวดท้อง
เคี้ยวใบกระท่อม และ ดื่มน้ําตาม
ต้มใบกระท่อม ใส่เกลือและน้ําตาลทรายแดงเล็กน้อย
เปลือกต้นกระท่อม เปลือกต้นสะเดา เปลือกต้นมะขาม หนักอย่างละ 50 กรัม หัวขมิ้นชัน (แก่) หัวกระทือ (แก่) อย่างละ 1 หัว เผาไฟพอสุก ต้มรวมกับน้ําปูนใส น้ํา ธรรมดาอย่างละเท่าๆ กัน รับประทานครั้งละ 2-3 ช้อนแกง เมื่อหายจึงหยุดทาน
รักษาโรคเบาหวาน
ใช้กระท่อมทั้ง 5 (ใบ กิ่ง เปลือกต้น รากเนื้อไม้ หรือใช้ต้นกระท่อมต้นเล็ก สูงประมาณ 1 ศอก 1 ต้น) และสับใส่หม้อต้ม รับประทานครั้งละ 3-5 ซ้อนแกง เช้า-เย็น
เคี้ยวใบกระท่อม วันละ 1 ใบ นาน 41 วัน
ต้มใบกระท่อม หญ้าหนวดแมว ไม้ค้อนตีนหมา อย่างละเท่ากัน ต้มน้ํา 3 เอา 1 ดื่มครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ เช้า-เย็น
ต้มใบกระท่อม ผสม อินทนินน้ํา กระเทียมต้น และ กระเทียมเถา
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการปลดล็อกใบกระท่อมเพื่อประโยชน์ทางอาหารและยาแล้ว แต่ก็ยังมีข้อควรระมัดระวังทางกฎหมายที่ควรคำนึงถึง โดยเฉพาะการนำไปใช้ผสมกับสิ่งเสพติดชนิดอื่น การขายน้ำต้มกระท่อมในหอพัก สถานศึกษา รวมถึงจำหน่ายอาหารที่มีส่วนผสมของใบกระท่อมแก่สตรีมีครรภ์ และผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ล้วนถือเป็นการผิดกฎหมาย ไม่สามารถทำได้
ขอขอบคุณ
ข้อมูล :chalita_k
ภาพ :iStock