ดูถ่ายทอดสด "อัพเดตทุกเรื่องราวข่าวสารวงการไก่ชน ดูถ่ายทอดสดไก่ชน ครบทุกสนาม ทีเด็ดไก่ชน อัพเดทข่าวไก่ชนทุกประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งความรู้สาระเรื่องที่เป็นประโยชน์ผู้เลี้ยงไก่ชน"

ไฮไลท์ไก่ชนล่าสุด

B1
ADS B2
ADS B3
ADS B4
หน้าหลัก บทความไก่ชน ลักษณะทางเศรษฐกิจในการเลี้ยงไก่

ลักษณะทางเศรษฐกิจในการเลี้ยงไก่

วันพุธ 08 กันยายน 2564 ยอดเข้าชม 241
SHARE ON:

 

ลักษณะทางเศรษฐกิจในการเลี้ยงไก่ ลักษณะทางเศรษฐกิจในการเลี้ยงไก่
ลักษณะเศรษฐกิจนี้มีหลายอย่าง ผู้เลี้ยงต้องพิจารณาตั้งเป้าหมายเองว่าจะเลี้ยงไก่ เพื่อเอาอะไร แล้วคัดเลือกลักษณะนั้นไว้

ลักษณะที่เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้แก่

1) ไข่ดก

2)  เนื้อมากหรือเป็นไก่กระทงได้ดี

ข้อ 1 และ 2 นี้เป็นเป้าหมายใหญ่ของอาชีพเลี้ยงไก่ปัจจุบัน

3) ฟักออกดี

4) ให้ลูกแข็งแรง

5) ขนงอกเร็ว

6) เติบโตเร็ว

เมื่อตั้งจุดประสงค์ไว้แล้ว จึงค่อย ๆ อาศัยหลักเบื้องต้นต่อไปนี้คัดเลือกเพื่อผสมพันธุ์

1.  การผสมไก่ให้ไข่ดก การที่จะผลิตไข่ให้ได้กำไรดี ก็ต้องอาศัยแม่ไก่ที่ไข่ดก เพราะเปลืองอาหารต่อไข่จำนวนที่ได้นั้นน้อยกว่าไก่ที่ไข่ไม่ดก หลักฐานนี้จะได้จากสถิติไข่ ประจำตัว หรือจากสถิติพี่น้องของพ่อแม่เดียวกันหรือจากสถิติของชั่วลูกหลาน

บัตรสถิติไข่รายตัวของแม่ไก่ มีบันทึกกำไลหรือเบอร์ขา เบอร์ปีก และพันธุ์ที่มุมบัตรทุกครั้ง ทุกวันที่เก็บไข่จะกาไว้ในช่องของวันของเดือนนั้น ๆ แล้วรวมยอดไข่ทุกเดือน เมื่อครบปี ก็จะได้สถิติไข่ปีแรกของแม่ไก่นั้น ๆ ได้ถูกต้อง บัตรนี้ถ้าเลี้ยงไก่บนพื้นเล้าต้องมีรังไข่กลหรือมิฉะนั้นก็ต้องเลี้ยงห้องละตัว ในการเลี้ยงไก่เป็นการค้า อาจใช้สถิติไข่ 4-6 เดือนแรกเป็นข้อวินิจฉัยคัดไก่ที่ไข่ดีในระยะนี้ไปทำพันธุ์เลยก็ได้ เพราะจะได้ไข่ที่ฟักออกดีกว่ารอสถิติไข่ จากแม่ไก่ที่อายุมากขึ้นเมื่อไข่ครบปี

บัตรแบบนี้ อาจดัดแปลงให้มีช่องบันทึกละเอียดขึ้น เช่น เบอร์พ่อ เบอร์แม่ วันเกิด วันเริ่มไข่ จำนวนไข่ ตลอดจนลักษณะอื่น ๆ ตามที่ผู้เลี้ยงจะกำหนดแผนงานคัดเลือกพันธุ์

การจัดสถิติไก่ไข่แต่ละตัว ควรต้องติดเบอร์ขาหรือเบอร์ปีกที่ไก่ ไก่ที่ใช้เลี้ยงขังเดี่ยว ในกรงตับ ใช้บัตรบันทึกการไข่รายตัวได้สะดวกกว่าไก่ที่เลี้ยงบนพื้นเล้า

ลักษณะสืบสายเลือดที่เกี่ยวข้องกับการไข่ดกซึ่งควรจะนำมาประกอบการคัดเลือก คือ

1) โตเป็นหนุ่มสาวเร็ว ไข่เร็ว อายุ 4 ½ —5 เดือนก็เริ่มไข่

2) ตับไข่ถี่ ไข่ 2 หรือ 3 ฟองขึ้นไปจึงหยุดสัก 1 วัน แล้วตั้งต้นไข่ต่อไป

3) ไม่หยุดไข่นานเกินกว่า 7 วัน นอกจากเป็นโรค สิ่งแวดล้อม และการดูแลบกพร่อง

อย่างไรก็ดี ควรเลือกไก่ที่หยุดไข่น้อยวันจะดีกว่า

4) ไม่มีนิสัยอยากฟักไข่ เพราะเวลาที่แม่ไก่ฟักไข่ย่อมหยุดไข่ไป 2-4 เดือน ไก่บางสายเลือดหรือบางพันธุ์ก็ไม่มีนิสัยอยากฟักไข่

5) ไข่ทนนาน หมายถึง ไก่นั้นจะไข่ตั้งแต่ฟองเริ่มแรกไปจนครบปีตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ก่อน จะเป็นระยะเวลา 300 วัน 365 วัน หรือนับจากวันออกจากไข่ไปจนครบ 500 วันก็ได้

ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้จะได้ข้อมูลจากบัตรสถิติรายตัวที่มีการบันทึกถูกต้อง ตัวอย่างผลการทดลองในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2487 ผู้ทดลองได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบ เพื่อคัดเลือกพันธุ์ไก่ให้ไข่ดกโดยอาศัยหลักในการคัดเลือกทีละลักษณะกับทีละหลายลักษณะ ปรากฏว่ายิ่งใช้ลักษณะที่สืบสายเลือดในการไข่ดกนั้นครบทั้ง 5 อย่างก็จะได้ผลดีที่สุด คือ

จากตารางข้างบนนี้จะเห็นว่า ทั้ง 5 ลักษณะที่เป็นลักษณะสืบสายเลือดของการไข่ดกนี้ หากขาดลักษณะใดลักษณะหนึ่งก็ย่อมได้ไก่ไข่ดกน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าขาดการคัดไก่ไข่เร็วไว้ ย่อมได้ไก่ไข่ดกน้อยลง เพราะการไข่เร็วไก่นั้นย่อมมีเวลาไข่ได้นานกว่าไก่ที่ไข่ล่า  ในช่วงระยะเวลาครบ 1 ปีแรกของการไข่

สมัยนี้ปัญหาไก่ไข่เร็วมักไม่ค่อยถือเป็นสำคัญนัก เพราะไก่ที่ไข่เร็วจะไข่เล็กกว่า ทำให้ได้ราคาตํ่ากว่าไข่ขนาดโตกว่า เขามักเลี้ยงด้วยอาหารโปรตีนตํ่าลงสักเล็กน้อย ให้ไก่เริ่มไข่ล่าช้าลงอีกสัก 2-3 อาทิตย์ ไก่โตขึ้น และไข่ฟองโตขึ้นกว่าที่ไข่เร็ว

ไก่ไข่ที่จะเลี้ยงเป็นอาชีพโดยทั่วไปก็ควรมีลักษณะใกล้เคียงกับมาตรฐานต่อไปนี้

2.  การผสมไก่ให้ได้ไข่มีเชื้อดี เป็นเรื่องที่โรงฟักไข่และผู้ที่จะขยายพันธุ์ไก่ต้องการ ไก่บางตัวเป็นหมัน บางตัวเชื้อไม่ดี ก่อนฤดูฟัก 1 เดือนควรทำการตรวจคัดไก่เหล่านี้ออกจากฝูง ปัจจัยสำคัญของการผสมไก่ที่จะให้ได้ไข่ฟักออกดีมีดังนี้

1.  อัตราส่วนตัวผู้ต่อตัวเมีย

2.  อายุไก่พันธุ์

3.  ระยะเวลาของการผสมไก่ โดยทั่ว ๆ ไป ไข่จะเริ่มมีเชื้อดีภายหลังการผสม 3 วัน ถ้าผสมแบบฉีดเชื้อ หรือ 7 วัน ถ้าผสมแบบปล่อยเล้า

4.  การดูแล การเลี้ยงดูให้ไก่สมบูรณ์แข็งแรง เรือนโรงแห้ง สะอาด เย็นสบาย ไม่มี เหาไรหรือศัตรูรบกวน

5.  อาหารและการจัดการ

6.  ผสมไก่ข้ามพันธุ์หรือระหว่างสายเลือด

อาหารและการดูแลที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญของการช่วยให้ไข่ฟักออกดี นอกจากนี้ การคัดเลือกไก่ควรอาศัยหลักสำคัญต่อไปนี้

1.  อายุของพ่อแม่พันธุ์ ไข่จากไก่สาวฟักออกดีกว่าไข่จากไก่แก่

2.  การไข่ ไก่ที่ไข่ดกให้ไข่ฟักออกดีกว่าไก่ไข่ไม่ดก เพราะไก่ที่ไข่ดกกว่านั้นร่างกาย ย่อมสมบูรณ์กว่า

การแสดงข้อมูลการผลิตไข่อาจแสดงได้เป็น 2 แบบ

1) เปอร์เซ็นต์ไข่ต่อวันต่อตัว = จำนวนไข่ที่ได้/จำนวนไก่ที่มีอยู่ X 100

2) เปอร์เซ็นต์ไข่ต่อวันของทั้งฝูง = จำนวนไข่ที่ได้/จำนวนไก่ที่แรกเริ่มลงเล้าX 100

ในแบบแรกนิยมใช้มาก เพราะหมายถึงรายได้จากจำนวนไก่มีชีวิตขณะนั้น แบบ 2 มีข้อดีอีกอย่างหนึ่ง แสดงถึงว่าหากมีไก่ตายระหว่างการเลี้ยงดู เปอร์เซ็นต์การไข่ก็ตํ่าลง แต่ไม่ค่อยนิยมใช้กัน อย่างไรก็ดี หากดูได้จากทั้ง 2 แบบก็จะช่วยบอกถึงฝีมือหรือผลการลงทุน จะดีเลวเพียงใดด้วย

www.tededkaichon.com
#เเทงไก่#ไก่ชนออนไลน์#บ่อนไก่#ทีเด็ดไก่ชน#ไก่ชนเงินล้าน

3) วิธีผสมพันธุ์ ควรผสมข้ามสายเลือดที่ให้ไข่ฟักออกดี ฝูงไก่ที่ผสมแบบสายเลือดควรให้มีการผสมข้ามสายเลือดบ้างเป็นครั้งคราว ราว 4-6 ปีครั้ง เพื่อแก้ลักษณะเสียต่าง ๆ ที่เกิดจากสายเลือดชิด

4) ลักษณะของไข่ ควรเลือกไข่เข้าฟัก เลือกแต่ไข่ได้ขนาด มีเปลือกปกติ รูปทรงปกติ และไม่เก่าเก็บเกินกว่า 7 วัน

5) ตัวลักษณะพันธุกรรมหรือยีนที่ทำให้ไก่ตาย (lethal genes) ในระยะต่าง ๆ โดยเฉพาะระยะที่ยังอยู่ในไข่ และที่ทำให้ลูกไก่ตายในระยะแรก ปัญหานี้จะรู้ได้จากสถิติของบรรพบุรุษ ลักษณะพันธุกรรมเหล่านี้มักปรากฏในฝูงไก่ที่ผสมภายในสายเลือดเดียวกันนาน ๆ หลาย ๆ ชั่ว

การเก็บสถิติการฟักออกของไข่จากแต่ละพ่อแม่พันธุ์จึงเป็นของจำเป็น เมื่อรู้ว่าพ่อแม่ไหนให้ไข่ฟักออกน้อยก็ควรคัดทิ้ง หรือถ้าไก่นั้นมีลักษณะทางเศรษฐกิจอย่างอื่นดีจริง ๆ ก็ควรหาทางผสมพันธุ์ปรับปรุงใหม่

3.  การผสมพันธุ์ไก่ให้ได้ถูกแข็งแรงและเลี่ยงรอดมาก ความแข็งแรงของไก่ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับอาหารและการเลี้ยงดู ต้นเหตุอื่น ๆ นอกจากนี้มักเป็นผลเนื่องมาจากความทนทานต่อโรคภัยต่าง ๆ เช่น โรคขี้ขาว โรคไทฟอยด์ โรคตับใหญ่ พยาธิ โรคที่เกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ และโรคอื่น ๆ การกกให้ความอบอุ่นแก่ลูกไก่ไม่ดีพอใน 2-4 อาทิตย์แรกเป็นสาเหตุสำคัญอันดับแรกที่ลูกไก่จะไม่แข็งแรง

สิ่งที่ควรปฏิบัติของเรื่องนี้ ได้แก่

1) พันธุ์และตระกูลหรือสายเลือดไก่ ไก่แต่ละพันธุ์ แต่ละสายเลือด มีความทนทานต่อโรคมากน้อยต่างกัน

2) อายุไก่พันธุ์ ลูกไก่จากแม่ไก่มีความเติบโตสมํ่าเสมอและแข็งแรงเลี้ยงรอดมากกว่าลูกไก่ที่มาจากแม่ไก่สาว

3) วิธีผสมพันธุ์ การผสมข้ามพันธุ์ หรือการคัดเลือกไข่ฟักจากแม่ไก่ที่ให้ลูกแข็งแรง เลี้ยงรอดมาก ช่วยให้งานนี้บรรลุความประสงค์ได้ดีขึ้น

4) อาหารดี

การผสมสายเลือดใกล้ชิดกันเป็นระยะหลาย ๆ ชั่วอายุโดยไม่มีการคัดเลือกพันธุ์ไก่เลย ทำให้เกิดผลร้ายและเสียหายแก่ไก่รุ่นต่อ ๆ ไปได้มาก

4.  การผสมไก่เพื่อให้เติบโตเร็วและมีขนคลุมเต็มตัวเร็ว เรื่องนี้เป็นผลเนื่องจากการสืบสายเลือดและคุณภาพอาหารที่เลี้ยงไก่ รวมทั้งอุณหภูมิกกลูกไก่ ตลอดจนการดูแลต่าง ๆ

ไก่เล็กฮอร์นอายุ 4-6 อาทิตย์ ขนงอกเร็วกว่าไก่โรด ขนบนหลังของลูกไก่บาร์ พลีมัธรอค และโรด มักงอกช้า ฉะนั้น งานคัดเลือกในเรื่องนี้จึงควรถือหลักขนคลุมเต็มตัวเร็วและนํ้าหนักตัวเมื่ออายุ 4 อาทิตย์ ทั้งนี้ควรพิจารณารวมทั้งลักษณะที่ดีอื่น ๆ ด้วย

ไก่ที่ขนงอกเร็ว สังเกตเมื่ออายุ 10 วันจะมีขนปีกและขนหางยาวกว่าไก่ที่ขนงอกช้า การเริ่มคัดเลือกทำพันธุ์ตั้งแต่อายุนี้เป็นทางช่วยได้อย่างหนึ่งที่จะให้ได้ไก่ที่ขนงอกเร็ว

ไก่ลูกผสมโดยทั่ว ๆ ไปขนงอกเร็วในระยะอายุ 4-6 อาทิตย์ พอโตเต็มที่การเจริญของขนมักอยู่ในอัตราปานกลางระหว่างของพันธุ์พ่อแม่

 

 

 

ADS Fix3
ADS Fix5