ดูถ่ายทอดสด "อัพเดตทุกเรื่องราวข่าวสารวงการไก่ชน ดูถ่ายทอดสดไก่ชน ครบทุกสนาม ทีเด็ดไก่ชน อัพเดทข่าวไก่ชนทุกประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งความรู้สาระเรื่องที่เป็นประโยชน์ผู้เลี้ยงไก่ชน"

ไฮไลท์ไก่ชนล่าสุด

B1
ADS B2
ADS B3
ADS B4
หน้าหลัก บทความไก่ชน ภาวะตับวายเฉียบพลันจากเห็ดพิษ ภัยร้ายที่มาในช่วงฤดูฝน

ภาวะตับวายเฉียบพลันจากเห็ดพิษ ภัยร้ายที่มาในช่วงฤดูฝน

วันอังคาร 07 กันยายน 2564 ยอดเข้าชม 115
SHARE ON:

 

 

    “ภาวะตับวายเฉียบพลันจากเห็ดพิษ” เป็นปัญหาที่พบได้ในหลายภูมิภาค เช่น ภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศไทย มักพบอุบัติการณ์สูงขึ้นในช่วงฤดูฝน เนื่องจากปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีการเจริญเติบโตของเห็ดในบริเวณต่างๆ ของประเทศ โดยพิษจากเห็ดบางชนิด เช่น เห็ดระโงกหิน ระงาก หรือตายซาก ทำให้เกิดความรุนแรงของอาการในหลายระดับ ตั้งแต่รุนแรงเพียงเล็กน้อย ภาวะตับวายเฉียบพลัน จนถึงอาการรุนแรงที่ถึงแก่ชีวิต โดยผู้สูงอายุและเด็กมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่รุนแรง เช่น ภาวะตับวายเฉียบพลัน ได้มากกว่าวัยอื่นๆ

หากกินเห็ดพิษแล้ว ผู้ป่วยมักมีอาการในช่วงแรกที่ไม่จำเพาะ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง และปวดท้องได้ภายใน 12 ชั่วโมงหลังกิน และมีอาการดังกล่าวนานเกินกว่า 6 ชั่วโมงขึ้นไป แต่มักไม่เกิน 24 ชั่วโมง บางรายพบภาวะขาดน้ำและเกลือแร่เสียสมดุลได้ หลังจากนั้นผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นช่วงสั้นๆ ภายใน 1-3 วัน และผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะเข้าสู่ระยะท้ายทำให้มีอาการของภาวะตับวายเฉียบพลัน เช่น ตัวเหลือง ซึม ชัก ร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น ไตทำงานผิดปกติ ปัสสาวะออกน้อยลง เหงื่อออกมากกว่าปกติ น้ำลายและน้ำตาไหล มองเห็นไม่ชัด เป็นต้น


การวินิจฉัยภาวะตับวายเฉียบพลันจากเห็ดพิษ อาศัยประวัติเป็นสำคัญ โดยควรจำแนกลักษณะของเห็ดที่กิน หรือให้นำเห็ดที่เหลือจากการปรุงอาหารมาให้ดู ประวัติอาการของระบบทางเดินอาหาร และควรสังเกตอาการแสดงของภาวะตับวายเฉียบพลันในระยะท้ายของโรค ได้แก่ ตัวเหลือง ตาเหลือง และตับโต ซึ่งเป็นอาการที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องพบแพทย์ ซึ่งหากเพิ่งกินเห็ดพิษมา แพทย์อาจทำการล้างพิษในกระเพาะอาหาร

หากผู้ป่วยกินเห็ดและเริ่มมีอาการที่สงสัยว่าอาจเกิดจากพิษของเห็ด ไม่ควรรอให้อาการดีขึ้นเอง ควรรีบไปโรงพยาบาล ซึ่งผู้ป่วยมักได้รับการรักษาไว้ในโรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการ และใช้ยาประกอบการรักษาภาวะพิษจากเห็ด หากมีอาการรุนแรงจนถึงภาวะตับวายเฉียบพลัน ผู้ป่วยอาจได้รับการเปลี่ยนถ่ายพลาสมา การฟอกเลือด รวมไปถึงการปลูกถ่ายตับ ดังนั้น การป้องกันการกินเห็ดพิษจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ไม่ควรนำเห็ดที่ไม่ทราบชนิดแน่ชัดมาปรุงอาหาร อีกทั้งเห็ดพิษข้างต้นบางชนิดมีลักษณะคล้ายกับเห็ดที่สามารถกินได้เป็นอย่างมาก จึงอยากขอให้ทุกคนใช้ความระมัดระวังในการบริโภคเห็ดที่เก็บมาเอง

 

 

 

 

แหล่งข้อมูล

อ.นพ.ทรงพล เกษสุวรรณ และ รศ.นพ.พรเทพ ตั่นเผ่าพงษ์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ADS Fix3
ADS Fix5