ยุคโบราณ
แรกเริ่มเดิมที่นั้น กฎกติกาในการชนไก่ไม่มีอะไรมากนัก ดังนี้ เอาไก่สองตัวมาตีกัน ตีกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีฝ่ายแพ้ชนะ ไม่มีการพักยกให้น้ำไก่ ไม่มีการพันเดือยดังเช่นทุกวันนี้ แพ้เมื่อไหร่เลิกชนกันทันที
ต่อมาการชนไก่เริ่มเป็นที่รู้จักของผู้คนและเป็นที่นิยมกันมากขึ้นๆ กฎกติกาต่างๆ มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ เริ่มมีการจับเวลา โดยนำเอากะลามะพร้าวหรือขันที่เจาะรูมาวางลอยในภาชนะใส่น้ำ เช่น ตุ่มน้ำ โอ่งน้ำ ครุถัง กะละมัง ตามแต่จะหาได้ในท้องถิ่น เมื่อกะลามะพร้าวหรือขันจมน้ำให้ถือว่าหมดเวลาชนกัน
กะละมะพร้าวหรือขันน้ำจมน้ำเมื่อไหร่เรียกว่า “หมดหนึ่งอัน” มีการพักยกให้ไก่ได้พักเหนื่อย เริ่มรู้จักการให้น้ำไก่ ช่วงพักยกก็ใช้กะลามะพร้าวหรือขันอันเดิมลอยในน้ำเช่นเดียวกัน เมื่อกะลามะพร้าวหรือขันจมน้ำอีกครั้งหนึ่งก็ให้ถือว่าหมดเวลาพัก ตีหนึ่งอันและพักหนึ่งอันสลับกันไปเรื่อยๆ ส่วนจะชนกันกี่อันนั้น ขึ้นอยู่กับเจ้าของไก่ทั้งสองฝ่ายจะตกลงกัน
ยุคปัจจุบัน
กติกาในการชนไก่ในสนามไก่ชนแต่ละแห่งจะคล้ายกัน แต่อาจจะไม่เหมือนกันทั้งหมด การชนไก่จะชนกันเป็นยกคล้ายกับนักมวย สำหรับในวงการไก่ชนแล้วจะนิยมเรียกว่า “อัน” การชนไก่แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
1. การแข่งขันกีฬาชนไก่ แบบอาชีพ
การแข่งขันการชนไก่แบบสายอาชีพ จะทำการแข่งขันเฉพาะวันเสาร์ และวันอาทิตย์ โดยเริ่มตั้งแต่ 8.00 น.เป็นต้นไปจะหยุดแข่งขันในวันที่ตรงกับวันพระและวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยในการแข่งขันจะมีกติกาการแข่งขันทั่ว ๆ ไป ดังนี้
1.เปรียบไก่โดยการจับตัว ประเมินน้ำหนัก เทียบความสูงโดยเจ้าของไก่เป็นผู้ตัดสินใจ
2.ไก่ที่เข้าแข่งขันใช้พลาสเตอร์เทปพันปิดเดือย
3.การแข่งขันไม่เกิน 12 อัน(12 ยก) ใช้เวลาแข่งขันยกละ 20 นาที พัก 20 นาที
4.ระบบการตัดสินแพ้ชนะ ( แพ้วิ่งหนีหันหลังไม่สู้ 3 ครั้ง นอนหรือหมอบให้ลุกขึ้นสู้ ไม่สู้ถือว่าแพ้)
2. การแข่งขันกีฬาชนไก่ แบบสมัครเล่น(ฺBoxing)
การแข่งขันการชนไก่แบบสมัครเล่น จะทำการแข่งขันเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ โดยเริ่มตั้งแต่ 8.00 น.เป็นต้นไปจะหยุดแข่งขันในวันที่ตรงกับวันพระและวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยในการแข่งขันจะมีกติกาการแข่งขันทั่ว ๆ ไป ดังนี้
1.ลงทะเบียนทำประวัติสายพันธุ์ และชั่งน้ำหนัก
2.เปรียบไก่โดยใช้น้ำหนัก และความสูงเป็นเกณฑ์
3.ไก่ที่แข่งขันต้องสวมเดือยด้วยนวมมาตรฐานของสนาม
4.เข้าปาก เสริมปีกไก่ได้ก่อนการแข่งขัน
5.แข่งขัน 5 ยก ยกละ 10 นาที พัก 2 นาที
6.การให้น้ำ ให้ในถาดมุมของตนภายในสนาม โดยใช้อุปกรณ์ที่ทางสนามจัดให้
7.ไม่มีการไขหัว ถ่างตา และเย็บแผล ระหว่างพักยก
8.ห้ามใช้น้ำมันหม่อง สารเคมีใดๆ และยาโด๊ป เมื่อตรวจพบถูกปรับแพ้
9.วัสดุที่ใช้ในการแข่งขัน เช่น ข้าวสุก ขนไก่แยงคอ น้ำ ใช้ของสนาม
10.ระบบการตัดสินแพ้ชนะ
- แพ้วิ่งหนี หันหลังไม่สู้ 3 ครั้ง นอนหรือหมอบให้ลุกขึ้นสู้ ไม่สู้ถือว่าแพ้เทคนิคัลน็อกเอาท์ (Tko’s)
- ปากหลุด ปากถอดหรือหักปล้องอ้อย ตาปิดมีเลือดวิ่งเข้าตา และบาดแผลในดุลยพินิจของนายสนามเห็นว่าไม่ควรแข่งขันต่อไปจะยุติการแข่งขัน ถือว่าแพ้ อาร์เอสซี (RSC) (เจ้าของไก่ต้องการยอมแพ้ได้ เมื่อเห็นว่าไก่ของตนไม่อยู่ในสภาพที่จะแข่งขันต่อไป โยนผ้าขาว)
- การให้คะแนน ใชัระบบคอมพิวเตอร์ โดยกรรมการ 3 ท่าน กดให้คะแนนตั้งแต่ยกที่ 4 ตีถูกคู่ต่อสู้ชัดเจน 1 คะแนน (กรรมการใน 3 ให้จึงได้คะแนน) ตีถูกคู่ต่อสู้ออกอาการชัดเจน 2 คะแนน (กรรมการ 2 ใน 3 ให้จึงได้คะแนน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.gaichon.com , www.kaichon.com