ดูถ่ายทอดสด "อัพเดตทุกเรื่องราวข่าวสารวงการไก่ชน ดูถ่ายทอดสดไก่ชน ครบทุกสนาม ทีเด็ดไก่ชน อัพเดทข่าวไก่ชนทุกประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งความรู้สาระเรื่องที่เป็นประโยชน์ผู้เลี้ยงไก่ชน"

ไฮไลท์ไก่ชนล่าสุด

B1
ADS B2
ADS B3
ADS B4
หน้าหลัก บทความไก่ชน ประวัติไก่ชน ที่ยาวนานตั้งแต่สมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

ประวัติไก่ชน ที่ยาวนานตั้งแต่สมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

วันจันทร์ 02 พฤศจิกายน 2563 ยอดเข้าชม 268
SHARE ON:

 

         

 

 

ประวัติไก่ชน ที่ยาวนานตั้งแต่สมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
ประวัติไก่ชน

ไก่ชน มีประวัติเล่าขานกันมาตั้งแต่สมัย พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ( 356 – 323 ปี ก่อนคริสตกาล ) ซึ่งเป็นจอมจักรพรรดิของกรีก ได้กรีธาทัพแผ่อิทธิพลขยายอาณาจักรเข้ามายังประเทศอินเดีย มีเรื่องเล่ากันว่าแม่ทัพนายกองได้เห็น การชนไก่ ที่อินเดีย จึงได้นำ ไก่ชน ไปขยายพันธุ์ ณ เมืองอเล็กซานเดรีย ซึ่งอยู่ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน หลังจากนั้นได้นำไก่ที่ขยายพันธุ์ได้ไปฝึกให้มีชั้นเชิงการต่อสู้แบบโรมัน เพื่อนำไปต่อสู้ในสนามโคลีเซียม

        เมื่ออังกฤษปกครองอินเดียได้นำ ไก่ชน จากอินเดียเข้าไปเผยแพร่ในอังกฤษ โดยยอมรับว่า กีฬาไก่ชน เป็นเกมกีฬาที่ควรได้รับความนิยมจากบุคคลชั้นสูงเช่นเดียวกับการแข่งม้าและฟันดาบ นอกจากนี้ กีฬาชนไก่ ยังได้เผยแพร่เข้าไปในประเทศสหรัฐอเมริกาอีกด้วย


ไก่ชนในเอเซีย

 

 


       

          กีฬา ไก่ชน หรือ ตีไก่ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศแถบเอเซีย เช่น ไทย พม่า ลาว เขมร มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย

          การชนไก่ ในแถบเอเซียมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน และเชื่อว่า ไก่ชน มีพัฒนาการมาจาก ไก่ป่า ซึ่งมนุษย์นำมาเลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหารประจำบ้าน เมื่อ ไก่ป่า มาอยู่กับคนนานเข้า ก็ขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
นิสัยประจำตัวของไก่คือหวงถิ่นที่อยู่ ถ้ามีไก่ตัวอื่นๆ ข้ามถิ่นเข้ามาก็จะออกปกป้องที่อยู่อาศัย หรือเมื่อมีการแย่งผสมพันธุ์กับตัวเมีย ไก่ตัวผู้ก็จะตีกัน ซึ่งทำให้เกิดการถือหางกันระหว่างเจ้าของไก่ และด้วยนิสัยของนักพนันจึงทำให้มีการแข่งขันกัน การพัฒนาสายพันธุ์ของ ไก่ป่า จึงมีวิวัฒนาการเรื่อยมา จนเป็นไก่ชน


ไก่ชนในเมืองไทย

        ในอดีต พันธุ์ ไก่ชน ไทยเป็น “ มรดกของไทย “ มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งถึงกรุงรัตนโกสินทร์ มีหลายสายพันธุ์ด้วยกัน แต่ที่สำคัญที่สุดคือไก่ชนพันธุ์ “ ประดู่หางดำ ” และไก่ชนพันธ์ “ เหลืองหางขาว ” ในสมัยกรุงสุโขทัย ไก่ชนประดู่หางดำพันธุ์แสมดำ ได้ชื่อว่า “ ไก่พ่อขุน ” เนื่องจากว่าเป็นไก่ชนที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงโปรด

           สมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงนำ “ ไก่ชนเหลืองหางขาว ” จากบ้านกร่าง เมืองพิษณุโลก ไปชนชนะไก่ชนของพระมหาอุปราชาที่กรุงหงสาวดี ไก่พันธุ์นี้เป็นที่นิยมเลี้ยงกัน ตามซุ้มที่เลี้ยงไก่ชนมักจะมี ไก่ชนเหลืองหางขาว เลี้ยงไว้เพื่อเป็นไก่นำโชค และนิยมเรียกชื่อพันธ์ไก่ชนนี้ว่า“ไก่เจ้าเลี้ยง ”


          เนื่องจากประเทศไทยอยู่ใกล้กับอินเดีย จึงทำให้ไทยได้รับขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อทางศาสนา ตลอดจนศิลปวิทยาการต่างๆมาจากอินเดียหลายอย่าง อาจจะเป็นไปได้ที่ไทยได้นำ ไก่ชน จากอินเดียมาเพาะเลี้ยง และคงจะมีการนำ ไก่ชน เข้ามาก่อนที่อังกฤษจะนำ ไก่ชน ไปจากอินเดีย ทั้งนี้เนื่องจากว่า สมเด็จพระนเรศวรฯ ได้ทรงใช้ ไก่ชน ดำเนินกลยุทธ์ทางการเมืองมาก่อนที่อินเดียจะเสียเอกราชให้แก่อังกฤษเสียอีก

          แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเป็นไปได้ที่ ไก่ชน ของไทยมีมานานก่อนแล้ว แต่ ไก่ชนพันธุ์อินเดีย คงจะเข้ามาในประเทศไทยพร้อมๆ กับศาสนาพราหมณ์และวัฒนธรรมอื่นๆ


          การต่อไก่ชนไก่และการฝึกไก่ชนมีปรากฏอยู่ในวรรณคดีไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็มีการละเล่น เพลงปรบไก่ และ การชนไก่ ในฤดูที่ว่างเว้นจากการทำเกษตรกรรมเรื่อยมา จนกระทั่งมาถึง

           ยุคสมัยเชื่อผู้นำชาติพ้นภัย ( จอมพล ป. พิบูลสงคราม ) ที่ส่งเสริมการทำสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ ได้นำ ไก่พันธุ์เล็กฮอร์น พันธุ์ออสตราลอฟ และพันธุ์โรดไอส์แลนด์เรด มาทำการผสมพันธุ์กับ ไก่ชน ที่ชาวบ้านเลี้ยงกันอยู่จนกระทั่งกลายเป็นไก่พันธุ์ทาง ทั้งยังประกาศให้เลิกเลี้ยง ไก่ชนอีกด้วย

           ไก่ชนเลือดแท้ในยุคสมัยนั้นจึงมีเหลือแอบเลี้ยงกันบางแห่งเท่านั้น ทำให้วงการไก่ชนของไทยซบเซาลงไป ครั้นถึงรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มีการฟื้นฟู กีฬาไก่ชน ขึ้นมาอีกจนกระทั่งทุกวันนี้

            ปัจจุบันการเลี้ยง ไก่ชน แยกออกได้หลายประเภท ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่างๆตามความนิยม เช่น เลี้ยงเพื่อการค้า โดยการขายเป็นพ่อพันธุ์ไก่ชนในราคาที่สูง หรือเพื่อการนำไก่ชนไปแข่งขัน และเลี้ยงเป็นอุตสาหกรรมในฟาร์มขนาดใหญ่ เพื่อทำธุรกิจส่งออกไก่ชน เป็นต้น

 

 

 

 

(ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phichit/chaowalit_w/index.html)

ADS Fix3
ADS Fix5