ดูถ่ายทอดสด "อัพเดตทุกเรื่องราวข่าวสารวงการไก่ชน ดูถ่ายทอดสดไก่ชน ครบทุกสนาม ทีเด็ดไก่ชน อัพเดทข่าวไก่ชนทุกประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งความรู้สาระเรื่องที่เป็นประโยชน์ผู้เลี้ยงไก่ชน"

ไฮไลท์ไก่ชนล่าสุด

B1
ADS B2
ADS B3
ADS B4
หน้าหลัก บทความไก่ชน การเลี้ยงไก่ชน ให้แข็งแรง

การเลี้ยงไก่ชน ให้แข็งแรง

วันจันทร์ 05 ตุลาคม 2563 ยอดเข้าชม 122
SHARE ON:

     

              

 

การเลี้ยงไก่ชน ให้แข็งแรง
การเลี้ยงไก่ชน จะว่าไปแล้วก็เหมือนจะเลี้ยงง่ายแต่บางทีก็เหมือนจะเลี้ยงยาก เอ้ะยังไงกัน
แต่ที่แน่ๆการเลี้ยงไก่ชนนั้นผู้เลี้ยงจะต้องรักและชื่นชอบไก่ชนพอสมควรถึงจะเลี้ยงให้แข็งแรงได้ วันนี้จะเอาสูตรการเลี้ยงไก่ชนที่เรียกว่าเป็นมาตรฐานการในเลี้ยง

ควบคุมโรคที่เกิดจากไก่ให้ได้

หากคิดจะเลี้ยงไก่แล้วละก็คุณต้องเตรียมตัวและป้องกันปัญหาต่างๆไว้อย่างดี หากเลี้ยงแล้วไก่ตายก็คงจะไม่คุ้มแน่นอน เพราะฉะนั้นมาดูเรื่องการควบคุมโรคกันก่อน
1. ควรดูแลทำความสะอาดเล้าและภาชนะต่าง ๆ ที่วางไว้ในเล้าไก่และบริเวณใกล้เคียงด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และอย่าปล่อยให้เล้าชื้นแฉะเพราะจะเป็นที่หมักหมมของเชื้อโรค
2. สร้างเล้าให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
3. กำจัดแหล่งน้ำสกปรกรอบ ๆ บริเวณบ้านเล้าไก่และใกล้เคียง
4. อาหารไก่ต้องมีคุณภาพดี อาหารที่กินไม่หมดให้ทิ้งอย่าปล่อยให้เน่าเสีย
5. มีน้ำสะอาดให้ไก่กินตลอดเวลา
6. ถ้ามีไก่ป่วยไม่มากนัก ควรกำจัดเสีย และจัดการเผาหรือฝังให้เรียบร้อยจะช่วยกำจัดโรคได้เป็นอย่างดี
7. อย่าทิ้งซากไก่ลงแหล่งน้ำเป็นอันขาด เพราะเชื้อโรคจะแพร่กระจายไปได้
8. กำจัดซากไก่โดยวิธีเผาหรือฝัง ไม่ควรนำไปจำหน่าย เพราะจะทำให้เกิดโรคแพร่ระบาดได้
9. วิธีป้องกันโรคอีกอย่างหนึ่งก็คือ เราไม่ควรซื้อไก่สดจากตลาดหรือหมู่บ้านอื่นมากิน เพราะไก่พวกนี้อาจเป็นโรคมาแล้วก็ได้
10. เมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้น เจ้าของไก่ควรติดต่อหารือกับสัตว์แพทย์โดยเร็ว

โรคระบาดไก่ที่ต้องใช้วัคซีน

โรคนิวคาสเซิล เป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงที่สุด มีระบาดทั่วไป ถ้าเกิดขึ้นในฝูงใดมักจะทำให้ตายหมดเล้า ในไก่ใหญ่ทำให้ไข่ลด
อาการ ปกติจะแสดงอาการป่วยหลังได้รับเชื้อโรคเป็นเวลา 3-6 วัน โดยแสดงอาการหายใจลำบาก มีเสียงดังในเวลาหายใจ มีน้ำมูกไหล ท้องเสีย กระตุก คอบิด ขาและปีกเป็นอัมพาต ใช้การไม่ได้ บางรายอุจจาระร่วงเป็นสีเขียว แม่ไก่ที่กำลังไข่จะหยุดไข่ทันที และมักตายภายใน 1 อาทิตย์
ไก่ที่หายจากโรคนี้มักจะพิการ คอบิด ขาและปีกใช้งานไม่ได้ดี และจะเป็นตัวอมโรคต่อไป
สาเหตุและการติดต่อ
โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง การติดต่อของโรคเป็นไปรวดเร็วมากดังนี้
ติดต่อกันโดยตรงในไก่ป่วยที่อยู่ใกล้ชิดกัน กินน้ำและอาหารร่วมกัน
ติดไปกับอุปกรณ์การเลี้ยงไก่ คนและสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว ตลอดจนนก หนู และแมลงวันก็เป็นตัวนำโรคได้
จากการชำแหละไก่ที่ป่วยและตายด้วยโรคนี้ ซึ่งในซากไก่จะมีเชื้ออยู่ในปริมาณสูงมากพอที่จะแพร่ระบาดไปยังไก่ตัวอื่น ๆ ในเล้าและไก่บริเวณใกล้เคียงได้


โรคฝีดาษไก่ เป็นโรคระบาดที่พบได้มากในลูกไก่และไก่รุ่น นอกจากนี้ นกพิราบก็เป็นโรคนี้ได้ ติดต่อได้รวดเร็วมาก มักจะทำให้ไก่ตายเป็นจำนวนมาก ตัวที่ไม่ตายจะแคระแกรนไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร เตรียมรับมือไว้ให้ดี
อาการ หลังจากไก่ได้รับเชื้อโรคแล้วประมาณ 1 อาทิตย์จะแสดงอาการ ซึ่งอาจพบได้ 2 ลักษณะคือ
เกิดตุ่มฝีดาษลักษณะคล้ายหูดเกิดขึ้นตามผิวหนังบริเวณที่ไม่มีขน เช่น บริเวณหน้า หงอน เหนียง หนังตา และขา ระยะแรกเป็นเม็ดตุ่มเล็ก ๆ ต่อมาจะค่อย ๆ ใหญ่ขึ้น ที่หัวของฝีเป็นแผลมีสะเก็ดสีน้ำตาลปิดอยู่ ต่อมาจะแห้งและลอกหลุดออกไป
ตุ่มฝีดาษ ชนิดที่เป็นแผลเกิดขึ้นในลำคอ ทำให้กินอาหารลำบากน้ำลายไหลยืด มีกลิ่นเหม็นเป็นมาก ๆ จะทำให้ไก่ตายได้


โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ เป็นโรคติดต่อทางระบบหายใจ เกิดได้กับไก่ทุกอายุ แต่ในลูกไก่เล็กจะติดโรคนี้ได้ง่ายกว่าและตายมากกว่าในไก่ใหญ่
พยาธิภายนอก พยาธิภายนอก ได้แก่ เหา หมัด ไร ที่อาศัยอยู่ตามผิวหนังและขนไก่จะดูดเลือดและกัดกินผิวหนังและขนไก่ ทำความรำคาญทั้งกลางวันและกลางไก่ไม่มีความสุข สุขภาพไก่อ่อนแอ ซูบผอมลง โลหิตจางและความต้านทานโรคลดลง


เตรียมพื้นที่เลี้ยงไก่ชน

อย่างน้อยๆต้องมีพื้นที่ปล่อยให้ไก่ได้เดิน ควรมีความกว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร และควรที่จะมี คอน ให้ไก่เกาะ เพื่อที่ไก่จะได้บินเกาะคอน เป็นการออกกำลังกายไปในตัว  เล้าปล่อย ควรมีอากาศที่ถ่ายเทได้สะดวก มีแสงแดดอ่อนๆส่องถึงได้  ภาชนะที่ใส่อาหารควรจัดที่ให้ดูเรียบร้อย เช็คน้ำที่ไก่กิน  อย่าให้ขาดหรือหมดและเป็นน้ำสะอาด

ไก่ชนต้องได้รับการฝึก

– ไก่สายพันธุ์พม่า ด้วยลีลาชั้นเชิงเป็นไม่เดินเข้าหาคู่ต่อสู้ การออกกำลังกายจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีมุ้งกั้น หรือเรียกกันว่าเตะมุ้ง การเตะมุ้งควรจะพันเดือยไก่ให้ดี ป้องกันเดือยโค่นหรือเดือยหักได้
– สายพันธุ์ไก่ไทยหรือไก่ลูกผสม ที่มีลีลาชั้นเชิงเป็นไก่เชิงหรือไก่บุกเพื่อที่จะทำร้ายคู่ต่อสู้ การออกกำลังกายจะเน้นการปล้ำนวม โดยการสวมปากไม่ให้จิกกันจะเน้นการเอากำลังเป็นหลัก
– ถ้ากักขังเอาไว้ในเล้าในสุ่ม ไก่ชนไม่ได้ออกกำลังกาย ไก่ชนจะอ่อนแอลงเรื่อยๆ
เมื่อเลี้ยงเป็น เลี้ยงดี ก็ทำให้ไก่ชนได้รับอาหารที่มีคุณค่า มีสารอาหารที่ดีมาเสมอรวมกับได้รับยาสมุนไพรที่เป็นประโยชน์อีก ทำให้มีภูมิต้านทานโรคที่สูง ท้องไส้ระบบย่อยอาหารก็ดีเป็นปกติ

เทคนิคการเลี้ยงไก่ชน

ควรหมั่นสังเกตไก่อย่างละเอียด ในการออกกำลังกายให้ ไก่ชน เพราะไก่ชนแต่ละตัวมีความแข็งแรงของร่างกายต่างกัน การเตะมุ้งนาน ๆ อาจทำให้ไก่ชนขาเสียได้ ไก่ชนสายพันธุ์พม่าคือคู่ปรับสำคัญของไก่สายพันธุ์ไทย เช่น ไก่ไทยป่าก๋อย หรือ ไก่ลูกผสมที่มีลีลาชั้นเชิงบุกตี จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาไก่นวม หรือไก่ปล้ำที่เป็นไก่ม้าล่อ เพื่อฝึกการวิ่งหรือเรียกอีกอย่างว่าฝึกการออกกำลังกายปอด เพราะระบบหายใจไก่เลี้ยงชนจำเป็นอย่างมาก

เป็นยังไงกันบ้างกับ การเลี้ยงไก่ชน ให้แข็งแรง สมบูรณ์ พร้อมต่อสู้เมื่อคุณต้องการเอาไปแข่ง สำหรับคนที่เลี้ยงเพื่อความสวยงามก็สามารถนำเทคนิคและข้อมูลเหล่านี้ไปปรับใช้ตามความเหมาะสมได้

 

ที่มา:  ไทยรัฐ 

ADS Fix3
ADS Fix5