ไก่ชน สายพันธุ์ไทย
ไก่ชน ในประเทศไทยมีหลากหลายชนิดด้วยกันแต่เราสามารถจำแนกไก่ชน คร่าวๆ ได้ดั้งนี้
ไก่ชน เหลืองหางขาว แหล่งกำเนิด ไก่ชนสายพันธุ์เหลืองหางขาว และ เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปแล้วว่า มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลกจนถึงขณะนี้ ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช นับว่าเป็นของดีของจังหวัดพิษณุโลก และ เป็นสมบัติของชาติไทย ที่กำลังได้รับความสนใจ กันอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ ดังนั้น เพื่อให้การอนุรักษ์ และ พัฒนาสายพันธุ์ ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช ดำเนินไปในทิศทางเดียวกันคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และลักษณะประจำพันธุ์ที่แน่นอน สำนักปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลกจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานพันธุ์ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2542 ดังต่อไปนี้ สายพันธุ์ เหลืองหางขาว เพศผู้ มีน้ำหนักตั้งแต่ 3 กิโลกรัมขึ้นไป สูงตั้งแต่ 60 เซนติเมตรขึ้นไป(วัดจากใต้ ปากล่างตั้งฉากถึงพื้นที่ยืน) เพศเมีย มีน้ำหนักตั้งแต่ 2 กิโลกรัมขึ้นไป สูงตั้งแต่ 45 เซนติเมตรขึ้นไปไก่ชนพันธุ์ประดู่เลาหางขาว แหล่งกำเนิด เชื่อว่ามาจากพระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี กำแพงเพชร มีนบุรี หนองจอก สุโขทัย ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช ประเภท เป็นไก่ชนไทยขนาดกลาง ตัวผู้หนัก 3.00 – 4.00 กก. ตัวเมียหนัก 2.50 – 3.00 กก. สีของเปลือกไข่ เปลือกไข่สีน้ำตาลอ่อน สีของลูกเจี๊ยบ ขนหัว ขนคอขาว ขนหางดำ ปีกในสีดำ ปีกนอกสีขาว หน้าคอ หน้าท้องสีขาว ประวัติความเป็นมา ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีความเป็นมาอย่างไร พัฒนามาจากไก่สายพันธุ์ใด ในประวัติศาสตร์ หรือการบันทึกยังไม่พบว่าเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญท่านใดในประวัติศาสตร์
ไก่ชนพันธุ์ประดู่หางดำ มีลักษณะเด่นๆ พอที่จะสังเกตได้ดังนี้
– ปาก เป็นสายพันธุ์ไก่ชนที่มีปากสีดำ อูมใหญ่ โดยปากจะคล้ายปากนกแก้ว ปากบนมีร่องน้ำทั้งสองข้าง ระหว่างร่องน้ำจะเป็นสันราง
– ตา ตาสีประดู่ หรือแดงอมม่วง หรือตาออกสีดำ หรือสีแดง
– หงอน หงอนหินไม่มีจักเลย
– สร้อยคอ สร้อยคอสีประดู่ยาวประบ่า ปีกใหญ่ยาว สร้อยปีกสีเดียวกับสร้อยคอ สร้อยหลังสีประดู่ยาวระย้าประก้น
– ขน ขนลำตัวขนปีกและหางสีดำ กะลวยหางดำ โคนขาใหญ่
– หน้าอก หน้าอกกว้าง และยาวเนื้อเต็มแน่น
– ขาแข้ง เล็บและเดือย สีดำ
– เพศเมียสีเดียวกับเพศผู้แต่ไม่มีสร้อยทองแดงหางดำ
ไก่ชน พันธุ์ทองแดงหางดำ ไก่ชนสายพันธุ์นี้ เป็นพันธุ์แท้แต่โบราณ ทราบได้สมัยอยุธยา ตอนฉลองกรุงหงสาวดีจัดให้มีการชนไก่ หน้าพระที่นั่งพระเจ้าบุเรงนอง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชครั้นยังทรงพำนักอยู่หงสาวดี ได้มีรับสั่งให้สมเด็จพระน้องยาเธอ พระเอกาทศรถ นำไก่ไทยไปร่วมชนในงานฉลองกรุงหงสาวดีครั้งนั้นด้วยไก่ทองแดงหางดำ ได้ไปสร้างชื่อเสียงเอาชนะไก่พม่าได้อย่างง่ายดาย แหล่งกำเนิด ไก่ทองแดงหางดำ มีแหล่งกำเนิดอยู่ทั่ว ๆ ไป ไก่ดังในอดีตที่ เพชรบุรี ราชบุรี อยุธยา ชลบุรี สุพรรณบุรี พิจิตร เพชรบูรณ์ เป็นต้น ไก่ทองแดงหางดำ เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนักโดยเฉลี่ยตัวผู้ประมาณ 3-3.5 กิโลกรัม ตัวเมีย 2.5-3 กิโลกรัม สีของเปลือกไข่และลูกเจี๊ยบ เปลือกไข่สีน้ำตาลอมแดง ลูกเจี๊ยบสีแดง ทั้งตัวแบบไก่โร้ดไอร์แลนด์เรด ปาก แข็ง เล็บ เดือยสีเหลืองอมแดง ตาสีแดงอ่อน ไก่ทองแดงหางดำแบ่งตามเฉดสีได้ 4 ชนิด คือ
1. ทองแดงใหญ่ ขนพื้นตัวและขนสร้อยจะมีสีเข้มแดงอมดำ ปากแข็ง เล็บเดือยสีเหลือง อมแดงอม ดำตาแดง ไก่ทองแดงใหญ่บางแห่งเรียกว่าไก่ทับทิม
2. ทองแดงตะเภาทอง ขนพื้นตัวและขนสร้อยจะสีออกเหลืองส้มตามแบบไก่ตะเภาหรือสีแบบสีทองคำแท่ง ปาก แข้ง เล็บ เดือย มีสีเหลืองอมแดง ตาเหลืองอมแดง
3. ทองแดงแข้งเขียวตาลาย ขนพื้นตัวขนสร้อยจะสีเข้มอมดำคล้าย ๆ แดงใหญ่ แต่ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเขียวอมดำ ตาลาย แดงดำ
4. ทองแดงอ่อนหรือสีปูนแห้ง ขนพื้นตัว ขนสร้อย จะสีแดงซีด ๆ แดงอ่อนๆ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมแดงเหมือนกับตะเภาทองไก่ชน พันธุ์เทาหางขาว ไก่เทา หรือไก่สีเทา หรือไก่เถ้า มีแหล่งกำเนิดทั่วไปของประเทศไทย แหล่งกำเนิดไก่เทาที่มีชื่อเสียง เช่น จังหวัดตาก, อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี, อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี และแถบภาคอีสานจังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ นครราชสีมา อุบลราชธานี เป็นต้น ไก่เทาเป็นไก่ขนาดกลางน้ำหนักตัวเฉลี่ยตัวผู้ประมาณ 3-3.5 กก. ตัวเมียประมาณ 2-3 กก.
สายพันธุ์ไก่เทาหางขาวพันธุ์แท้แต่โบราณ มีอยู่ 6 พันธุ์ คือ
1. ไก่เทาทองคำหรือเทาฤาษี เป็นไก่เทายอดนิยมอันดับหนึ่งเหนือไก่เทาอื่นใด ไก่เทาทองหรือเทาเหลืองที่โด่งดังเป็นไก่โทนเถ้าของหลวงเมืองตากชนชนะไก่มากมาย ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ของเทาทองคำคือ ขนพื้นตัวสีเทาอ่อนแบบขี้เถ้าฟืน ขนปีกขนหางพัดสีเทาแบบสีพื้นตัว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนระย้าสีเหลืองทอง แบบเหลืองหางขาว ขนกระรวยโคนเทาปลายขาวหรือกระรวยคู่กลางขาวปลอด ปาก แข้งเล็บ เดือยสีขาวอมเหลืองรับกัน ขนปิดหูสีเหลืองทอง ตาสีขาวอมเหลืองแบบสีปลาหมอตายคล้ายไก่เหลืองหางขาวมาก
2. ไก่เทาทองแดง เป็นไก่เทาอันดับสองรองจากไก่เทาทองคำ ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ของเทาทองแดง ขนพื้นตัวสีเทาแก่ ก้านขนจะแดง ขนปีก ขนหางพัดสีเทาแก่ ขนหางกระรวยสีเทาปลายขาว ก้านขนแดง ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และระย้าสีทองแดงคล้ายไก่ทองแดง หางดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือยสีขาวอมแดง เกล็ดแข้งขอบเกล็ดสีแดงจะออกเข้มกว่ากลางเกล็ด ขนปิดหูสีแดงแบบสร้อย ตาสีแดง
3. ไก่เทาสวาด เป็นไก่เทาอันดับสามรองจากเทาทองแดง ลักษณะเด่น ประจำพันธุ์เทา ขนพื้นตัว ขนปีก ขนหางพัดสีเทาแบบลูกสวาด หรือสีเหมือนแมวสีสวาด หรือแมวโคราช ขนกระรวยสีโคนขนสีสวาด ปลายขนสีขาว ขนปิดหู สีเทาสวาดเข้ม กว่าสีพื้นตัว ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลือง ขอบเกล็ดสีเทา ตาสีเหลืองไพล
4. ไก่เทาหม้อ เป็นไก่เทาอันดับสี่รองจากเทาสวาด ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เทาหม้อ ขนพื้นตัว ขนปีก ขนหางพัด สีเทาแก่ หางกระรวยสีเทาปลายขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ระย้าสีเทาแก่แบบสีมะขามไหม้ ขนปิดหูสีเดียวกับสร้อย ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลือง
5. ไก่เทาขี้เถ้า เป็นไก่เทาอันดับห้ารองจากเทาหม้อ บางแห่งเรียกว่าเทาเงินยวง ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ ขนพื้นตัว ขนปีก ขนหางพัดสีเทาอ่อนแบบสีขี้เถ้าฟืน สีไก่แจ้ดอกหมากหรือสีนกพิราบ หางกระรวยโคนขนสีเทาปลายขนขาวค่อนข้างมาก ขนปิดหูสีเทาอ่อน ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลือง ตาสีขาวขุนแบบควันไฟ
6. ไก่เทาดำ เป็นไก่เทาอันดับหกรองจากไก่เทาขี้เถ้า ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ขนพื้นตัวสีเทาแก่ ขนปีก ขนหางพัดสีเทาแก่ ขนหางกระรวยสีเทาแซมขาวเล็กน้อย สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูสีดำ บางคนเรียกเทาขี้ควาย ปากแข้ง เล็บ เดือยและตาสีดำคล้ำ
ดูข่าวสารและบทความเพิ่มเติมได้ที่บ้านไก่ชน