การดูแลไก่ชนหลังปลดระวางหลังจากกรำศึกมานาน
ไก่ที่จะนำมาทำพ่อพันธุ์หลังจากกรำศึกมานานตลอดช่วงฤดูหนาวถึงฤดูร้อนที่ผ่านมาพอย่างเข้าฤดูฝนไก่จะเริ่มโรยราไม่สามารถเลี้ยงชนได้อีก
เมื่อเราจะปล่อยทำพันธุ์เป็นพ่อไก่เราควรปฏิบัติดังนี้
1.ถ่ายยาล้างลำใส้และเลือดลมด้วยยาดองสุขา 2 ครั้ง เว้น 2 สัปดาห์ต่อครั้ง ให้ไก่กินยาตอนเช้าก่อนกินอาหารครั้งละ ครึ่งช้อนโต๊ะ ถ้ารอยโตก็เพิ่มขึ้นได้ตามสมควร การถ่ายยาเป็นการล้างพิษในตัวไก่ในช่วงนี้ถ้าจะให้ดีสมบูรณ์ให้ใช้น้ำหญ้านางป้อนเช้าเย็นครั้งละ 5 ช้อนโต๊ะ ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ช่วยล้างพิษด้วย โดยเพาะท่านใช้สารเคมีนานาชนิดในการโด๊ปช่วงเลี้ยงชนจะมีสารตกค้างในร่างกายทำให้ระบบภายในทำงานผิดปกติ ไก่จะป่วยโดยไม่แสดงอาการเด่นชัดเรียกว่าภาวะอมโรค อันนี้ต้องระวังนานๆ ก็เสียไก่ไปเลยเอากลับมาเลี้ยงใหม่ก็ไม่สมบูรณ์
2.ดูแลความสมบูรณ์ภายนอกให้ครบทุกอย่าง เช่น ดูเท้าว่าเป็นแผลมีหน่อไหมถ้ามีต้องขังรักษาให้หายก่อนปล่อย เลาะปีกที่ต่อออกในส่วนที่คิดว่าไม่จำเป็นหรือเกินความจำเป็นแต่บางตัวต้องต่อปีกก่อนปล่อยในกรณีไก่นอนบนที่สูงต้องบินประจำใช้กาวต่อก็ไม่หลุด ดูแลโรคผิวหนังโดยเฉพาะกากควรรักษาให้หายโดยใช้ยารักษากากคนให้กินซักครึ่งเม็ด ติดต่อกัน 2-3 ครั้งก็น่าจะหาย(จำชื่อยาไม่ได้วันหลังจำได้จะมาบอก)
3.ไก่ที่จะนำมาเลี้ยงใหม่ในปีหน้าไม่ควรผสมพันธุ์มากเกินไป ควรผสมครั้งละ 1 แม่ และมีช่วงว่างพักผ่อนอย่าปล่อยคลุมฝูงจะทำให้ไก่เสียฟอร์มง่าย เช่น อ้วนเกิน ผอมเกิน ซึ่งเป็นอันตรายต่อการพัฒนาร่างกายช่วงถ่ายขน ซึ่งอาจทำให้ไก่ไม่เก่งหรือเก่งน้อยลงเมื่อถ่ายขนสอง พ่อไก่ที่ปล่อยคุมฝูงร้อยละ 50 ไม่สามารถเลี้ยงชนใหม่ได้เมื่อถ่ายขนสองสิ่งนี้ต้องระวัง
4. การคัดเลือกพ่อไก่ ไก่ที่ผ่านการชนมาอย่างหนักลากอัน 7-8 ยก ไม่ควรผสมลูกมากในช่วงปีแรกๆ ควรผสมแต่น้อยเพราะไก่ยังให้ลูกไม่สมบูรณ์ลูกจะไม่ค่อยเก่ง แต่จะดีเมื่อขนสามขนสี่ เพราะไก่จะขับสารพิษออกจากร่างกายหมด ร่างกายจะทำงานสมบูรณ์ทุกส่วนน้ำเชื้อจะแข็งแรงดังนั้นไก่ตัวใดชนทางยาวบ่อยต้องสังเกตและคัดสรรเป็นพ่อไก่อย่างระมัดระวังไม่งั้นจะเสียเวลาเลี้ยงลูกไก่ฟรีๆ เป็นปี แต่บางตัวแข็งแรงสมบูรณ์ก็ไม่มีปัญหานี้ครับ
5. ไก่ที่ดูไม่สมบูรณ์ห้ามทำพ่อเด็ดขาด เช่น หน้าซีดไม่แดง ไก่ผอม ไก่อ้วนเกินไป ไก่ป่วยเป็นหวัด หรือเป็นโรคทุกชนิด เป็นต้น
แหล่งข้อมูล วิถีชีวิตเกษตรพอเพียง