ปัจจุบันไก่พื้นบ้านได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก
เพราะมีเนื้อแน่น และรสชาติอร่อย เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคทั่วไปจนมีแนวโน้มว่าปริมาณไก่บ้านอาจไม่เพียงพอต่อความของผู้บริโภคเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ของเกษตรกรมักเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบแบบปล่อยตามธรรมชาติ สำหรับไว้ใช้บริโภคในครัวเรือน จึงทำให้ ขาดการดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจังทั้งการสร้างโรงเรือน อาหาร การป้องกันโรค ตลอดจนสภาพแวดล้อมโดยรอบ จึงส่งผลให้เกิดความเสียหายตามมาแต่ถ้าเกษตรกรหรือชาวบ้านที่สนใจการเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบอาชีพ ควรปรับใช้เทคนิคการเลี้ยงแบบโรงเรือนมาผสมผสานกับการเลี้ยงแบบพื้นบ้าน พร้อมกับการเพิ่มคุณภาพไก่ด้วยการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมระหว่างไก่บ้านกับไก่พันธุ์แท้ เอาใจใส่ดูแลการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบที่สมบูรณ์และครบวงจร ย่อมส่งผลทำให้จำนวนไก่บ้านที่จะออกสู่ตลาดมีปริมาณที่สูง มีคุณภาพ และได้ราคาตามที่ต้องการอย่างแน่นอน
“ไก่พื้นเมืองเป็นลูกผสมระหว่างพ่อพันธุ์ที่เป็นไก่ประดู่หางดำ และที่เจริญเติบโตดีคือพันธุ์พม่าและลูกผสมไก่ไทย ส่วนไก่ชนเป็นพันธุ์พม่า มีจำนวน 60 ตัว ยังเป็นไก่รุ่น ถ้าเป็นไก่ไข่มีแม่พันธุ์ 5 ตัว พ่อพันธุ์ 1 ตัว และมีลูกผสมอีก 50 กว่าตัว”เจ้าของฟาร์มให้รายละเอียดหลักในการคัดเลือกพันธุ์ไก่คุณชัชวาลบอกว่าต้องดูเป็นพันธุ์ที่มีน้ำหนักดีเมื่อโตเต็มที่ และควรโตเร็วด้วย อย่างไก่ไข่จะใช้เป็นพันธุ์ประดู่หางดำและเรดที่ใช้สำหรับเป็นแม่พันธุ์ไข่ โดยใช้ประโยชน์ตั้งแต่เก็บไข่ไว้บริโภคในบ้าน และนำออกไปขาย แล้วยังผลิตเป็นลูกไก่ในเวลาเดียวกัน พันธุ์ดังกล่าวถือว่าเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตจากไข่ดีมาก
แหล่งข้อมูล วิถีชีวิตเกษตรพอเพียง