ดูถ่ายทอดสด "อัพเดตทุกเรื่องราวข่าวสารวงการไก่ชน ดูถ่ายทอดสดไก่ชน ครบทุกสนาม ทีเด็ดไก่ชน อัพเดทข่าวไก่ชนทุกประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งความรู้สาระเรื่องที่เป็นประโยชน์ผู้เลี้ยงไก่ชน"

ไฮไลท์ไก่ชนล่าสุด

B1
ADS B2
ADS B3
ADS B4
หน้าหลัก บทความไก่ชน เซียนไก่ชน ต้องรู้ ความสำคัญของแม่ไก่

เซียนไก่ชน ต้องรู้ ความสำคัญของแม่ไก่

วันอังคาร 04 สิงหาคม 2563 ยอดเข้าชม 81
SHARE ON:

 ความสำคัญของแม่ไก่
            เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ไก่ตัวเมีย- แม่ไก่ เป็นกลไกสำคัญในการผสมพันธุ์ไก่ การผลิตไก่ชนเพราะลูกไก่ที่เกิดมา ตัวผู้จะได้รับการถ่ายทอดความดีมาจากแม่ถึง 70% จากพ่อเพียง 50% นั่นคือ เราต้องยึดถือแม่ไก่หรือไก่ตัวเมียเป็นตัวสำคัญ เรื่องนี้คนโบราณทราบกันมานานแล้ว จึงหวงตัวเมียกันมาก แบบชนิดไม่ยอมเผยแพร่ให้ใคร ถ้าจะให้ก็ต้องเป็นคนสนิท รักใคร่ชอบพอกันจริงๆเพราะตัวเมียที่ดีจะต้องผสมให้ลงลงเหล่าแน่นอน อย่างน้อยๆก็คัดเลือกกันมา 3-4 ชั่วโครตพอจะได้ออกมาซึ้งเป็นความลำบากและใช้เวลานานจึงหวงแหนกันนัก
            การคัดเลือกไก่ตัวเมียไว้ทำแม่พันธุ์ เราควรคัดเลือกตอนไก่ตัวเมียไข่หมดชุดแล้วในการไข่ชุดแรกให้สังเกตดูตอนกำลังไข่ เลือกแม่ไก่ที่ให้ไข่ฟองโต ยาว มากกว่าฟองสั้นๆ เปลือกไข่กระดูกเชิงกรานกว้าง จะได้ไม่มีปัญหาเรื่องไข่ไม่ออก หรือเบ่งไข่จนตาย เมื่อจับตัวเลือกตัวที่จับกลมยาวสองท่อนบานหัวบานท้าย คอยาวตรงหน้ากลมเล็กหงอนหินรัดกระหม่อม ตาตรงตามสายพันธุ์คือตาปลาหมอตายหรือตาลี่ไพล ขอบตาเรียวสองชั้นตาดำกลม ตาขาวมีเส้นเลือดชัดเจน จะเป็นไก่ที่มีความอดทน แข้งเกล็ดกลม มีเกล็ดพิฆาตให้เห็นนิ้วกลมยาวขนเส้นเล็ก น้ำขนดี ขนแห้งไม่เปียก ก้านขนแข็งไม่เปราะ เมื่อได้ลักษณะดีแล้วก็เอามาลองเชิงชนกันดู โดยการมอมหน้าด้วยเขม่าหรือถ่าน คัดเลือกเอาตัวที่ชนตั้งสองหน้ากอดหัว ตีกระหม่อมไม่ลงหัว ตีแม่น ลำหนัก ปากเร็ว ตีเร็ว ตีนเร็วหรือคัดเอาแม่ไก่เชิงกอด ขี่ มัด ทับ ล๊อค เท้าบ่า สาดแข้งเปล่าไว้ทำแม่พันธุ์
เมื่อคัดแม่ไก่ได้แล้ว ให้นำไปถ่ายฆ่าพยาธิ ทำวัคซีนอีกครั้ง หลังจากไข่ชุดแรกหมด ให้บำรุงด้วยอาหารด้วยอาหารไก่ระยะนี้
         ไม่ควรให้แม่ไก่ที่ออกไข่ครอกแรก กกไข่เองจะทำให้แม่ไก่โทรมไม่เจริญเติบโต ลูกไก่ที่เกิดจากแม่สาวจะไม่แข็งแรง และไม่โตเท่าที่ควรให้แม่ไก่ตีกันอาจจะทำให้ไข่แตกในท้อง แม่ไก่จะตาย หรืออาจหยุดไข่หลายวัน การให้อาหารไก่สาวควรเร่งให้อาหารครบหมู่ โดยเฉพาะโปรตีน แร่ธาตุ พวกแคลเซียมจากเปลือกหอย โปรตัสเซียมจากกระดูก สัตว์ป่น ฟอสฟอรัสจากยอดไม้และดอกไม้ หรือให้แร่ธาตุ ไวตามินสำเร็จรูป เช่น ไวตามิน บาร์ยาร์ดกริช เป็นต้น
         การผสมพันธุ์ ไม่ควรให้แม่ไก่อยู่ในเล้าเป็นฝูง เพราะจะทำให้ไก่จิกตีกัน ถ้าเป็นไปได้ควรให้อยู่เล้าละตัว หรือปล่อยให้อยู่อย่างอิสระในไร่ ในสวน ในท้องนา พ่อไก่ไม่ควรให้อยู่กับแม่ไก่ตลอดวัน เพราะมันจะผสมมาก ทำให้แม่ไก่โทรม ต้องดูพ่อไก่อย่าให้มีเล็บคม ต้องหมั่นตัดให้สั้นเพราะมันจะตะกายหลัง ทำให้หลังมีบาดแผลได้ และควรตัดปลายจงอยปากพ่อไก่ออก อย่าให้แหลมคม เพราะจะจิกหัวแม่ไก่จนเกิดแผลเวลาผสมพันธุ์ และถ้าพ่อเดือยยาวต้องตัดเดือยออกให้สั้น เพื่อป้องกันเดือยทิ่มหลังแม่ไก่ หรือทิ่มก้นตัวเอง ทำให้ปล่อยน้ำเชื้อไม่สะดวก แม่ไก่จะรับน้ำเชื้อไม่เพียงพอ ซึ่งจะทำให้ไข่อาจจะตายโคมหรือเป็นไข่ข้าวได้ เมื่อแม่ไก่ไข่ชุดที่สองออกมาหมดชุดแล้ว ให้เอาไข่ไปให้แม่ไก่อื่นหรือใช้เครื่องฟัก ไม่ควรให้แม่ไก่ฟักเอง เพราะในระยะนี้แม่ไก่จะกำลังเติบโตอีก ถ้าให้ฟักไข่แม่ไก่จะเติบโตไม่เต็มที่
เมื่อไข่ออกหมดแล้ว ให้นำแม่ไก่ไปอาบน้ำ สระขน ให้สะอาด ฆ่าเหา ฆ่าไรที่ซุกซ่อนอยู่ในตัวไก่ให้หมด แล้วนำมาถ่ายฆ่าพยาธิ
         บำรุงด้วยอาหารไก่ระยะไข่ เช่นเดียวกับไข่หมดชุดแรก ประมาณ 7 วัน จนกระทั่งเห็นไก่แสดงอาการจะไข่ คือ จะร้องก๊ากๆ หงอนแดง หน้าแดง ก้นขยาย เวลาเอามือแตะท้องจะนอน ก็ให้เอาไปปล่อยอยู่กับตัวผู้ หรือเอาไปให้ตัวผู้ทับ แม่ไก่จะไข่ภายใน 10 วันหลังไข่ชุดที่แล้วเมื่อแม่ไก่หมดชุด ก็ให้เลือกไข่ที่ไม่สมบูรณ์ออก เอาไข่สมบูรณ์ไว้ให้แม่ไก่ฟักเอง ประมาณ 8-10 ฟอง ในขณะที่แม่ไก่ฟักไข่ ต้องเตรียมอาหารและน้ำใส่ยาบำรุง ตั้งไว้ให้กินกินตลอด ระวังอย่าให้ไก่อื่นๆหรือนกกระจอก หมา หมู มาแย่ง อาหารแม่ไก่กิน
           ขณะแม่ไก่ฟัก ควรให้อยู่ในเล้ามิดชิด ปลอดจากยุง และสัตว์ร้ายต่างๆ มีข้าว มีน้ำ มีอาหารบำรุง อยู่ในเล้าที่ให้ไก่อื่นมาแย่งกินไม่ได้ แม่ไก่ส่วนมากจะลงมากินอาหารวันละ 1-2 ครั้ง เช้าประมาณ 10 โมง และบ่ายประมาณ 2 โมง อย่าปล่อยให้แม่ไก่ที่กำลังกกไข่ไปหาอาหารกินเองและอย่าให้แม่ไก่ลงไปย่ำโคลนตมจะทำให้ไก่เลอะโคลนและทำให้ฟักไม่ออก
เมื่อแม่ไก่กกไข่ ได้ประมาณ 7-14 วัน ต้องทำการตรวจไข่ ถ้าไข่ฟองไหนเป็นไข่ข้าวหรือตามโคมให้เอาออก ที่รองรังของแม่ไก่ฟักนั้น ให้เอาใบตระไคร้หอมใบยาสูบ ใบยูคาลิปตัส รองก้นรังไข่ แล้วใช้หญ้าหรือฟางข้าวรองทับอีกครั้ง จะไม่เกิดไรหรือป้องกันไรในรังไข่ หรือใช้ “เชฟวิน 85” ห่อกระดาษพับรองไว้ก้นรังไข่ ไร เหา เห็บ จะหนีไปหมด
           เมื่อแม่ไก่ฟักลูกเจี๊ยบออกมา แม่ไก่จะหวงลูกมาก ระวังอย่าให้แม่ไก่ตีกัน เพราะนอกจากแม่ไก่จะโทรมและบาดเจ็บแล้วอาจจะทำให้ลูกไก่โดนลูกหลงตายด้วย การทำให้แม่ไก่ตีกันให้ยอมแพ้กันนั้น ให้จับแม่ไก่ตัวที่ต้องการให้แพ้แยกจากลูกออกมา  แล้วนำมาโยนใส่แม่ไก่ตัวที่ต้องการให้ชนะ แม่ไก่ตัวที่ชนะจะตีแม่ไก่ตัวที่โยนใส่ แม่ไก่ตัวที่ถูกโยนเข้าไป จะถูกตีและตกใจ ประกอบกับห่วงลูกที่ร้องรออยู่ จะวิ่งหนีไปหาลูก และจะยอมแพ้ไม่สู้ตัวที่อยากให้ชนะซึ่งต้องทำซ้ำๆกันสัก 3-4 ครั้ง ให้แน่ใจว่าไม่ยอมสู้แล้วจึงพอ
เมื่อแม่ไก่เลี้ยงลูกได้พอสมควรแล้ว เช่น 7 วัน 14 วัน 30 วัน ตามแต่ที่เราต้องการให้แยกลูกไก่ออกจากแม่ไก่ ให้ไปอยู่ไกลๆอีกทีหนึ่ง ที่ไม่ได้ยินเสียงกันหรือเห็นกัน เราต้องเลี้ยงดูลูกไก่เอง และนำแม่ไก่ไปบำรุงเพื่อให้ไข่ต่อ ในช่วงนี้ควรให้แม่ไก่ฟักเอง 1 ครั้ง ใช้เครื่องฟักหรือแม่ไก่อื่น 1 ครั้ง สลับกันไป แม่ไก่จะได้สมบูรณ์ไม่ทรุดโทรม ไม่ควรให้แม่ไก่ไข่ติดๆ กันโดยไม่ฟักไข่เกิน 2 ครั้ง เพราะจะทิ้งนิสัยฟักไข่ ซึ่งเมื่อต้องการให้ฟักก็มักจะทิ้งรังไข่ไม่ยอมฟักไข่ ทำให้ไข่เสียหายได้


แหล่งข้อมูล เซียนไก่

ADS Fix3
ADS Fix5