ดูถ่ายทอดสด "อัพเดตทุกเรื่องราวข่าวสารวงการไก่ชน ดูถ่ายทอดสดไก่ชน ครบทุกสนาม ทีเด็ดไก่ชน อัพเดทข่าวไก่ชนทุกประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งความรู้สาระเรื่องที่เป็นประโยชน์ผู้เลี้ยงไก่ชน"

ไฮไลท์ไก่ชนล่าสุด

B1
ADS B2
ADS B3
ADS B4
หน้าหลัก บทความไก่ชน เทคนิคการเลี้ยงไก่ตราดหนุ่มให้แข็งแรง

เทคนิคการเลี้ยงไก่ตราดหนุ่มให้แข็งแรง

วันเสาร์ 01 สิงหาคม 2563 ยอดเข้าชม 233
SHARE ON:

 

               

 

เทคนิคการเลี้ยงไก่ตราดหนุ่มให้แข็งแรง
ไก่ตราดเป็นไก่เชิงที่ดังมากในระดับหนึ่ง ลักษณะเด่นของไก่ตราดนั้น จะหน้ากลมหงอนหิน หรือ หงอนเบ้ คางรัดมีเหนียงนิดหน่อย กะโหลกยาว ตาแจ่มใส เป็นไก่ที่กระดูกใหญ่ ลำตัวยาว ปั้นขาใหญ่ บั้นท้ายยาว คอยาว หางมีขนน้อย กล้ามเนื้อเยอะ

ในเรื่องของชั้นเชิงนั้นไก่ตราดจะชนได้สองคอ สองปี สองขาเป็นหลัก ลีลาดีแต่ไม่ค่อยยอมให้ตีด้วย แต่ลูกตีจะหนักหน่วงรุนแรง หากพบตัวที่เก่งกว่าก็จะเล่นเชิงมากจะยืดเยื้อ

 

 

การเลี้ยงไก่ชนหนุ่มให้แข็งแรง คือ การออกกำลัง และการปล้ำ
การออกกำลัง จะมีจับวิดพื้น , จับโยนลงหลุม , วิ่งสุ่ม , ลงนวม , ล่อ

แต่ก่อนที่จะออกกำลัง ควรจะวอร์มไก่ด้วยการจับโยน วิ่งสุ่ม โดดกล่อง แล้วอาบน้ำ กราดแดดสัก 10-15 วัน จนเห็นว่าไก่เชื่องคุ้นมือเรา เนื้อตัวเริ่มแข็ง เริ่มฮึกเหิม จึงค่อยนำไปซ้อมนวมลงนวม ไม่ควรทำให้มันหักโหมจนมากเกินไป โดยลงนวมเพียงแค่ 2 ครั้งๆละ 10 ถึง 15 นาทีก็พอ แม้ว่าไก่ตราดที่ได้มาจะเป็นตัวตีหรือตัวได้เปรียบก็ตาม การลงนวมทำไปเพื่อให้มันได้คุ้นเคยกับการต่อสู้ อย่าให้เจ็บมาก เพราะมันจะเข็ด และไม่กล้าสู้ ภายหลังจากการลงนวมแล้ว จึงจับไปปล้ำ

การปล้ำ คือ วิธีการเลี้ยงไก่ชนหนุ่มให้แข็งแรงอีกแบบหนึ่งภายหลังจากการวอร์มเรียบร้อยแล้ว ซึ่งการปล้ำจะต้องพึงระวังไม่ให้เสียเปรียบ , อย่าเอาไปปล้ำกับไก่ตราดที่แข็งแรงกว่า หรือ อย่าเอาไปปล้ำกับไก่ที่มีอายุมากหรือไก่ถ่าย ในแต่ละครั้งถ้าเห็นว่ามันหมดแรงให้รีบจับยอม อย่าฝืน เพราะไก่ตราดที่ชอบเล่นเชิงเป็นทุนอยู่แล้ว หากเอาไปล่อ ไปปล้ำบ่อยๆ จะเบนหัวหนีไม่เอา ไม่สู้แล้ว ถึงขึ้นกระโดดออกจากสังเวียนก็มี หรือบางทีก็ไม่ชอบการโดนสวมปากหรือผูกปาก

 

วิธีเลี้ยงไก่ชนหนุ่มให้แข็งแรง
อันดับแรกเราจะต้องเข้าใจ รู้นิสัยและธรรมชาติของไก่ตราด ซึ่งการเลี้ยงและการซ้อมจะแตกต่างออกไปจากไก่ชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะการวอร์มก่อนปล้ำซึ่งจะต้องมั่นใจว่าไก่มีความแข็งแรงสมบูรณ์มากพอ

การลงนวมในแต่ละครั้งไม่ควรนานไปหรือทำถี่เกิน , เมื่อหลุดข้างละ 1-2 เส้น ควรหยุดปล่อยให้ถ่ายแซม หรือ ถ่ายใหญ่ไปเลย อย่าเอาที่ว่าหลุดไปขึ้นไปเหมือนกับไก่บางตัว

ทั้งนี้ เจ้าของและคนเลี้ยงไก่ตราด ควรหมั่นดูเฝ้าสังเกตอาการต่างๆ ถ้าวันใดซึม ไม่คึกคักก็คือผิดปกติ หรือขี้ออกมาเหลวไป แข็งไป อ้าปากหาวบ่อยๆ ต้องนำไก่ตราดไปรีบตรวจดูอาการต่างๆ

อย่านำออกมาปล้ำเด็ดขาด มิฉะนั้นไก่จะสู้ไม่ได้หรือแพ้ ส่งผลมากสุดคือไก่จะเข็ดไม่กล้าสู้อีกเลย

 

แหล่งที่มา longhomdi

ADS Fix3
ADS Fix5