คนเลี้ยงไก่ทุกคน ล้วนแต่อยากได้ไก่เก่งไว้ในความครอบครองด้วยกันทั้งสิ้น ไก่เก่งกับคนเก่งมักจะอยู่คู่กันเสมอ เพราะไก่เก่งคนก็ต้องเก่งเป็นสิ่งที่คู่กันที่สำคัญถ้าคนเก่งรู้จักทักษะและความรู้ทางด้านไก่ชน ข้อดีข้อเสียปรัปสมดุลของไก่แต่ละสายพันธิ์มาประยุกต์ใช้ขั้นตอนการฝึกไก่ชนเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุด ที่สำคัญ ไก่เก่งแต่คนอย่าเก่งกว่าไก่ นะครับไก่ชนทุกๆสายพันธิ์มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไปของแต่ละสายพันธิ์อยู่ที่ใครจะเข้าใจข้อบกพร่องของแต่ละสายพันธิ์นั้นแล้วนำมาพัฒนาประยุกต์ให้ได้ผลดีที่สุด ครับ เนื่องจากไก่พม่าซึ่งมีสัญชาติญาณของไก่ป่าอยู่สูง ทำให้ไก่พม่านั้นมีความคล่องแคล่วและปราดเปรียวอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าจะนำ มาเลี้ยงอยู่ก็ตาม และในบางตัวขณะกราดน้ำต้องเอาเชือกผูกที่ขาก็มี แต่ไก่พม่าก็ยังคงเป็นที่ชื่นชอบของคนที่ชอบไก่พม่ากันอยู่ เพราะมีสีที่สวยและมีลูกตีเด็ดขาด ซึ่งบางครั้งถึงแม้ตัวละเล็กกว่า ไก่พม่าก็สามารถที่จะเอาชนะคู่ต่อสู้ที่ตัวใหญ่ๆกว่าได้
จุดเด่นของไก่พม่า
ไก่พม่าเป็นไก่ที่ตีหน้าตรงได้ดี เชิงตีหน้าตรงของไก่พม่านี้ จะเรียกว่าตีหน้าตรงอาชีพเลยก็ได้ ครับ หากคู่ต่อสู้เข้ามาโดยไม่ ระวังมักจะถูกแข้งหน้าตรงเข้าเต็มๆ ทุกครั้ง หรือเป็นอาวุธเด็ดที่สำคัญในการทำลายนจังหวะของผู้ต่อสู้
สาดแข้งเปล่าเก่ง ไก่พม่าเป็นไก่ที่มีลูกนำที่ดี หรือสาดแข้งเปล่านั้นเอง ลูกสาดแข้งเปล่านี้ถือว่าเป็นข้อดีอีกอย่างหนึ่งของ ไก่พม่าที่ไม่ต้องใช้ปากจับก่อนที่จะออกแข้ง ทำให้ได้เปรียบไก่ไทยที่บางครั้งต้องใช้ปากจับจึงจะตีได้
วางแผลได้แม่น จุดนี้ถือว่าเป็นเสน่ห์ที่ดีที่สุดของไก่ชนพม่า เพราะแผลที่ไก่พม่าตีนั้นจะเป็นแผลที่เป็นจุดตายทั้งสิ้น ไม่ ว่าจะเป็นบริเวณสามเหลี่ยมซอกคอ ที่มักจะทรุด บริเวณคอที่มักบวมหรือหักบริเวณคอเชือด บริเวณวงแดง และดวงตา ซึ่งช่วยให้ เกิดการแพ้ชนะได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งเสน่ห์การตีแม่นเหล่านี้นี่เองที่ทำให้ไก่พม่าได้รับความชื่นชอบจากเซียนไก่ชนทั่วๆ ไปอย่าง ล้นหลาม
มีปีกที่ยาวและขนใยปีกเหนียวกว่าไก่ไทย
ด้วยสัญชาตญาณคล้ายไก่ป่านี้เอง ทำให้ปีกของไก่ชนพม่ามีความยาวกว่าไก่ ไทย เพราะไก่พม่าต้องอาศัยการบินมากกว่า และแน่นอนกว่า คุณสมบัติดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดีอย่างยิ่งต่อการบินในขณะชน นอกจาก นี้แล้วใยปีกของไก่ชนพม่ายังเหนียวกว่าไก่ไทยอีกด้วยทำให้คู่ต่อสู้เข้ามัดปีกไม่ทะลุ จึงเป็นข้อดีอีกทางหนึ่งในการป้องกันตัว
ไก่พม่าจะมีก๊อกสองก๊อกสามตลอด
อันนี้ก็นับเป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของไก่ชนพม่า เพราะบางทีถูกตีล้มคว้ำล้มหงาย แต่ ไก่พม่าก็สามารถจะเปิดก๊อกสองขึ้นมาติดคู่ต่อสู้ได้ตลอดเวลา
ไก่พม่าจะเป็นไก่ที่หลบหลีกเก่ง ไม่ค่อยเข้าเชิง
ซึ่งลีลาเหล่านี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ค่อยให้ใครเข้าขี่เชิงนัก ยกตัว อย่างเช่น หากเจอไก่กอด ไก่พม่าจะหลบหลีกด้วยการถอดหัวหรือชักลิ่มหนีการกอด หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือการถอยและสาดแข้งเปล่า ซึ่งเป็นลีลาที่ถนัดอย่างมากทีเดียว
จุดด้อยของไก่พม่า
ไก่พม่าจะมีโครงกระดูกเล็ก
ไก่พม่าส่วนใหญ่มีเชื้อสายจากไก่ป่า ดังนั้นจึงต้องการความปราดเปรียว โครงสร้างต่างๆ โดย เฉพาะกระดูกจึงค่อนข้างเล็ก บางครั้งเจอแข้งลำโตๆ เข้าไปก็อาจถึงหักได้แต่ในปัจจุบันนั้นมีอาหารเสริมประเภทแคลเซียม ออกจำหน่าย และอีกอย่างมีการพัฒนาสายพันธิ์ นำเชื้อสาย พม่าง่อน พม่าง่อนไทย พม่าง่อนไต้หวัน พม่าบราซิล ลูกพัฒนาสามสาย ไขว้สายพันธิ์พัฒนากันไปมา จนทำให้สายเลือดนิ่งขึ้นจนทำให้ไก่ชนพม่าทุกวันนี้มีโครงสร้างที่ดีไม่แพ้ไก่ชนในสายพันธิ์อื่นๆทั่วไป ครับ จนเป็นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ในวงการไก่ชนในประเทศไทย และประเทศเพื่อนมาก และมักมีราคาที่สูงกว่าไก่ชนสายพันธิ์อื่นๆ ครับ
ยืนดินไม่แน่น
สิ่งที่เซียนหลายๆ คนรู้สึกขัดใจเมื่อดูลีลาของไก่พม่าก็คือการโอนเอนไปมา หรือที่ภาษาเซียนเราเรียกว่า “ยืนดินไม่แน่น” นั่นเอง ซึ่งการยืนดินไม่แน่นนี้ บางครั้งอาจจะบั่นทอนความแรงของแข้งที่ดีดขึ้นไปอย่างช่วยไม่ได้ แต่ใน ปัจจุบันนี้ หากเป็นไก่พม่าลูกร้อย รอยเล็ก เรายังคงเห็นอาการอย่างที่ว่านี้อยู่ แต่ถ้าหากเป็นลูกผ่านหรือลูกครึ่งอาการยืนดินไม่ แน่นนี้จะหายไปเยอะจนเกือบจะไม่เหลือให้เห็นเลย หรือที่เรียกว่ายืนดินตีฝังแข้งขึ้น ครับนั่นคือข้อดีและข้อเสียของไก่ชนพม่าที่เข้ามาอวดศักดาอาละวาดในสังเวียนเมือง
ไก่พม่าเป็นไก่ที่สู้ไก่เร็ว อายุ 6 เดือนกว่าหรือ 7
เดือนก็จะเริ่มสู้ไก่แล้วบางตัวหางสร้อยยังเหลืออีกเยอะบางตัวหางพึ่งโผล่มาแค่ครึ่งเดียวเองก็เริ่มสู้ไก่แล้วเป็นด้วยสัญชาติญาณ ทั้งนี้อายุการเจริญเติบโตอยู่ที่การดูแล อาหารและสถาณที่ด้วย นะครับ ไก่รุ่นนี้ปกติทั่วไปตามซุ้มตามฟาร์มก็จะเริ่มจับครอบสุ่มแยกจากฝูงให้กินข้าวเปลือก เสริมด้วยอาหารไก่ชน นิดๆเพื่อเติมโครงสร้างครับธรรมชาติของไก่พม่าอายุเท่านี้ ที่ถูกต้องควรป่อยให้เต็มร่างขนปีกขนหางสุดเต็มที่ก่อน เพื่อรออายุกระดูกและโครงสร้าง ที่ถูกต้อง ต้องรออายุให้ได้ 8-9 เดือน แล้วจึงนำมาเค้าคอสฝึกฝนในวิธีการฝึกไก่ชนพม่าที่ถูกต้องได้ ครับ วิธีการเลี้ยงจะไม่เหมือนไก่ชนไทยหรือป่าก๋อยในบ้านเรา ครับ
ถ้าหากเราอยากดูเชิงชนเมื่อสู้เริ่มไก่ อายุ 6-7 เดือน ไก่อายุนี้จะเริ่มคุมฝูง คุมตัวเมีย มีความคึก หวงตัวเมีย เป็นสัญชาติญาณ ครับ แนะนำควรหาไก่รุ่นเดียวกัน หรือครูมวยที่กระดูกอายุอานามใกล้เคียง พันนวมสวมปากครูมวยให้หนา ให้ลองเตะดูสัก 5 นาที เพื่อดูเชิงชนเพลงตี และลีลาการออกแข้ง ครับ โดยมากไก่รุ่นนี้ที่เพิ่งจับครอบจากฝูงมักดูอะไรไม่ได้มาก ดูได้แค่ความคล่องตัว เหลี่ยมไก่และการออกแข้งเล็กๆน้อยๆ ครับ ว่าพอมีแววติดพ่อแม่หรือป่าว จากนั้นเราต้องครอบรออายุ ให้โครงสร้างและอายุได้ เนื่องจากไก่ชนพม่าไม่เหมือนไก่เชิงป่าก๋อยทั่วไป ไก่พม่าถ้าเป็นไก่ใหม่ สัญชาติโดยธรรมชาติเป็นไก่ชนไม่แข็งแรง ถ้ายิ่งไม่เคยชนหรือกระดูกอ่อนยังอ่อนถ้าโดนไก่เชิงหรือก๋อยทุบเข้าไม่ก่อน อาจจะทำให้ดูหมดเก่ง หรือหมดอาวุธได้ บางทีอาจทำให้เสียไก่ไปเลย ครับ
แนะนำไก่พม่าใหม่ๆไม่ควรปล้ำจริง ยิ่งถ้าบางตัวมีเลือดพม่าที่สูงกระดูกโครงสร้างไม่ดี ต้องใช้วิธีเค้าคอสการเลี้ยงสักอาทิตย์หรือ 10 วันถึงจะปล้ำเช็คได้ ครับ ทางที่ดีก่อนนำไก่พม่าใหม่ๆไปปล้ำจริง ควรจะเตะนวมเตะเป้าออกกำลัง ให้กล้ามเนื้อ กล้ามขา แข็งแรงและยืนดินดีๆมีความคล่องตัวก่อน ก่อนนำไปปล้ำจริง นะครับ
พม่าเป็นไก่ที่เลี้ยงยากกว่าไก่ชนสายพันธิ์อื่นและต้องเข้าใจมัน และต้องอาศัยความใจเย็นพอสมควร ต้องสร้างความแข้งแรงและกล้ามเนื้อให้แก่เค้า เค้าถึงจะโชร์ลีลาการออกแข้งออกเสต็ปให้เห็น ซุ้มใหญ่หรือมืออาชีพ ถ้าเช็คเห็นดูพอมีแววแล้วสักครั้งยิ่งเป็นพม่าเลือดสูงๆจะปล่อยรออายุ 10-11 เดือน แล้วค่อยนำมาเค้าคอสปล้ำชนจริงเพื่อรอกระดูก จะสังเกตุว่าสนามมาตราฐานทั่วไป ไก่ชนพม่าจะเล่นลูกอายุเพื่อรอกระดูกโครงสร้าง เพิ่มความมั่นใจในการชนได้ดี
แหล่งที่มา longhomdi