การควบคุมน้ำหนักไก่ถ่ายเราควรเริ่มต้นอย่างไร?
วิธีควบคุมนํ้าหนักไก่ถ่ายขน
การเลี้ยงไก่ถ่ายเป็นปัญหามากสำหรับนักเลี้ยงทั่วไป โดยเฉพาะไก่พม่าเลือดสูง ถ้าอายุลูกถ่ายหรือถ่ายใหญ่ก็มักจะมีฝีมือลดลงเนื่องจากน้ำหนักเพิ่มขึ้นทำให้การเคลื่อนไหวเชื่องช้า…
การควบคุมน้ำหนักไก่ถ่ายเราควรเริ่มอย่างมีขั้นตอนดังนี้
1.นำไก่ถ่ายเข้ามาเลี้ยงควรเริ่มจากการถ่ายยา กาดน้ำลงขมิ้นพอหมาดเพื่อไล่พวกปาราซิสตามตัวไก่ให้ออกไป เช่นเห็บ เหา ไร ตัวเลือด เป็นต้น
2.อาบน้ำด้วยแชมพูเป็นระยะเพื่อรักษาขนให้นิ่มไม่กรอบง่าย กาดแดดพอประมาณ อย่าให้หนัก เมื่อครบสัปดาห์ก็ปล้ำปล่อยปากครั้งที่ 1 จับเวลา20 นาที นับครั้งการบิน นับครั้งการล้ม ทำสถิติไว้
3.จากนั้นปล่อยวิ่งสุ่ม..บินหลุม..กาดน้ำกาดแดด..ปล่อยแปลง..เดินนวม…ครบสูตร ก่อนปล้ำพัก 3-4วัน แล้วปล้ำวางจริง นับครั้งการบิน และการล้มว่าสถิติดีขึ้นไหม
4.ในกรณีบินดีขึ้นเป็นที่พอใจแล้วให้ทำเหมือนขั้นตอนที่ 3 อีกรอบหนึ่ง แล้วปล้ำวางจริงครั้งที่ 3 หากบินดีพอใจให้บันทึกน้ำหนักและทำการควบควบน้ำหนักและเข้าครอสเลี้ยงชนได้เลย…ซึ่งอาจจำเป็นต้องปล้ำวางอีก 2-3 ครั้งถึงชนจริงได้
5.ในกรณีบินไม่ดีไม่น่าพอใจ ให้เพิ่มการกาดแดดเพิ่มขึ้นชั่งน้ำหนักให้ลดลงสองสัปดาห์ 0.5 ขีดแล้วเข้าปล้ำจริงในสัปดาห์ที่ 3 หากบินดีพอใจก็เข้าปล้ำวางจริงได้ หากยังบินไม่ดีก็ลดอีกรอบ 3 สัปดาห์ลดไป 0.5 ขีด หากยังบินไม่ดีควรคัดทิ้งหรือนำไปเป็นไก่ล่อไว้เดินนวมตัวอื่น บางตัวเดินนวมบ่อย ๆ จะดีขึ้น
สรุปคือ
การลดน้ำหนักไก่ถ่ายช่วงแรกให้ลดอย่างเป็นธรรมชาติคือ แค่เลี้ยงกาดแดด กาดน้ำ ออกกำลังกายก็พอในช่วงนี้ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนกว่าปล้ำวาง 3 ครั้ง ช่วงนี้ไก่จะลดเองตามธรรมชาติไม่เป็นการบังคับ ตัวใดผ่านการทำน้ำหนักช่วงนี้ได้ง่ายจะเป็นไก่ถ่ายที่เลี้ยงง่ายและได้ชนจริง แต่ถ้าตัวใดทำน้ำหนักช่วงนี้ไม่ได้มักเป็นไก่เลี้ยงยากและไม่ค่อยกลับไปมีฝีมือเหมือนเดิมควรปล่อยทำพ่อหรือจำหน่ายออกไปให้คนอื่นทำพ่อพันธุ์ต่อไป..
แหล่งข้อมูล longhomdi