ดูถ่ายทอดสด "อัพเดตทุกเรื่องราวข่าวสารวงการไก่ชน ดูถ่ายทอดสดไก่ชน ครบทุกสนาม ทีเด็ดไก่ชน อัพเดทข่าวไก่ชนทุกประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งความรู้สาระเรื่องที่เป็นประโยชน์ผู้เลี้ยงไก่ชน"

ไฮไลท์ไก่ชนล่าสุด

B1
ADS B2
ADS B3
ADS B4
หน้าหลัก บทความไก่ชน วิธีป้องกันโรคอหิวาห์สัตว์ปีก

วิธีป้องกันโรคอหิวาห์สัตว์ปีก

วันพฤหัสบดี 16 กรกฎาคม 2563 ยอดเข้าชม 103
SHARE ON:

         

 

          

 

โรคอหิวาห์สัตว์ปีก หรือ อหิวาห์เป็ดไก่ หรือ โรคห่า
อันเป็นที่มาของวลีคุ้นหูของชาวไทยคือ “ตาย…”
                  ทั้งนี้เนื่องมาจากความรุนแรงของโรค ที่เป็นแล้วไม่รักษาก็ตายแน่ ตายยกฝูง และตายนาน แล้วก็ตายแบบไม่หายซักที สร้างความเจ็บใจให้กับผู้เลี้ยงเป็นอย่างมาก โดยที่เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคคือเชื้อแบคทีเรีย(แปลว่าฆ่าให้ตายได้ไม่เหมือนไวรัส) ชื่อ พาสจูเรลลา มัลโตซิดา (Pasteurella multocida) เป็นแบคทีเรียพวกแกรมลบ(ตายยากกว่าแกรมบวก) เข้าสูร่างกายได้ง่าย เพิ่มจำนวนได้รวดเร็ว ซึ่งบางส่วนยังสร้างแคปซูลได้ ทำให้เชื้อโรคก่อโรคได้รุนแรง โดยมีการทดลองนำเชื้อโรคตัวนี้ป้ายที่ร่องเพดานปากไก่

                  สามารถทำให้ไก่ตายได้ถึง 90-100%ในเวลาเพียง1-2วัน แต่โดยทั่วไปแล้ว ไก่จะได้รับเชื้อโรคจากไก่ป่วยหรือไก่ที่เคยเป็นโรคนี้ ซึ่งกลายเป็นพาหะ โดยอาจเป็นตัวนำโรคไปทั้งชีวิต รับเชื้อผ่านทางสิ่งแวดล้อม น้ำ และอาหาร เข้าทางเยื่อเมือกของปาก คอ เยื่อตาและบาดแผลทางผิวหนัง โดยจะติดเชื้อแล้วตายประมาณร้อยละ10-20ภายใน2สัปดาห์

อาการที่พบมี2แบบขึ้นกับลักษณะของเชื้อโรคคือ แบบเฉียบพลัน มักตายโดยไม่ค่อยแสดงอาการ หรือมีอาการแค่ไม่กี่ชั่วโมงก่อนตาย เช่น มีไข้ ซึม หัวตก ไม่กินอาหาร หายใจเร็ว น้ำลายไหลเป็นเมือก ขนยุ่ง ขนร่วง หน้าคล้ำ ท้องเสียแบบแรกๆเป็นน้ำขาวและต่อมาเขียวมีมูก ตายใน2-3วัน ถ้ายังไม่ตายก็จะผอมมากจนอกแหลม และจะกลายเป็นแบบเรื้อรัง

อาการชนิดนี้จะเหมือนกับการติดเชื้อบางที่ เช่น ถ้าติดเชื้อที่หูชั้นกลางหรือโพรงกะโหลก จะแสดงอาการคอบิดหลังแอ่น(ทำให้สับสนกับนิวคาสเซิล) นอกจากนี้ยังพบอาการบวมที่เหนียง ข้อขา ข้อปีก และก้น ตาแฉะ หายใจดัง โดยที่อาการแบบนี้จะอยู่เป็นเดือนๆโดยไม่ตาย ถ้าซุ้มไหนเคยมีไก่ที่แสดงอาการแบบนี้และเป็นอยู่บ่อยๆให้สงสัยว่าเป็นได้เลย

การรักษา แนวทางที่ควรปฏิบัติคือ
1.คัดแยกไก่ป่วย เพื่อทำลาย หรือรักษา เพื่อลดการแพร่เชื้อ

2.ยาที่ใช้รักษาได้แก่ ซัลฟาควิน็อคซาลีน(sulfaquinoxaline) อันนี้ปศุสัตว์เค้าแนะนำให้ใช้ เชื่อว่าผ่านการทดสอบความไวของยาต่อเชื้อแล้ว(หมอไม่มีจ้า) แต่หมอไม่ค่อยจ่ายเพราะยากลุ่มซัลฟามีความเป็นพิษสูง อัตราการดื้อยาก็สูง

ถ้าเป็นแบบเรื้อรังแล้วกลัวว่าจะเอาโรคไม่อยู่(พูดเท่านี้เดี๋ยวโดนข้อหาเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐ) นอกจากนี้ ก็มี ด็อกซี่ไซคลิน(หมอมีหมอแนะนำ) และกลุ่มเตตร้าไซคลิน เจนต้าไมซิน แอมม็อกซี่ซิลิน เอ็นโรฟล็อคซาซิน นอร์ฟล็อคซาซิน เป็นต้น โดยให้ทั้งยากินและยาฉีดร่วมกันในไก่รุ่นอาจทำให้หายขาดได้

3.ลดการแพร่เชื้อผ่านทางน้ำ โดยใส่ยา อีริโทรมัยซิน ขนาด 50พีพีเอ็ม หรือใช้น้ำที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน(ล้างที่ใส่น้ำด้วยยาฆ่าเชื้อ)

4.รักษาความสะอาดในโรงเรือน ดูแลเรื่องการระบายอากาศ พื้นควรแห้งฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เข้มงวดต่อการจุ่มเท้าด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนเข้าออกโรงเรือน

อย่างไรก็ตามวิธีที่ดีที่สุดคือฉีดวัคซีน โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้ออกหรือใต้ผิวหนัง 2ช่วง คือ 1-3เดือน และ3เดือนขึ้นไป จะปลอดภัยกว่ามานั่งรักษาเพราะเป็นแล้วมักจะเรื้อรังเสียเงินเยอะกว่ามากเพราะยาแพงกว่าวัคซีนเยอะนะ 

แหล่งข้อมูล longhomdi

ADS Fix3
ADS Fix5