ไก่งวงราคางาม เลี้ยงแบบพึ่งธรรมชาติ
ไก่งวงปัจจุบันเป็นสิ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เพาะเลี้ยงอย่างแน่นอน
เราจะมีแนวทางและวิธีการอย่างไร ซึ่งปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แนวทาง
คือ เลี้ยงเพื่อการจำหน่ายตัวลูกไก่งวงและเลี้ยงเพื่อจำหน่ายเนื้อไก่งวง คุณธนศักดิ์ คำด่าง เป็นหนึ่งในเกษตรที่หันมาให้ความสนใจเพาะเลี้ยงไก่งวงเป็นอาชีพเสริมควบคู่กับการทำเกษตรผสมผสานตามแนวพระราชริของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่ที่บ้านเลขที่ 209 หมู่ที่ 4 บ้านโคกก่อง ตำบลโพธิ์ตาก อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
คุณธนศักดิ์ เล่าให้ว่าว่า เดิมประกอบอาชีพรับราชการครู ในระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่ตนมีความรู้สึกว่าไม่ชอบอาชีพข้าราชการ จึงตัดสินใจลาออกและไปศึกษาด้านกฏหมายต่อแต่ก็ยังไม่ชอบ จนสุดท้ายตัดสินใจไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่นศึกษาเรื่องเกี่ยวกับดินเป็นหลัก ตลอดระยะเวลาที่อยู่ญีปุ่นได้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของคนญี่ปุ่น เห็นความแตกกต่างของกลุ่ม คือ คนทำงานภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรที่ประกอบชีพเพาะปลูกคนที่ทำงานภาคอุตสาหกรรม ต้องทำงานหนัก ตื่นเช้าแต่กลับบ้านดึก ไม่มีเวลาให้กับครอบครัว ผิดกับภาคการเกษตรที่เป็นเจ้านายของตัวเอง มีรายได้ อยากทำงานเวลาไหนก็ได้ มีความเป็นอิสระภาพที่สูง จึงตั้งปฏิธานให้กับตัวเองว่า จะทำอาชีพที่ไม่ออกไปหาเงินจะให้เงินเดินเข้ามาหาและไม่ทำงานกินเงินเดือนเหมือนที่เคยทำมาหลังจากเรียนจบ คุณธนศักดิ์ คุณธนศักดิ์ หันมาให้ความสำคัญและหันมาประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยเริ่มนำวัวเข้ามาเลี้ยงบน พื้นที่ 70 ไร่ มีวัวกว่า 200 ตัว แต่ด้วยปัญหาตลาดไม่มีแหล่งรับชื้อ ทำให้ต้องหยุดเลี้ยง และกลับมาคิดถึงแนวทางการทำการเกษตรที่ผสมผสานโดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน คือ 40 20 30 10 ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริของคุณธนศักดิ์ เริ่มจากการขุดบ่อเลี้ยงปลา และนำสัตว์ปี เช่น เป็ดและไก่ไข่มาเลี้ยงโดยสร้างโรงเรือนให้อยู่เหนือบ่อเลี้ยงปลา ส่วนพื้นที่อื่นๆลงไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผักสวนครัว สมุนไพร ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ด้วยการทำเกษตรนั้นไม่ได้โรยด้วยกลีบดอกไม้ หากม่มีใจรักจะไม่สามารถไปถึงฝั่งได้ เพราะเนื่องจากว่าการทำเกษตรนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายๆอย่าง ทั้งสภาพภูมิอากาศ สภาพสังคม และทุน ในการขับเคลื่อนให้ประสบความสำเร็จ
“เป็ด ไก่ไข่ ที่เลี้ยงต้องอาศัยและพึ่งพาปัจจัยภายนอกกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ อาธิ ลำ ข้าว ฉะนั้นอะไรที่เราตัดสินใจทำแล้วต้องพึงปัจจัยภายนอกมากเกินไปจะไปไม่รอด จึงต้องหยุด จากนั้นมาก่อนจะทำอะไรจะยึดหลักวิชาการเข้ามาประยุกต์ใช่ร่วมกัน โดยการเริ่มทำการศึกษาวิจัยและทดลองก่อนจะลงทุนทำ ซึ่งในนั้นได้ทำการศึกษาการเพาะเลี้ยงอยู่หลายอย่างไปทุกพื้นที่ ทุกภาค แต่ก็ยังไม่ถูกใจ จนกระทั่งได้ไปชิมต้มเส้นเนื้อไก่งวง สร้างความประทับใจ กลับมาจึงคิดจะหาไก่งวงมาเลี้ยงดูบ้าง”
การเพาะเลี้ยงไก่งวงของคุณธนศักดิ์ เริ่มจากการเลี้ยงไว้บริโภคเองในครอบครัว พร้อมกับทำการศึกษาวิจัยการเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ โดยเริ่มนำไก่งวง 16 มาเลี้ยงและทำการวิจัย ซึ่งทำให้พบว่าการเลี้ยงไก่งวงนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงสามารถพึงตนเองได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ พึงพาปัจจัยภายนอกเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งตรงกันข้ามกันเป็ดและไก่ไข่ที่เคยเลี้ยงมา แต่อย่างไรก็ตามก็มีผลเสีย เนื่องจากไข่ไม่เป็นที่ไข่แล้วไม่สามารถกกให้ออกมาเป็นตัวได้ทั้งหมดมี อีกทั้งยังมีปัญหาเยียบกันไม่รอดทำให้เปอร์เซ็นต์รอดน้อยและที่สำคัญไม่มีตลาดรองรับ
แหล่งข้อมูล วิถีชีวิตเกษตรพอเพียง