ดูถ่ายทอดสด "อัพเดตทุกเรื่องราวข่าวสารวงการไก่ชน ดูถ่ายทอดสดไก่ชน ครบทุกสนาม ทีเด็ดไก่ชน อัพเดทข่าวไก่ชนทุกประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งความรู้สาระเรื่องที่เป็นประโยชน์ผู้เลี้ยงไก่ชน"

ไฮไลท์ไก่ชนล่าสุด

B1
ADS B2
ADS B3
ADS B4
หน้าหลัก บทความไก่ชน การเลี้ยงไก่ชนรุ่นใหญ่ การดูแลไก่ชนตั้งแต่รุ่นเล็ก-รุ่นใหญ่

การเลี้ยงไก่ชนรุ่นใหญ่ การดูแลไก่ชนตั้งแต่รุ่นเล็ก-รุ่นใหญ่

วันพุธ 15 กรกฎาคม 2563 ยอดเข้าชม 91
SHARE ON:

 

ไก่รุ่น เราแบ่งออก 2 ประเภทคือ
ประเภทที่ 1 ไก่รุ่นเล็ก คือไก่ที่มีอายุตั้งแต่ 3 เดือนถึง 5 เดือน ซึ่งการเลี้ยงไม่ยุ่งยากนัก เคยนำเสนอไปแล้ว

ประเภทที่ 2 ไก่รุ่นใหญ่ คือไก่ที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนถึง 9 เดือน ช่วงการเลี้ยงดูค่อนข้างยุ่งยาก และเกิดความเสียหายได้ง่ายและมากด้วย ถ้าไม่รู้จักธรรมชาติและ การเลี้ยงดูไก่ชน ที่ถูกวิธีก็จะเกิดความเสียหายหมด เงินจะเข้ามือแล้วต้องหลุดลอยหายไปหมด เป็นเรื่องที่หน้าเศร้าน่าเจ็บใจ มีหลายคนเคยประสบมาแล้ว ได้ให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เคยประสบปัญหามาแต่แก้ได้ไม่ตก ก็จะเป็นแนวทางอีกทางหนึ่งให้ช่วยกันแก้ไขได้

ไก่อายุเข้าเดือนที่ 6 จะเป็นไก่ที่ขนสร้อยขึ้นเกือบเต็มตัวแล้ว แต่อาจมีบางตัวยังมีขนระบัดอยู่ ตัวเมียบางตัวที่สมบูรณ์เริ่มจะออกไข่แล้ว ตัวผู้ที่ขึ้นหนุ่ม เริ่มจะติดพันตัวเมียในฝูง ส่งเสียงท้าทายกันขรมไป ตัวที่ชนะเพื่อนคุมฝูงอยู่เริ่มหวงตัวเมีย ผสมพันธุ์ตัวเมียในฝูงและจะไล่ตัวอื่นๆ กลัวมาแย่งตัวเมีย เลยกลัวจะสู้ตัวเอง มักจะเกิดการขับไล่ จิกตี เรื่องของขาอาจเสียพิการได้ บางตัวอาจถูกขับไล่จนเข้ากินอาหารไม่ได้ แข้งขาถลอกปอกเปิก ขาแพลง ขาหักไปก็มาก การเลี้ยงดูต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในหลายๆ อย่าง เช่น

เรื่องอาหารแร่ธาตุ ไก่ระยะ 6-8 เดือน เป็นไก่ระยะที่กำลังเจริญเติบโตเต็มที่ ต้องการอาหารครบสูตร ถ้าระยะนี้ขาดอาหาร ไก่จะชะงักการเติบโต จะโตไม่ได้ขนาดหรือไก่จะผอม ไม่แข็งแรง การให้อาหารปล่อยไม่มีพื้นที่หญ้า ก็ต้องให้หญ้าสับละเอียดหรือผักสดล้างสะอาด เย็นให้ข้าวเปลือกอีกรอบและเสริมด้วยอาหารสำเร็จรูปสำหรับไก่ระยะ 6-8 เดือนจนไก่อิ่ม กรวดทรายเปลือกหอยกระดูกป่นต้องตั้งให้กินตลอดเวลา

ป้องกันการจิกกินขนอ่อน ไก่ช่วงอายุ 6-8 เดือน เป็นระยะที่กำลังเปลี่ยนขนเป็นไก่หนุ่มสาวเต็มตัว ขนอ่อนจะขึ้นทั้งตัวโดยเฉพาะขนสร้อยคอ สร้อยหลังและหาง จะมีขนระบัดอ่อนๆ ขึ้นเต็มตัว ถ้าเกิดจิกกินขนกันแล้วขนจะบอดโกร๋นทั้งตัว หมดความสวยงาม หมดราคา เป็นไก่คอโกรนหางปุ้น และจะต้องใช้เวลายึดไปอีกนานขนจึงจะขึ้นได้ใหม่  เสียเวลา เสียค่าเลี้ยงดู เสียความรู้สึก

การกินขนอ่อน เกิดจากไก่ขาดแร่ธาตุ ขาดสารอาหาร ขาดวิตามิน ให้ไม่เพียงพอ เกิดจากไก่อยู่ในที่คับแคบ แออัดยัดเยียด เกิดจากไก่ถูกขังรวมกัน
อยู่ในเล้าที่บริเวณไม่เพียงพอ ต้องนำไปปล่อยอิสระ ให้กินยาแก้เครียด แร่ธาตุ วิตามินผสมน้ำ หรือ ช่วยตัดปลายปากบางตัวที่มีนิสัยชอบกินขนหรือเอาตัวนิสัยไม่ดีแยกออกไปจากฝูงอยู่อย่างอิสรเสรี จะเลิกกินขนกันไปเอง

1.สถานที่ปล่อย การเลี้ยงไก่ ระยะ 6-8 เดือน จำเป็นต้องเตรียมที่ปล่อยอิสระไว้ให้ไก่ระยะนี้ เพื่อให้ไก่ได้ออกกำลังเต็มที่ เพราะต่อไปจะต้องขายหรือนำไปเข้าซุ้มฝึกซ้อมเลี้ยงชน ถ้าไม่แข็งแรง กำลังขาไม่มีหรือผอมจะเสียไก่หมด ใช้ไม่ได้ ควรให้ไก่อยู่ที่ว่างอิสระ นอกจากไก่จะแข็งแรงโตได้ขนาดแล้ว ยังแก้ปัญหาการกินขนอ่อนได้ดีด้วย

2.การไล่รังแกกัน ไก่ระยะเริ่มโตเป็นหนุ่ม เริ่มคึกคะนอง เริ่มจะสู้ไก่ จะมีการไล่จิกตีหรือทับตัวที่อ่อนแอกว่า จะไล่กันแบบไม่เลิกรา บางตัวขาหัก ขาแพลง สะโพกคราก เท้าเจ็บเป็นแผลบวม หัวหลังถลอกเพราะถูกจิก ถูกตะกายขึ้นทับ การเลี้ยงไก่ตอนนี้ต้องหาไก่ใหญ่ที่อายุมากและดุมาคุมฝูงไว้ ไก่อายุมากจะช่วยคุ้มครองไก่อ่อนแอได้ และยังช่วยกันกำราบไก่ตัวคึกๆ ดุๆ ในฝูงได้ หรือให้ปล่อยไก่รุ่นจากเล้านอนสายๆ เพราะตอนเช้าไก่ตัวหนุ่มๆ จะคึกมากเพราะนอนเต็มที่ฮอร์โมนเพศเกิดมาก จะมองเห็นตัวอ่อนแอกว่า หรือตัวแพ้เป็นตัวเมียไปหมดจึงมักไล่บี้เพราะอยากผสมพันธุ์ พอสายอากาศร้อน ความคึกคะนองจะลดลง และไก่จะหิวจะหากินมากกว่า จึงเป็นการป้องกันการไล่บี้หรือไล่รังแกกันได้

3.การแย่งตัวเมีย-ติดตัวเมีย ไก่ระยะนี้ตัวเมียกำลังเริ่มออกไข่ ไก่ตัวผู้ในฝูงจะติดตัวเมีย หรือเรียกว่าติดสัด ไก่จะแย่งตัวเมียกัน จะหวงตัวเมีย จะแย่งทับกันปี้ผสมตัวเมีย อีกตัวขึ้นทับอีกตัวโดดตี ทำให้เกิดความเสียหายได้ บางตัวกำลังทับตัวเมียเพลิน ถูกตัวอื่นหวงจิกตีจนพิการเสียไก่ไปก็มี การป้องกันแก้ไขระยะนี้ต้องแยกไก่ตัวเมียออกจากฝูงให้หมด และอีกอย่างไก่ระยะติดตัวเมียจะไม่ยอมกินอาหาร ปี้ทับตัวเมียมากจนทำให้ผอมแคระแกร็นได้

4.การตีต่อสู้ ไก่ระยะนี้ถ้าสมบูรณ์ดีจะเป็นหนุ่มเต็มตัวแล้ว สุดปีกสุดหางจะคึก-ก้าวร้าว-เข้า พฤติกรรมต่อสู้เพราะฮอร์โมนฉีดแรง ไก่จะเริ่มสู้กัน ระยะนี้ระวังให้มาก อย่าให้เปียกฝน อย่าให้ไก่กินของสกปรกเลอะหน้า เมื่อตัวเปียก-หน้าเลอะ ไก่จำกันไม่ได้จิกตีต่อสู้กัน เมื่อคู่แรกตีกันหน้าตาจะมีเลือดออกเลอะหน้าจำกันไม่ได้อีก จะตีกันเพิ่มคู่มากขึ้นและในที่สุดจะตีกันทั้งฝูง ถ้าเจ้าของไม่เห็นจะเป็นการสูญเสียทั้งฝูง เจ๊งเลย การป้องกันแก้ไขเมื่อเห็นไก่ในฝูงใดมีพฤติกรรมต่อสู้ ก็ให้คัดออกมาขายหรือเข้าซุ้มฝึกซ้อมได้ พยายามคัดไปเรื่อยๆ ก็จะไม่เกิดผลเสียหาย

5.การทำวัคซีนและถ่ายพยาธิซ้ำ ไก่ระยะนี้เป็นระยะที่จัดจำหน่ายหรือเข้าฝึกซ้อมได้แล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในตอนเข้ามาหรือจัดจำหน่ายไป ต้องจัดการถ่ายหรือฆ่าพยาธิและทำวัคซีนเพิ่มเติม คือ นิวคลาสเวิล-หลอดลมอักเสบ-อหิวาต์-หวัดหน้าบวม เพราะโรคเหล่านี้จะพบบ่อยๆ เวลาไก่เข้าปล้ำ ทำให้ต้องเสียเวลาในการฝึกซ้อม หรือเลี้ยงออกชน หรือฟิตซ้อมเพื่อรอขาย เรื่องการทำวัคซีนหลายคนละเลย จะไม่พบปัญหาตอนหลังถ้าทำไปก่อนเอาเลี้ยงซุ้ม ไก่จะแข็งแรงไม่ติดโรค จะซ้อมปล้ำได้ตลอดเวลา จึงไม่มีปัญหาในการฝึกซ้อมหรือออกชน ไก่จำนวนมากที่พอเลี้ยงไปแล้ว เป็นโน่นเป็นนี่บางทีไก่เก่งๆ ก็ออกชนไม่ได้ก็มีมาก ฉะนั้นการเลี้ยงไก่รุ่นใหญ่ ก่อนขาย ก่อนเอาไปเลี้ยงชน จึงมีความสำคัญมากทีเดียว อย่ามองข้าม

 

เเหล่งที่มา:เซียนไก่
 

ADS Fix3
ADS Fix5