ดูถ่ายทอดสด "อัพเดตทุกเรื่องราวข่าวสารวงการไก่ชน ดูถ่ายทอดสดไก่ชน ครบทุกสนาม ทีเด็ดไก่ชน อัพเดทข่าวไก่ชนทุกประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งความรู้สาระเรื่องที่เป็นประโยชน์ผู้เลี้ยงไก่ชน"

ไฮไลท์ไก่ชนล่าสุด

B1
ADS B2
ADS B3
ADS B4
หน้าหลัก บทความไก่ชน การเช็คความพร้อมก่อนเข้าสังเวียน

การเช็คความพร้อมก่อนเข้าสังเวียน

วันเสาร์ 11 กรกฎาคม 2563 ยอดเข้าชม 87
SHARE ON:

                   

การเช็คความพร้อมก่อนเข้าสังเวียน

1. ให้เช็คดูปีก ว่าปีกไก่สมบูรณ์หรือไม่ ถ้าปีกไก่หักเยอะก็ต้องทำการต่อปีกให้เรียบร้อย หลังจากต่อปีกเสร็จแล้วต้องเช็คดูว่าปีกไก่กางออกได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ทางที่ดีควรนำขนไก่แทงรูดไปตามร่องห่างแต่ละปีกว่าติดกันหรือไม่ ถ้าติดกันก็ต้องจัดการให้ปีกแยกออกจากกันให้เรียบร้อย
2. ให้เช็คดูเดือยไก่ ถ้าไก่ของเราเป็นไก่เดือยเล็ก ก็ต้องทำการเคียนเดือยเพื่อป้องกันเดือยโค่น
3. พันก้อยทั้งสองข้างให้เรียบร้อย การพันก้อยก็เพื่อป้องกันไม่ให้ก้อยหักในขณะที่ชน เพราะถ้าก้อยหัก จะทำให้ไก่แหยงไม่กล้าที่จะบินตีได้อย่างเต็มที่ หากไก่มีตำหนิอื่น เช่นรอยถลอก อุ้งเท้ามีแผล แผลใต้นิ้วเท้า ก็ต้องทำการปิดบาดแผลด้วยการใช้สำลีรองและใช้พลาสเตอร์พันทับ เพื่อป้องกันแผลบริขณะที่ชน
4. แต่งตัวไก่ให้เรียบร้อย หมายถึงการเช็ดน้ำไก่ การยอนคอไก่ ฯลฯ และรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ในการเตรียมตัวไก่ หลังจากที่กรรมการในสนามประกาศให้คู่เราเตรียมตัวเข้าสังเวียน มือน้ำต้องเช็คน้ำแล้วเช็คดูอาหารในกระเพาะแน่นหรือไม่ ถ้าไม่แน่นก็ต้องให้อาหารเพิ่ม แต่ไม่ควรให้แน่นมากเกินไป หลังจากเช็คน้ำ ยอนคอไก่เสร็จ ก็ให้เช็คดูจมูกว่าโล่งสะดวกไหม ถ้าจมูกไก่ตันก็ควรดูดหรือเป่าให้โล่ง เพราะหากจมูกตันจะทำให้ไก่หายใจไม่สะดวกหลังจากนั้นพักให้เดินสักพักเพื่อให้ไก่ได้คลายตัว

การนำไก่เข้าสังเวียนในยกแรก
ก่อนจะปล่อยไก่ควรเช็ดน้ำให้ทั่ว ไม่ควรรีดน้ำออก แต่ควรนำน้ำเข้า ใต้ก้น ใต้ปีก ตามสีข้าง หน้าอกให้มากเป็นพิเศษ และก่อนปล่อยไก่ต้องยอนคอ ให้น้ำไก่กิน และบีบน้ำรดหัวไก่ให้ทั่วบริเวณแผ่นหลัง และหน้าอก เพราะหากเช็ดน้ำไก่ไม่เปียกหรือที่เรียกว่าไม่ถึงน้ำ ไก่จะหอบง่าย ไก่ที่หอบจะไม่อยากตีไก่ และจะหมดแรงเร็วกว่าปกติ ฉะนั้นการเช็ดน้ำไก่นั้นสำคัญมาก ต้องเช็ดให้ทั่ว เช็ดให้ชุ่ม ก่อนปล่อยไก่เข้าชน
นอกจากดูแลไก่ของเราแล้ว มือน้ำต้องคอยสังเกตไก่ของคู่ต่อสู้ด้วย เช็คการพันเดือย เช็ดดูการเช็ดน้ำไก่ฝ่ายตรงข้ามว่าตรงไปตรงมาหรือไม่ เพื่อป้องกันการเอาเปรียบของฝ่ายตรงข้าม

การประคองไก่ตอนหมดยก
เมื่อหมดยกมือน้ำจะรู้ทันทีว่า สิ่งแรกที่จะทำคืออะไร การประคองไก่จะแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ กรณีที่ถูกคู่ต่อสู้ยำ คือ ดูแล้วว่าสถานการณ์เป็นรอง กับอีกกรณี คือ ยำคู่ต่อสู้ ซึ่งทั้ง 2 สถานการณ์สำหรับการประคองไก่จะมีความที่แตกต่างกันอยู่ คือ
ไก่ที่โดนคู่ต่อสู้ตีมากๆ บาดแผลเยอะ มือน้ำต้องดูก่อนว่าโดนที่ตรงไหนบ้าง ซึ่งขั้นตอนตรงนี้ มือน้ำแต่ละคนจะประคองไก่ไม่เหมือนกัน บางคนเย็บแผลเสร็จหรือแต่งแผลเสร็จก่อนค่อยให้ไก่พัก บางคนก็ให้ไก่พักก่อนทำแผล ส่วนกรณีที่ไก่โดนตีมากๆ นอกจากจะให้ไก่พักนานๆแล้ว เราจะต้องประคบกระเบื้องพอสมควร นั่นคือกรณีที่โดนคู่ต่อสู้ยำ
ไก่ที่เป็นฝ่ายยำคู่ต่อสู้ ก็จะหนักไปทางการให้พักนานๆมากกว่า การปประคองไก่ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของตัวไก่

การนวด
การนวดไก่นั้น นวดเพื่อให้หายจากการปวดเมื่อยที่มาจากการตีกัน การนวดต้องนวดทุกวัน ตั้งแต่เริ่มเลี้ยง จนถึงวันเลิกเลี้ยง เพื่อให้ไก่ได้เคยชินกับการนวดทุกแห่งในร่างกาย การนวดไก่นั้นจุดที่สำคัญมีหลายจุด ควรนวดให้ครบทุกจุด ทุกวัน ไก่จะได้เคยชินกับมือ เมื่อเวลาไก่ออกกำลังมากๆ นานๆ บางครั้งอาจทำให้เส้นตึง เส้นคัด ถ้าได้นวดก็จะคลายไปได้บ้าง

การนวดจุดของไก่นั้น นวดที่คอ นวดที่ขั่วปีก ที่หน้าอก ปั้นขา นิ้ว เส้นบนหลัง หัว ทุกจุดล้วนแล้วแต่เป็นจุดที่สำคัญ นวดเบาๆทุกวัน อย่าให้แรง เพราะถ้านวดแรงเกินไปอาจทำให้ไก่เสียเส้น จงพิจารณาให้ดี ตรงไหนควรนวดหนักๆ ตรงไหนควรนวดเบาๆ การนวดไก่หลังชนมาเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะสามารถช่วยให้ไก่ได้กระปรี้กระเปร่า กระฉับกระเฉงอยู่ตลอดเวลา ไม่อ่อนเพลีย

การแก้ไขไก่เป็นตะคริวและหอบ
การแก้ไขไก่เป็นตะคริว ไก่เป็นตะคริวเกิดจากสาเหตุ โดนตีหนัก ระบมทุกส่วนของร่างกาย เสียเลือด เมื่อย จะหมดแรง หายใจหอบ ไก่เป็นตะคริวอาจถึงตาย มือน้ำต้องแก้ไขอย่างรีบด่วนตามอาการของไก่ ไก่ที่เป็นตะคริวส่วนใหญ่ ไก่โดนตีเจ็บหนัก หมดแรงจากการชนหลายยก การแก้ไขของมือน้ำถ้าเลือดไหลไม่หยุด รีบห้ามเลือดเสียก่อน ประคบด้วยน้ำอุ่นบริเวณอก ใต้ปีก โคนขา หน้าขา พื้นเท้า นวดคลึงเบาๆ เมื่ออาการทุเลาหรือดีแล้วให้พักผ่อนคลุมผ้าที่หัว รมควันให้เกิดความอบอุ่นระยะหนึ่ง ให้ไก่กินยาเสริมกำลังบำรุง ให้ข้าวบดใส่เนื้อสุก ทำเป็นคำป้อน ให้น้ำมะพร้าว ให้กินน้ำสะอาดพอสมควร ให้เดินดูเพื่อให้ไก่ถ่าย ถ้ามีเวลาให้ไก่มาคลุมนอนพักผ่อนอีกครั้งหนึ่ง

ไก่มีอาการหอบ
อาการหอบมีสาเหตุเกิดจาก การเตรียมไก่เข้าชน การอาบน้ำไก่เข้าชนใช้เวลาสั้นหรือน้อยเกินไป อาบน้ำไก่ไม่เปียกหรือทั่วถึงตัว หรือเลี้ยงไม่เต็มที่ เช่นการตากแดด การให้กำลัง การให้อาหารไม่ครบ หรือไก่ขณะต่อสู้กันเร่งเกินไป หวังเอาชนะคู่ต่อสู้เร็วๆ ส่วนมากไก่จะมีอาการหอบในยกแรก เพราะไก่เร่งเต็มที่ ทำให้ขนแห้ง ความร้อนภายในร่างกายก็เพิ่มขึ้น ทำให้ไก่มีอาการหอบไม่อยากตีคู่ต่อสู้เลยก็มี เพราะมัวอ้าปากหายใจ เพื่อระบายเอาความร้อนออกจากร่างกาย

การแก้ไข 
เมื่อหมดยกรีบเข้าไปประครองไก่ให้น้ำเย็นผสมน้ำอุ่นประคบเบาๆ บริเวณลำตัว ใต้ปีกสองข้าง หน้าอก กางปีกออกให้ลมพัดผ่านได้ง่ายขึ้น ใช้พัดลมพัดให้ช้าๆ ใช้ปีกไก่หยอนคอ ค่อยๆหมุนขนไก่เพื่อเอาเสลดออกมาจากคอ ใช้น้ำเย็นล้างหน้า ใช้มือด้านใดด้านหนึ่งประคองคอไก่ โดยใช้หัวแม่มือและนิ้วชี้ปิดหัวไก่เบาๆเอาไว้ทั้งสองข้าง ป้องกันไม่ให้หูอื้อ หรือลมออกหู แล้วรีบนำไก่ออกจากสังเวียนมาที่พักให้น้ำ

อย่างรีบด่วน เพื่อแก้อาการหอบให้หาย ไก่จะได้พักนานๆ และปล่อยให้ไก่เดินเพื่อดูอาการของไก่ และให้ไก่ถ่าย ถ้าไม่ถ่ายใช้ขนไก่พับแล้วหมุนแหย่เข้าก้นไก่ ไก่จะถ่ายทันที เรียกว่าสวนขี้ จะทำให้ไก่สดชื่น แล้วนำเข้าไปลงกระเบื้องอีกหากมีเวลาพักเหลือ

แหล่งข้อมูล kaichon.dooasia

ADS Fix3
ADS Fix5