4 เทคนิคการคัดเลือกไก่พ่อแม่พันธุ์ของไก่พม่าแม่สะเรียง
ไก่พม่าแม่สะเรียง
เป็นไก่ที่มีลักษณะเป็นเลิศเหมาะแก่การชนไก่เป็นอย่างมาก ด้วยลักษณะของร่างกายที่เอื้อต่อการชนไก่และหลบหลีก ทำให้นักเลงไก่ชนนิยมนำมาผสมสร้างพันธุ์ และขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการ คัดเลือกพ่อไก่ และ แม่ไก่ ซึ่งถึงแม้ว่าพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์จะมีความ “บริสุทธิ์” มากขนาดไหนก็ตาม แต่ถ้าตัวไก่ไม่มีความพร้อมในการให้พันธุ์ไก่การผสมอาจจะก่อให้เกิดข้อบกพร่องทางพันธุกรรมหรือถ่ายทอดโรคให้กับรุ่นลูกแทนก็ได้
ดังนั้นต่อไปนี้คือปัจจัยในการ พิจารณาไก่ที่จะนำมาผสม
1. สุขภาพ :
ไก่ที่มีลักษณะของอาการติดโรคที่ต้องการๆรักษาอย่างเร่งด่วนและไม่ควรถูกนำไปใช้ในการผสมพันธุ์ เพราะลักษณะเหล่านี้จะส่งผลต่อลูกไก่ที่เกิดขึ้นต่อๆมาได้เช่นกัน
ควรเลือกไก่ที่มีขนเรียบเป็นมันเงาเพื่อที่จะปกป้องตัวไก่จากปรสิตต่างๆหรือสภาพแวดล้อมที่อาจจะทำอันตรายต่อตัวไก่ ส่วนหัวต้องมีลักษณะที่ไวต่อการตอบสนองและไม่มีจุดหรือส่วนที่มีสีซีดอยู่
หงอนของไก่ต้องมีสีแดงสด ถ้าหากหงอนเกิดมีสีต่างไปจากนี้ (ยกเว้นแดงซีดซึ่งอาจจะเกิดจากอายุของตัวไก่เอง) อาจเป็นไปได้ว่าไก่ตัวนั้นมีปัญหาทางด้านหัวใจหรือระบบหมุนเวียนเลือดภายในร่างกาย
จมูกของไก่หรือเสียงลมหายใจของไก่จะต้องไม่มีเสียงวีด หรือติดขัดใดๆ โดยภาพรวมแล้ว ไก่จะต้องมีลักษณะปกติและไม่เซื่องซึม
2. ลักษณะพันธุ์ของไก่ :
ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ ลักษณะรูปร่างจะเป็นอ่ยางไรก็ตาม ลักษณะพื้นฐานต่างๆของไก่แต่ละพันธุ์ต่างมีลักษณะ “ที่เหมาะสม” ร่วมกันโดยทั้งสิ้น
เช่นว่า ขาของไก่ต้องสามารถเหยียดได้โดยไม่ติดขัด กระดูกของไก่จะต้องมีลักษณะที่สามารถตรวจสอบได้ด้วย “มือ” ของผู้เลี้ยง (ด้วยการอุ้มไก่ด้วยมือซ้าย แล้วทดสอบโครงกระดูกไก่ด้วยนิ้วก้อย
กับ นิ้วโป้งว่าสัมผัสได้หรือไม่ หากสัมผัสได้ ไก่ตัวนั้นแข็งแรงและมีลักษณะเหมาะต่อการผสมพันธุ์) ขนของไก่รวมไปถึงขาไก่จะต้องไม่ยุ่งหรือเป็นเกล็ดแข็งจนเกินไป เท้าของไก่จะไม่ติดเป็นผังพืดเหมือนกับเท้าเป็ดด้วยเช่นกัน
3. สีของไก่ :
ลักษณะของสีของไก่ในแต่ละสายพันธุ์จะมีต่างกันไป ซึ่งสีจะเป็นตัวบ่งบอกถึงว่าไก่ตัวนั้นเป็นสายพันธุ์ไหนกันแน่อย่างชัดเจน
4. ส่วนหัวของไก่ :
ไก่แต่ละสายพันธุ์ต่างมีลักษณะรูปทรงกระโหลกต่างกันไป ซึ่งส่งผลให้ลักษณะรูปร่างของหงอนไก่ใช้ในการตัดสินความเหมาะสมของไก่ตัวนั้น และนั่นรวมไปถึงรุ่นลูกที่จะเกิดขึ้นมาด้วย
เช่นว่าถ้าหากเรานำไก่พันธุ์ที่หงอนเล็กอยู่แล้วไปผสมกับไก่ที่มีหงอนเล็กกว่าอีก โอกาสที่จะทำให้ลักษณะรูปลักษณ์ของไก่ที่เกิดมาในรุ่นหลังๆ จะมีหงอนเล็กยิ่งกว่าเดิม
ดังนั้นเราต้องประเมินความเหมาะสมของไก่ที่จะมาผสมด้วยว่า การผสมต่อๆไปจะส่งผลดีหรือเสียกับไก่ในรุ่นต่อๆไป
แหล่งข้อมูล longhomdi